WHO ถอด ”อีตา-ไอโอตา-แคปปา” ออกจากสายพันธุ์โควิด-19 ต้องสนใจ (VOI)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อนามัยโลกปรับระดับความกังวลต่อโควิด 3 สายพันธุ์ “อีตา-ไอโอตา-แคปปา” จากสายพันธุ์ที่ต้องสนใจ เหลือเพียงสายพันธุ์เฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) อัปเดตข้อมูลสายพันธุ์โควิด-19 โดยพบว่า มีการถอดรายชื่อสายพันธุ์แคปปา (B.1.617.1; อินเดีย) ไอโอตา (B.1.526; สหรัฐฯ) และอีตา (B.1.525) ออกจากรายชื่อสายพันธุ์โควิด-19 ต้องให้ความสนใจ (VOI) ลดระดับเหลือเพียงสายพันธุ์ต้องเฝ้าระวัง (VUM)

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา WHO ก็เคยถอดสายพันธุ์เอปซิลอน (B.1.427/B.1.429; แคลิฟอร์เนีย) ซีตา (P.2; บราซิล) และธีตา (P.3; ฟิลิปปินส์) ออกจากลิสต์สายพันธุ์ VOI เช่นกัน

โควิด-19 "เดลตา” ในอิตาลี กลายพันธุ์เพิ่มในตำแหน่งลดประสิทธิภาพวัคซีน

แอฟริกาใต้พบโควิด-19 "C.1.2" อีกหนึ่งสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องจับตา

WHO ถอด “เอปซิลอน-ซีตา-ธีตา” ออกจากสายพันธุ์โควิด-19 ที่ต้องสนใจ (VOI)

สำหรับโควิด-19 อีตา (เดิม) มีการกลายพันธุ์บางจุดเหมือนกับสายพันธุ์เบตาและแกมมา

ส่วนสายพันธุ์ไอโอตา (เดิม) ระบาดหนักในนิวยอร์ก และรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐฯ และพบในเกือบ 20 ประเทศทั่วโลก แต่ภายหลังพ่ายแพ้ให้กับสายพันธุ์เดลตาซึ่งครองสัดส่วนการระบาดส่วนใหญ่ไป

และสายพันธุ์แคปปา (เดิม) เป็นสายพันธุ์ย่อยของเดลตา (อินเดีย) มีการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล คือ L452R, E484Q และ P681R ซึ่งเพิ่มความสามารถของโปรตีนหนามในการแพร่เชื้อและหลบหนีภูมิคุ้มกัน

โดย WHO เคยให้เหตุผลการเปลี่ยนแปลงการจัดระดับสายพันธุ์โควิด-19 ไว้ว่า สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้สามารถถูดจัดประเภทใหม่ได้ หากพิจารณาแล้วว่า สายพันธุ์ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมที่สำคัญต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลกอีกต่อไป

สำหรับสายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม คือโควิด-19 สายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีข้อบ่งชี้บางอย่างว่า อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต แต่หลักฐานทางระบาดวิทยายังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้นและต้องมีการประเมินซ้ำเมื่อมีหลักฐานใหม่

ทั้งนี้ WHO หมายเหตุไว้ว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของสายพันธุ์เหล่านี้อาจมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงอาจมีการเพิ่ม/ ลบรายชื่อสายพันธุ์จากแต่ละระดับเป็นระยะ

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นว่า โควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นใหม่ แล้วแข่งขันกับสายพันธุ์เดิม หากแพร่กระจายแพ้สุดท้ายก็จะหายไปจากสังคมในที่สุด

ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องคาดหวังว่า จะไม่มีโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่สามารถเอาชนะสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (VOC) ที่มีอยู่ในขณะนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นอัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) แกมมา (บราซิล) หรือเดลตา (อินเดีย) เพราะหากเกิดขึ้น นั่นอาจหมายความว่าสายพันธุ์ใหม่นั้นร้ายกาจกว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ตอนนี้

ปัจจุบันมีโควิด-19 อยู่ 6 สายพันธุ์ที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่

สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์

  • สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
  • สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
  • สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
  • สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2  พบที่แรกคือประเทศอินเดีย

สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)

  • สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู
  • สายพันธุ์มิว (Mu) ชื่อทางการ B.1.621 พบที่แรกคือประเทศโคลอมเบีย

 

เรียบเรียงจาก WHO

ภาพจาก Shutterstock

ศบค.ย้ำ ร่างพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อ ยังไม่มีผลบังคับใช้

เงินเยียวยารอบ 2 ม.40 เข้าพร้อมเพย์ 22 -23 ก.ย.เช็กสิทธิ www.sso.go.th 3.95 ล้านคน รับ 5,000 บาท

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ