WHO ชี้ “โอกาสน้อย” โควิดสายพันธุ์โอมิครอนหลบเลี่ยงวัคซีนได้หมด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




องค์การอนามัยโลกชี้ มีโอกาสน้อยมากที่เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะหลบหลีกการป้องกันของวัคซีนได้ทั้งหมด

ไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการด้านสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) บอกกับสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวานนี้ (7 ธ.ค.) ว่า ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่าเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ทำเกิดอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า และสายพันธุ์อื่น ๆ และมีโอกาสน้อยมากที่เชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้จะหลบเลี่ยงการป้องกันของวัคซีนได้ทั้งหมด แม้จะมีความเป็นไปได้ที่วัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้อาจใช้ได้ผลน้อยลง

นักวิจัย พบโอมิครอน หลบหลีกวัคซีนของไฟเซอร์ ได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น

“ดร.อนันต์” ชี้ภูมิต้านทานลูกผสมจากไฟเซอร์ ป้องกัน “โอมิครอน” ได้ แม้หนีภูมิ 41 เท่า

นักวิทย์พบโควิด-19 “โอมิครอน BA.2” ลูกพี่ลูกน้องของโอมิครอนเดิม

ความเห็นของเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกมีขึ้นในวันเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาใต้เปิดเผยผลการศึกษาเบื้องต้นที่พบว่าวัคซีนของไฟเซอร์ใช้ได้ผลกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพียงบางส่วน

ซึ่งนายไรอันก็ระบุด้วยว่า ข้อมูลเบื้องต้นจากแอฟริกาใต้ไม่ได้แสดงว่าวัคซีนสูญเสียประสิทธิภาพในระดับร้ายแรง

อย่างไรก็ตาม นายไรอันย้ำว่า ยังต้องมีการศึกษาอีกมากเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ ซึ่งเราต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งว่าจะตีความสัญญาณต่างๆ อย่างไร

 

เกาหลีใต้โควิดรายใหม่แตะ 7,000 คนครั้งแรก

เกาหลีใต้เตรียมพิจารณาขยายการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงทำสถิติใหม่ ส่งผลให้ศักยภาพในการรองรับของโรงพยาบาลตึงตัว

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี (KDCA) รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 7,175 คน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันของเกาหลีใต้สูงกว่า 7,000 คน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็เพิ่มขึ้นทำสถิติใหม่เช่นกัน โดยอยู่ที่ 840 คน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า รัฐบาลอาจต้องปรับระบบสาธารณสุขครั้งใหญ่หากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันแตะ 1 หมื่นคน และอาจพิจารณาขยายการรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้านจากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง

 

ญี่ปุ่นพัฒนาหน้ากากเรืองแสงหากมีเชื้อโควิด

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น พัฒนาหน้ากากอนามัยที่จะเรืองแสงในแสงยูวี หากมีร่องรอยของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้สารแอนติบอดีที่สกัดจากไข่นกกระเทศ

นกกระจอกเทศสามารถสร้างแอนติบอดีหรือโปรตีนที่ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมในร่างกายได้หลายชนิด ขณะที่นักวิจัยหวังว่าหน้ากากอนามัยนี้จะทำให้ผู้สวมใส่ทราบได้ง่ายๆ ว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่

หน้ากากอนามัยเรืองแสงนี้ยังอยู่ระหว่างทดสอบเพื่อนำไปใช้งานจริง โดยทีมผู้พัฒนาหวังว่าจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายได้ในปีหน้า

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ