นักวิทย์เล็งคืนชีพ “แมมมอธ” เริ่มสร้างลูกผสมช้างเอเชีย-แมมมอธ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิทยาศาสตร์ได้รับทุน 494 ล้านบาท สร้างลูกผสมช้างเอเชีย-แมมมอธ เพื่อหวังจะคืนแมมมอธสู๋ระบบนิเวศทุนดราอาร์กติก

เรื่องของการนำสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับคืนมาดูเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แค่ในโลกของวรรณกรรมไซไฟ แต่ไม่ใช่เช่นนั้นอีกแล้ว เพราะมีทีมนักวิจัยกำลังริเริ่มโครงการฟื้นคืนชีพให้กับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่ง

เป็นเวลาหลายหมื่นปีหลังจากแมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) สูญพันธุ์ไปจากโลกของเรา ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย จอร์จ เชิร์ช ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์จากฮาร์วาร์ด กำลังเริ่มโครงการเพื่อนำสัตว์เหล่านี้กลับคืนสู่ภูมิภาคทุนดราอาร์กติก

พบโครงกระดูก “ช้างแมมมอธ” 14 ตัว มากสุดในเม็กซิโก คาดโดนกับดักมนุษย์โบราณ

ชายรัสเซียขาย "หมวกขนแมมมอธ" ใบเดียวในโลก 3 แสนบาท  

เมื่อวันจันทร์ (13 ก.ย.) ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยประกาศว่า พวกเขาได้รับเงินทุนกว่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 495 ล้านบาท) ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ความฝันของพวกเขาเป็นจริงได้ ทุนจำนวนดังกล่าวมาจากการระดมทุนโดยบริษัทชีววิทยาศาสตร์และพันธุศาสตร์ Colossal ซึ่งมีเชิร์ชเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง

แต่งานนี้ไม่ใช่การการคืนชีพให้ช้างแมมมอธแบบเพียว ๆ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์วางแผนสร้างลูกผสมช้างเอเชีย-แมมมอธ โดยการสร้างตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการด้วยดีเอ็นเอของแมมมอธ นำเซลล์ผิวหนังจากช้างเอเชียมาตั้งโปรแกรมใหม่ให้เป็นสเต็มเซลล์ซึ่งมีดีเอ็นเอของแมมมอธ

ทีมวิจัยได้วิเคราะห์พันธุกรรมของช้าง 23 สายพันธุ์และแมมมอธที่สูญพันธุ์ไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพวกเขาจะต้องตั้งโปรแกรมมากกว่า 50 รายการให้กับรหัสพันธุกรรมของช้างเอเชีย เพื่อให้มีลักษณะที่จำเป็นต่อการอยู่รอดและเจริญเติบโตในแถบอาร์กติก

เชิร์ชกล่าวว่า ลักษณะเหล่านี้ เช่น ชั้นไขมันหนา 10 ซม. ขนที่ดกหนา 5 แบบ หูที่เล็กซึ่งจะช่วยให้ลูกผสมทนต่อความหนาวเย็น ทีมงานยังวางแผนที่จะพยายามสร้างลูกผสมช้างเอเชีย-แมมมอธให้ไม่มีงา เพื่อไม่ให้เป็นเป้าหมายของผู้ลักลอบล่าสัตว์เพื่อหวังงาช้าง และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพอากาศหนาวเย็นอื่น ๆ โดยยีนพันธุกรรมของแมมมอธนั้นนำมาจากซากแมมมอธแช่แข็งที่นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบ

จากนั้น ตัวอ่อนจะถูกนำไปใส่ในช้างตัวเมีย ให้ช้างตั้งครรภ์แทน หรืออาจอยู่ในครรภ์เทียม หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน นักวิจัยหวังว่าจะได้ลูกช้างแมมมอธชุดแรกภายใน 4-6 ปีข้างหน้า

เชิร์ชบอกว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างช้างที่ทนความหนาวเย็น แต่มันจะมีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนแมมมอธ ไม่ใช่ว่าเราพยายามหลอกใคร แต่เพราะเราต้องการบางสิ่งที่เทียบเท่ากับแมมมอธ ที่อาศัยอยู่ได้ที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส และทำทุกสิ่งที่ช้างและแมมมอธทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโค่นต้นไม้”

โครงการนี้มีกรอบความพยายามที่จะช่วยอนุรักษ์ช้างเอเชียโดยจะเพิ่มคุณลักษณะที่ช่วยให้พวกมันเจริญเติบโตในแถบอาร์กติกอันกว้างใหญ่ได้ และนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่า การนำฝูงลูกครึ่งช้างเอเชีย-แมมมอธไปอยู่ที่ทุนดราอาร์กติก อาจช่วยฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรมและต่อสู้กับผลกระทบบางส่วนจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้

เชิร์ชเป็นนักพันธุศาสตร์ชื่อดังที่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งมีชีวิต งานของเขาที่มีชื่อเสียง เช่น การสร้างสุกรที่มีอวัยวะที่เข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์ หมายถึงไตสำรองสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการปลูกถ่าย ซึ่งก็กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ถูกตั้งคำถามด้านจริยธรรมพอสมควร เพราะเราไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า เมื่อมนุษย์พยายามทำตัวเป้นพระเจ้าแบบนี้ จะกลายเป็น Jurassic World ในโลกแห่งความเป็นจริงหรือไม่

 

เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian

ภาพจาก Getty Image

พบซากแมมมอธอายุกว่า 15,000 ปี ในรัฐมิชิแกน (คลิป)

ชีวิต(หนาว)สุดขั้ว...ในยาคุสต์

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ