เมื่อวันที่ 9 ต.ค. องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) รายงานว่า เมื่อเย็นวันที่ 8 ต.ค. ตามเวลาเขตตะวันออก ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยมวลโคโรนา (CME) ซึ่งเป็นการพ่นมวลอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้ากลุ่มใหญ่ออกจากดวงอาทิตย์
โดย CME ได้มุ่งหน้ามายังโลก และจะมาถึงโลกในวันที่ 10 ต.ค. เกิดเป็น “พายุแม่เหล็กโลก” (Geomagnetic storm) ซึ่งเกิดจากสนามแม่เหล็กโลกถูกรบกวนจากคลื่นกระแทกของกลุ่มอนุภาคมีประจุไฟฟ้าจำนวนมากจากดวงอาทิตย์
NOAA คาดการณ์ว่า CME จะมีความเร็ว 1,200-1,300 กม./วินาที ทำให้อาจมาถึงโลกได้เร็วที่สุดในช่วงเช้าถึงเที่ยงของวันที่ 10 ต.ค. ตามเวลาเขตตะวันออก (ค่ำวันที่ 10 ต.ค. ถึง 01.00 น. ของวันที่ 11 ต.ค. ตามเวลาประเทศไทย) และอาจคงอยู่ไปถึงวันที่ 11 ต.ค.
“ติ๊ก ชิโร่” ขับรถตู้ชน จยย.ดับ 1 สาหัส 1 ยืนรอมอบตัว ก้มกราบเท้าขอโทษ
สคบ. จ่อเรียก 3 ดาราดัง บอส The iCon Group ให้ข้อมูลสัปดาห์หน้า
รวมข้อมูลพร้อมพิกัดบูธ “สัปดาห์งานหนังสือแห่งชาติ 2567” ครั้งที่ 29
พายุแม่เหล็กโลกนั้น แม้จะเกิดขึ้นในอวกาศเหนือชั้นบรรยากาศโลก แต่ส่งผลกระทบต่อโลกได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเทคโนโลยีอวกาศ เช่นดาวเทียม การส่งกำลังไฟฟ้า หรือการสื่อสารวิทยุ ส่วนผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์มีไม่มากนัก
จากระดับความรุนแรง 5 ระดับ คาดว่าพายุแม่เหล็กโลกที่จะเกิดขึ้นนี้มีระดับความรุนแรง G4 ซึ่งเป็นระดับรุนแรงมาก ทำให้ระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าอาจเกิดความเสียหายเป็นพื้นที่กว้าง ยานอวกาศอาจเกิดการสะสมประจุขึ้นที่พื้นผิวและอาจมีปัญหาในการสื่อสารและควบคุมทิศ เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในท่อส่งน้ำ เกิดแสงเหนือแสงใต้ และการกระจายสัญญาณความถี่สูงอาจขัดข้องเป็นระยะ
แสงเหนือหลากสีสันอาจมองเห็นได้ในเย็นวันที่ 10 ต.ค. ตามเวลาเขตตะวันออก ในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯ เช่น แอละบามาและแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ซึ่งมาทางใต้ไกลกว่าปกติมาก
ศูนย์พยากรณ์สภาพอากาศในอวกาศ (SWPC) ระบุว่า “พายุแม่เหล็กโลกสามารถส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานในวงโคจรใกล้โลกและบนพื้นผิวโลก” ศูนย์จึงได้แจ้งให้หน่วยงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง ผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้าและดาวเทียมของอเมริกาเหนือทราบเพื่อเตรียมรับมือกับการหยุดชะงักของระบบต่าง ๆ
SWPC บอกอีกว่า มีโอกาส 25% ที่พายุแม่เหล็กโลกนี้จะทวีกำลังเป็นระดับ G5 ซึ่งเป็นระดับรุนแรงที่สุด