อิสราเอล เผยผลศึกษา วัคซีนเข็ม 4 “อาจไม่พอสู้” โควิดโอมิครอน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วัคซีนคือเครื่องมือสำคัญกับการรับมือของโควิด-19 และเมื่อกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่มากขึ้นเ หลายประเทศจึงต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ในส่วนของโอมิครอน แนะนำให้ฉีดเข็มที่ 3 เพื่อรับมือ ส่วนเข็มที่ 4 มีเพียงประเทศเดียวที่มีนโยบายฉีดให้ประชากรในวงกว้าง นั่นก็คือ อิสราเอล ซึ่งระบุว่ารอไม่ได้ และต้องการรับมือกับโอมิครอนด้วยการใช้วัคซีนแทนการให้ประชาชนติดเชื้อ

โมเดอร์นาพัฒนาวัคซีน 2 in 1 กันได้ทั้งโควิด-หวัดใหญ่ ตั้งเป้าสำเร็จใน 2 ปี

จีนแนะประชาชนเลิกสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ป้องกันโควิด-19 ระบาดได้

ขณะนี้อิสราเอลเริ่มฉีดบูสเตอร์เข็มที่ 4 ให้กับประชากรกลุ่มเปราะบาง และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ก่อนที่เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา จะอนุมัติให้ฉีดเข็มที่ 4 ในบุคคลากรทางการแพทย์และคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 4 ที่ชี้ว่า ถึงแม้ว่าจะกระตุ้นภูมิได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการรับมือกับสายพันธุ์โอมิครอน

 

ลี เรเจฟ-โยเชย์ ผู้อำนวยการแผนกโรคติดต่อของศูนย์การแพทย์ชีบาของอิสราเอล เปิดเผยว่า ทางศูนย์ได้ทดสอบการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ 2 หรือวัคซีนเข็มที่ 4 ซึ่งเป็นวัคซีนของไฟเซอร์ ให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์การแพทย์จำนวน 154 ราย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพว่าเป็นอย่างไรหลังฉีดไปแล้ว 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังฉีดวัคซีน mRNA อีกตัวคือวัคซีนของโมเดอร์นาเป็นวัคซีนเข็มที่ 4 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์ 120 คน โดยมีการวัดประสิทธิภาพหลังการฉีดไปแล้ว 1 สัปดาห์  เมื่อทางศูนย์นำผลการทดสอบของคนทั้งสองกลุ่มนี้มาเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 ปรากฎว่า คนที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 ทั้งสองกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาล้วนมีภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีที่สูงขึ้นกว่าคนที่ยังไม่ได้รับเข็มที่ 4  อย่างไรก็ตาม ภูมิที่สูงขึ้นยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน 

 

เมื่อผลเบื้องต้นออกมาเช่นนี้ คำถามที่สำคัญคือ แล้วถ้าอย่างนั้น อิสราเอลควรเดินหน้าฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 ต่อไปหรือไม่? คำตอบของ กิลี เรเจฟ-โยเชย์ ผู้อำนวยการแผนกโรคติดต่อของศูนย์การแพทย์ชีบาของอิสราเอล คือ การฉีดวัคซันเข็มที่ 4 ในประชากรกลุ่มเสี่ยงน่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่หากต้องฉีดให้ประชากรในวงกว้างหรือทั้งหมด ประโยชน์ที่ได้อาจไม่เพียงพอ

อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบนี้ยังคงเป็นเพียงการศึกษาทดสอบในเบื้องต้นและยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลในวารสารหรือบทความทางวิชาการแต่อย่างใด

 

สำหรับ อิสราเอล ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เดินหน้าฉีดวัคซีนโควิดให้กับพลเมืองอย่างรวดเร็ว  โดยเริ่มต้นฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 4 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและมีอาการรุนแรง ก่อนที่เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา จะมีการขยายวงกว้างขึ้น อนุมัติให้ใช้วัคซีนเข็มที่ 4 ให้กับประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และบุคลากรทางการแพทย์

โดยการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 ของอิสราเอลจะใช้เป็นวัคซีนของไฟเซอร์ และจะฉีดได้ต้องมีระยะห่างจากเข็ม 3 อย่างน้อย 4 เดือน ที่ผ่านมาประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้ถูกจับตาจากทั่วโลกถึงวิธีการและแผนการรับมือกับโควิด ตั้งแต่การตัดสินใจสั่งและระดมฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในเข็มที่ 1 และ 2 และเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการประกาศฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 4 อย่างไรก็ตาม มีเสียงแสดงความเป็นกังวลออกมาจากนักวิทยาศาสตร์บางคนถึงการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4

 

สำนักข่าว New York Times ตีพิมพ์บทความอ้างอิงผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากสหราชอาณาจักรว่า วัคซีนบูสเตอร์เข็มที่ 4 อาจมีประสิทธิภาพลดน้อยลงเมื่อเจอกับสายพันธุ์โอมิครอน และประสิทธิภาพของวัคซีนยังอยู่ได้เป็นระยะเวลาน้อยลงด้วยคือ เหลือประมาณ 10 สัปดาห์เท่านั้น และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตวัคซีนกำลังเร่งปรับสูตรเพื่อรับมือกับโอมิครอนโดยเฉพาะ บทความนี้ยังอ้างอิงข้อมูลด้วยว่า การฉีดวัคซีนมากและบ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะ Vaccine Fatige หรือ ภาวะล้าจากวัคซีน

 

ขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มที่สามหรือเข็มกระตุ้นในไทย เพื่อรับมือกับสายพันธุ์โอมิครอน ตอนนี้สามารถฉีดไปได้แล้วร้อยละ 14 ของประชากร

 

"ดร.อนันต์" ชี้จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้น และต้องเป็นชนิด mRNA

ทั้งนี้การฉีดเข็มสามจะเป็นวัคซีนตัวใดที่จะได้ผลนั้น ดอกเตอร์อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ในเฟซบุ๊กถึงข้อมูลชุดหนึ่ง

เป็นข้อมูลเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดียับยั้งไวรัสโอมิครอนจากวัคซีนสูตรต่าง ๆ ประเมินผลที่ทางศูนย์วิจัยคลินิค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเก็บรวบรวม และมีการประเมินผลโดยทีมวิจัยของไบโอเทค สวทช ที่ได้ผลสรุปดังนี้

1.วัคซีน 2 เข็ม ไม่ว่าจะสูตรไหน จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น เพราะไม่เพียงพอยับยั้งโอมิครอน

2. การกระตุ้นเข็ม 3 จากวัคซีน 2 เข็ม สามารถใช้ mRNA อย่าง Pfizer หรือ Moderna หรือ Viral vector อย่าง AZ ได้ โดยขนาดของโดสที่เป็นเต็มโดส หรือ ครึ่งโดสใช้ได้ทั้งคู่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

3.  การใช้ AZ 3 เข็ม ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะการกระตุ้นเข็ม 3 ของ AZ หลังจากร่างกายมีภูมิต่อไวรัส AZ มาพอสมควร และ ระยะเวลาสั้นกว่า 6-12 เดือน ส่งผลให้ภูมิขึ้นไม่สูงเท่าที่ควร แนะนำให้กระตุ้นด้วย mRNA

 

อีกโพสต์หนึ่งของ ดร.อนันต์ ในวันนี้พูดถึงเรื่องที่ว่าโอมิครอนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ โดยมีการระบุว่า โอมิครอนในอนาคตอาจคือโรคประจำถิ่น แต่สิ่งที่ยังไม่แน่นอนคือ ตัวที่อาจจะมาต่อจากโอมิครอน “ไม่แน่” คนจบเกมไม่ใช่ผู้เล่น แต่เป็นไวรัสเจ้าของเกม

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ