ปี 2021 ยังร้อนอยู่ ร้อนสุดเป็นอันดับ 5 นับแต่มีการบันทึก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อุณหภูมิเฉลี่ยโลกปี 2021 อยู่ที่ 1.18 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม สูงเป็นอันดับที่ 5 นับแต่มีการเก็บข้อมูล

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป (C3S) รายงานว่า ปี 2021 ยังคงเป็นปีที่อุณหภูมิโลกร้อนอยู่ โดยร้อนสูงเป็นอันดับ 5 นับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลมาตั้งแต่ปี 1850 ขณะที่ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศที่ทำให้โลกร้อนขึ้นก็สูงขึ้นทุบสถิติเช่นกัน

โดยปี 2021 มีระดับอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.18 องศาเซลเซียสเหนือระดับอุณหภูมิปี 1850-1900 ซึ่งเป็นยุคก่อนอุตสาหกรรม

อีกหนึ่งสัญญาณโลกร้อน ปี 2021 “ฟ้าผ่าในอาร์กติก” เพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า

“ใช้อาหารสู้โลกร้อน” เมื่อสิ่งที่เรารับประทานทุกวัน มีผลกับโลกทั้งใบ

โลกร้อนเป็นเหตุ ในอนาคตอันใกล้ “อาร์กติกจะมีฝนตกมากกว่าหิมะ”

จากข้อมูลของ C3S ยังพบว่า ช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ในปี 2015-2021 ถือเป็น 7 ปีที่โลกร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา

ปี 2015 เป็นปีที่เริ่มมีสัญญาณชัดว่าโลกกำลังร้อนขึ้นจริง โดยอุณหภูมิโลกปีนี้เฉลี่ยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.17 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นมาจากปีก่อน ๆ ถึง 0.15 องศาเซลเซียส

ถัดมาในปี 2016 เป็นปีที่โลกร้อนที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลมา คือสูงถึง  1.29 องศาเซลเซียส ยังไม่มีใครทำลายสถิติลงได้ และเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้สถิตินี้ถูกทำลาย

ปี 2017 อุณหภูมิโลกเฉลี่ยลดลงมาเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2016 แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง อุณหภูมิสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.21 องศาเซลเซียส

ปี 2018 ดูจะเป็นปีที่เราพอจะหายใจหายคอได้บ้าง เพราะอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นจากยุคก่อนอุตสาหกรรมเพียง 1.17 องศาเซลเซียส

ภาวะโลกร้อนทำให้ “นกในป่าแอมะซอน” เริ่มปรับตัว ขนาดเล็กลง-ปีกยาวขึ้น

โลกร้อนจริงหรือไม่? ดูชัด ๆ หลังมีกระแสไม่เชื่อในหลายประเทศทั่วโลก

แต่เหมือนเราจะประมาทไปในปีก่อน เพราะปี 2019 อุณหภูมิเฉลี่ยโลกพุ่งขึ้นมาถึง 1.25 องศาเซลเซียส เกือบทำลายสถิติ

กระทั่งในปี 2020 อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 1.28 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยบางสำนักถือว่านี่เป็นปีที่โลกร้อนขึ้นที่สุดเทียบเท่ากับปี 2016

แม้ตัวเลขอุณหภูมิเฉลี่ยโลกในปีนี้จะลดลงมาได้แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะเรายังต้องพยายามควบคุมระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ได้มีการลงนามกันไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2015 ซึ่งเป็นระดับที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดได้

นักวิทย์ชี้ “กองทัพและการทหาร” อีกหนึ่งตัวการสำคัญทำให้โลกร้อน

เผยภาพจำลองระดับน้ำในเมืองทั่วโลก หากโลกร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียส

ในขณะเดียวกัน อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทำให้คาดการณ์ว่า แนวโน้มภาวะโลกร้อนในระยะยาวจะยังคงดำเนินต่อไป

คาร์โล บวนเทมโป ผู้อำนวยการ C3S ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วหลายเหตุการณ์ทั่วโลกในปี 2021 ตั้งแต่น้ำท่วมในยุโรป จีน และซูดานใต้ ไปจนถึงไฟป่าในไซบีเรียและสหรัฐฯ

คาร์โล บวนเทมโป ผู้อำนวยการ C3S กล่าวว่า “ปี 2021 เป็นอีกปีที่อุณหภูมิสุดขั้ว เกิดฤดูร้อนที่ร้อนแรงที่สุดในยุโรป เกิดคลื่นความร้อนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไม่ต้องพูดถึงอุณหภูมิที่สูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอเมริกาเหนือ ... เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงวิธีใช้ชีวิตของเรา ก้าวไปสู่สังคมที่ยั่งยืนอย่างเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ และทำงานร่วมกันเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน”

นักวิทย์ชี้ “ก๊าซมีเทน” คือเป้าหมายใหม่ของการลดภาวะโลกร้อน

ผลสำรวจปชช. 9 ประเทศเรื่องโลกร้อน 14% ชี้ จะไม่ลงมือรักษาโลกด้วยตัวเองแล้ว

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ในปี 2021 ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงถึง 414.3 ppm เพิ่มขึ้นมาประมาณ 2.4 ppm จากปี 2020

C3S กล่าวว่า ในส่วนของระดับก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่หลัก ๆ คาดว่าเกิดจากการผลิตน้ำมันและก๊าซ และการเกษตรกรรม

นอกจากนี้ คาดว่าหากโลกยังไม่ปรับเปลี่ยนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจะสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2033 นี้

 

เรียบเรียงจาก Aljazeera

ภาพจาก AFP

เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in

องค์การเภสัชกรรม ขาย ATK ราคา 35 บาทต่อชุด เริ่ม 14 ม.ค.65

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ