กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในวันที่อัฟกานิสถานเคยสงบสุข


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ช่วงเวลาเดียวที่อัฟกานิสถานมีเสถียรภาพบ้างคือ ช่วง 1950 ต่อเนื่องถึง 1970 เป็นช่วงที่อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ชาร์ ซาอีร์

ช่วง 1950 ต่อเนื่องถึง 1970 นั่นเป็นช่วงเวลาที่กรุงคาบูลมีคลับ บาร์ ดนตรีแจ๊ส ภาพยนต์ และมหาวิทยาลัย ผู้หญิงสามารถใส่ชุดธรรมดาเดินตามถนนหนทางได้ บางคนไม่ใส่ผ้าคลุมศรีษะ เป็นช่วงที่อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ชาร์ ซาอีร์

ก่อนหน้านั้น อัฟกานิสถานวุ่นวายจากปัญหาการเมืองภายในที่มีผลมาจากอิทธิพลของ 2 มหาอำนาจที่ขนาบข้างอัฟกานิสถาน ด้านหนึ่งคือสหภาพโซเวียต อีกด้านคืออินเดียที่ขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อัฟกานิสถานสู้รบและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ก่อนได้รับเอกราช เมื่อเดือนสิงหาคม 1919


อนาคตอัฟกานิสถานและโลก ในวันที่ “ตาลีบัน” หวนคืนอำนาจ

ความล้มเหลวของสหรัฐฯ ในสงครามอัฟกานิสถาน 20 ปี

สถาบันกษัตริย์เกิดขึ้นหลังจากนั้น การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เริ่มขึ้นเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมเคร่งศาสนาไม่พอใจจนกษัตริย์องค์แรกต้องสละราชสมบัติ หลังจากนั้นการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งต้องเกี่ยวพันกับความรุนแรงและนองเลือด รวมถึงเมื่อปี 1933 ที่กษัตริย์ชาร์ นาอีร์ ที่ถูกลอบปลงพระชมน์

จากนั้นก็เข้าสู่ก็เข้าสู่ยุคกษัตริย์ชาห์ ซาอีร์ ที่ขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาโดยมีพระญาติพระนามดาอูด ข่าน ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี แม้จะไม่ได้มีอำนาจบริหารมากนัก แต่ชาห์ ซาฮีร์คือผู้ที่นำพาอัฟกานิสถานให้รอดปลอดภัยในช่วงสงครามเย็นด้วยการประกาศตัวเป็นกลาง และปฏิเสธการเลือกข้างในสงคราม

ทรงและเสด็จเยือนประเทศมหาอำนาจเพื่อสานสัมพันธ์ให้อัฟกานิสถานอยู่ในสายตาชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นการเยือนสหรัฐในปี 1963 เยือนเยอรมันตะวันตกในปี 1965 ต่อด้วยการเยือนฝรั่งเศสในปี 1965 ด้วยตระหนักว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลง กษัตริย์ซาร์ ชาร์อีร์ผลักดันและหาทางปฎิรูปประเทศ จนอัฟกานิสถานมีระบอบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ สิทธิพลเมืองตลอดจนสิทธิสตรี

แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่มคนที่จะยินดีกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ฝ่ายศาสนาและกลุ่มอนุรักษ์นิยมเริ่มไม่พอใจโดยเฉพาะการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตก บวกกับดุลการเมืองโลกเปลี่ยนแปลง  เมื่ออังกฤษถอนตัวออกจากอินเดียใน โซเวียตมีอิทธิพลมากขึ้น รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีดาอูดโน้มเอียงไปทางสหภาพโซเวียต ชาห์ ซาฮีร์กดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออกและพยายามเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มากขึ้น

อัฟกานิสถานเข้าสู่การต่อสู้และแตกแยกทางแนวคิด หลักๆอย่างน้อย 3 แนวคิด นั่นคือ เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม และคอมมิวนิสต์ 3 แนวคิดนี้ปะทะกันจนแตกหักในเวลาต่อมาเมื่ออัฟกานิสถานต้องเจอปัญหาใหม่

ในช่วงทศวรรษ 1970 เกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ประชาชนอดอยาก ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นลิบลิ่ว
ด้วยการสนับสนุนของฝ่ายคอมมิวนิสต์ อดีตนายกรัฐมนตรีดาอุดก่อการรัฐประหาร โค่นล้มกษัตริย์ชาร์ ซาอีร์ในขณะที่พระองค์ทรงเยือนต่างประเทศ ก่อนจะตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี

กษัตริย์ชาร์ ซาอีร์ไม่ต่อสู้เพราะเกรงจะเกิดสงครามกลางเมือง และเลือกที่จะลี้ภัยประทับในประเทศอิตาลี นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา อัฟกานิสถานก็ไม่เคยสงบอีกเลย ในระหว่างที่ลี้ภัย กษัตริย์องค์สุดท้ายของอัฟกานิสถานเห็นความวุ่นวายและการนองเลือกครั้งแล้วครั้งเล่าในประเทศของพระองค์จากแดนไกล นับตั้งแต่การขึ้นมามีอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ด้วยการทำการรัฐประการ การถูกบุกและยึดครองโดยสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1979

สหภาพโซเวียตถอนทัพออกไปหลังจากนั้น 8 ปีหลังต้านทานกลุ่มมูจาฮิดีนที่หนุนโดยสหรัฐไม่ได้ อัฟกานิสถานที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ของประธานาธิบดี Najibullah (เนจาบุลเลาะห์) ขาดผู้หนุนหลัง  อัฟกานิสถานดำดิ่งสู่วิกฤต ชาวอัฟกันพลัดถิ่นและกลุ่มการเมืองหลายกลุ่มไปขอร้องให้กษัตริย์ซาร์ ชาร์อีร์กลับมากอบกู้บ้านเมือง แต่แผนนี้ต้องล้มเหลวไปเนื่องจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมเคร่งศาสนาคัดค้าน 

สหรัฐฯ หวั่นผู้คนในกรุงคาบูล ตกเป็นเป้าก่อการร้าย “ISIS K”

อัฟกานิสถานเดินเข้าสู่ความหายนะยิ่งกว่าต่อ สงครามกลางเมืองอุบัติขึ้นเมื่อกลุ่มมูจาฮิดีนที่ต่อสู้กับสหภาพโซเวียตหันมาสู้รบแย่งชิงอำนาจกันเอง กรุงคาบูลที่เคยมีชีวิตชีวากลายเป็นแดนสงคราม บ้านเมืองกลายเป็นซากปรักหักพังที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน ขยะและขอทาน  ชาวอัฟกันกว่า 3 ล้านคนลี้ภัยข้ามแดนไปปากีสถานเพื่อนบ้าน

จากนั้นมูจาฮิดีที่แข็งแรงที่สุดก็ผงาดขึ้นมา นั่นคือกลุ่มตาลีบัน สงครามกลางเมืองยุติ แต่ความสุดโต่งของตาลีบันทำลายคนอัฟกันให้ย่อยยับยิ่งกว่า โดยเฉพาะเด็กและผู้หญิง หลังตาลีบันปกครองด้วยความสุดโต่งอยู่เกือบ 6 ปี การเปลี่ยนผ่านก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อสหรัฐโจมตีอัฟกานิสถานและขับไล่ตาลีบันลงจากอำนาจ
 

ช่วงนั้นมีความพยายามอีกครั้งที่จะให้พระองค์กลับมาเป็นหลักในการเปลี่ยนแปลงประเทศในฐานะกษัตริย์
หลังลี้ภัยนานถึง 29 ปี พระองค์เดินทางกลับอัฟกานิสถาน แต่ปฏิเสธการกลับเข้ามามีอำนาจในฐานะประมุขของประเทศ
และเลือกที่จะยืนเคียงข้างและสนับสนุนฮาเม็ด คาไซ ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน

ในวันที่กลับแผ่นดินเกิด กษัตริย์ชาร์ ซาร์อีร์เดินทางมาพร้อมกับพระศพของพระราชินีฮุมัยระห์ที่สิ้นพระชนม์เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านั้น ร่างของอดีตราชินีถูกฝังในสุสานของราชวงค์ในกรุงคาบูล

ก่อนที่อีก 5 ปีต่อมา ปี 2007 อดีตกษัตริย์ชาร์ ซาอีร์เสด็จสวรรคต พิธีศพของกษัตริย์อัฟกันองค์สุดท้ายถูกจัดขึ้นเป็นงานระดับชาติ  ชาวอัฟกันจำนวนมากมาร่วมอำลาบุคคลที่เคยทำให้หลายคนเคยได้ลิ้มรสความเสรีภาพ บุคคลที่เคยทำให้หลายคนจดจำว่าครั้งหนึ่ง อัฟกานิสถานเคยเป็นดินแดนที่สงบสุข

สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน เริ่มตึงเครียดและอ่อนไหวมากขึ้น | 26 ส.ค. 64 | รอบโลก DAILY

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ