การศึกษาขนาดเล็กเผย “สปุตนิก วี” สร้างภูมิต้านโอมิครอนดีกว่า “ไฟเซอร์”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทีมวิจัยรัสเซีย-อิตาลี ศึกษาวัคซีนโควิด-19 สปุตนิก วี 2 เข็ม มีระดับแอนติบอดีต้านโอมิครอนสูงกว่าไฟเซอร์หลังผ่านไป 3-6 เดือน

ทีมวิจัยร่วมระหว่างรัสเซียและอิตาลี ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการลงทุนของรัสเซีย (RDIF) ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการตลาดในต่างประเทศให้กับวัคซีนโควิด-19 "สปุตนิก วี (Sputnik-V)" ของรัสเซีย ได้ทำการศึกษาเบื้องต้นขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเมื่อเทียบกับวัคซีนตัวอื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด

สธ.พบหลังปีใหม่ 87 %โควิด-19ในไทย เป็นสายพันธุ์โอมิครอน

อังกฤษ ปลดแผนรับมือโอมิครอน ชี้ฉีดบูสเตอร์ได้เยอะแล้ว - นักวิทย์เตือนติดเชื้อพุ่ง

จริงหรือโอมิครอนตัวปิดเกม โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น?

ผลการศึกษาเปรียบเทียบซีรัม (Serum) ในเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดต่าง ๆ เบื้องต้นชี้ว่า ว่าระดับของแอนติบอดีชนิด Neutralizing Antibody ต่อโควิด-19 โอมิครอนของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สปุตนิก วี ไม่ได้ลดลงมากเท่ากับผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์

การศึกษาเบื้องต้นดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Spallanzani ในอิตาลีและสถาบัน Gamaleya ซึ่งเป็นผู้พัฒนาวัคซีนสปุตนิก วี

นักวิจัยกล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี 51 คนที่ได้รับการฉีดวัคซีนสปุตนิก วี และมี 17 คนได้รับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์

ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างที่เก็บจากผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดต่าง ๆ เมื่อผ่านไป 3-6 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สอง แสดงให้เห็นว่า ระดับของแอนติบอดีในผู้รับวัคซีนสปุตนิก วี 2 โดสนั้น ต้านโอมิครอนได้มากกว่าในผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์

โดยตรวจพบ Neutralizing Antibody ที่จำเพาะต่อโควิด-19 โอมิครอนในซีรัม 74.2% ของผู้ที่ได้รับวัคซีนสปุตนิก วี และพบ 56.9% ในผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์

ก่อนหน้านี้สถาบัน Gamaleya ผู้พัฒนาสปุตนิก วี ระบุว่า การฉีดวัคซีนสปุตนิกไลต์เป็นเข็มบูสเตอร์ให้การตอบสนองของแอนติบอดีต่อโอมิครอนได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนสปุตนิก วี 2 เข็ม

ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เบื้องต้นไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก เนื่องจากทั้งผู้ที่ลงทุนในงานวิจัยและผู้ที่ดำเนินงานวิจัย ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับวัคซีนโดยตรง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษายังดูน้อยเกินไป จำเป็นต้องรอผลการตรวจสอบซ้ำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่างานวิจัยชิ้นนี้น่าเชื่อถือเพียงใด

 

เรียบเรียงจาก Reuters

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ