มจพ.เน้นผลิตบัณฑิตวิศวะซ่อมบำรุงอากาศยาน ขานรับอุตสาหกรรมไทยแลนด์4.0


เผยแพร่




มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เน้นการวิจัย การบริการวิชาการและการเรียนการสอนเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงนโยบายภาครัฐ ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และองค์ความรู้ทางวิชาการเข้าด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับผลงานทางวิชาการที่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติได้ ก่อให้เกิดประโยชน์จริงแก่เศรษฐกิจและสังคม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นสาขาที่เปิดการเรียนการสอนเป็นปีที่6 โดยเน้นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและการลงมือภาคปฏิบัติจริงมหาวิทยาลัยฯได้ลงทุนการพัฒนาบุคลากรครุภัณฑ์ต่างๆจำนวนมากภายใต้ความร่วมมือช่วยเหลือทางวิชาการจากหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่องโดยมหาวิทยาลัยเชื่อว่าอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกจะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมหาศาล

นศ.ไทย คว้าสองรางวัล World Robocup Rescue 2019

โดยล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานของร่วมกับบริษัทThai Aerospace Industries จำกัดจัดงานเสวนาหัวข้อ“CAREER PATH ของวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน” ภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯประเภทNon-Degree โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่ออนำเสนอกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาและความร่วมมือของสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานกับหน่วยงานภายนอกรวมถึงให้องค์ความรู้ด้านเส้นทางอาชีพของวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานแก่นักเรียนนักศึกษาที่สนใจศึกษาต่อในวิชาชีพดังกล่าวสร้างความเข้าใจในกฎระเบียบของประเทศไทยและนานาชาติในการก้าวสู้วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานที่สำคัญเปิดโอกาสช่องทางในการทำงานทั้งในและต่างประเทศ

ศาสตราจารย์ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีโอกาสจัดงานสัมมนาหัวข้อ“CAREER PATH ของวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน” ภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯประเภทNon-Degree โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากิจกรรมครั้งนี้มหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ให้แก่ผู้สนใจโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่สนใจจะศึกษาต่อในเส้นทางอาชีพของวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานมุ่งสร้างผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ไทยแลนด์4.0 ที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศซึ่งกิจกรรมครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยฯได้มีส่วนผลิตบัณฑิตที่เป็นพันธุ์ใหม่จริงจังเพราะเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาได้รับCertificate จากSingapore Airlines Engineering Company Training Academy และEASA ซึ่งมีส่วนสามารถนำไปประกอบวิชาชีพจริงได้ทั่วโลกตามมาตรฐานสากลและมหาวิทยาลัยฯจะยังคงพัฒนาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องโดยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับThai Aerospace Industries เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนให้ทั้งคณาจารย์นักศึกษาและอุตสาหกรรมไทย"

รองศาสตราจารย์ ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ คณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า หลักสูตรซ่อมบำรุงอากาศยานเปิดการเรียนการสอนมาทั้งสิ้น6 ปีโดยก่อนหน้านี้เราได้รับข้อมูลว่าจะมีการส่งเสริมหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงอากาศยานมจพ.จึงดำเนินการวางโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวขึ้นมาซึ่งปัจจุบันนี้มีเด็กสำเร็จหลักสูตรออกไปทำงานแล้ว2 รุ่นแต่เมื่อมาเปรียบเทียบบัณฑิตที่จบการศึกษากับความต้องการในอุตสาหกรรมด้านนี้ยังถือว่าน้อยมากเพราะในส่วนของความต้องการภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกขณะนี้มีความต้องการมากถึง3 แสนคนและในส่วนอู่ตะเภาในปีนี้ต้องการมากถึง3 หมื่นคนส่วนหนึ่งเพราะจำนวนเครื่องบินเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าและเครื่องยนต์ก็เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าดังนั้นเวลายังเปิดกว้างรับนักเรียนผู้สนใจศึกษาอีกจำนวนมากด้วยเช่นกันส่วนร่างหลักสูตรการเรียนการสอนดังกล่าวนี้ยืนยันว่าถูกต้องไปตามกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ของนานาชาติทั้งของเอฟเอเอหรือองค์การบริหารการบินแห่งชาติ( Federal Aviation Administration - FAA) และEASAหรือองค์การความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป( EASA ) ทั้งนี้เพื่อเวลานักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะได้เข้าสู่อุตสาหกรรมด้านการซ่อมอากาศยานได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์อีกทั้งทุกคนจะได้รับความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติครบถ้วนสมบูรณ์ทุกด้านคณะอาจารย์ที่มาให้ความรู้ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ(มจพ.) นอกจากนี้ยังส่งอาจารย์ไปอบรมความรู้เพิ่มเติมที่ประเทศเยอรมันและทุกคนได้รับlicense EASA - 147 และเพื่อเพิ่มความเข้มข้นเรายังได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากการบินไทยมาให้ความรู้ครอบคลุมทุกด้านอีกด้วยเพื่อให้เด็กที่จบการศึกษาได้ความรู้ความสามารถทุกด้านในทันทีที่เครื่องบินจอดสนิททุกคนสามารถต้องตรวจสอบทุกจุดเพื่อความปลอดภัยทางด้านการบินทั้งนี้เมื่อเด็กที่จบการศึกษาหลักสูตรนี้นอกจากจะได้ทำงานที่มั่นคงทางวิชาชีพแล้วยังมีlicenseในระดับหนึ่งติดตัวไปด้วยทั้งยังนำความรู้ความสามารถไปศึกษาต่อในด้านอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจอื่นๆในระดับสูงต่อไปได้หรือจะเดินเส้นทางนี้และเพิ่มlicenseสะสมในชั้นสูงๆต่อไปอาทิเช่นเมื่อมีความรู้ซ่อมบำรุงเครื่องแอร์บัส320 ได้และเก็บlicense เพิ่มจนสามารถซ่อมเครื่องแอร์บัส350 หรือแอร์บัส380 ได้เหมือนการยกระดับความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยาน

ดร.ธนกฤต อัศวลงกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแอร์โรสเปซอินดัสทรีส์ จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับThai Aerospace Industries รู้สึกยินดีกับทางมหาวิทยาลัยฯกับงานสัมมนาในครั้งนี้สำหรับเรานั้นมาตรฐานสากลระดับโลกอย่างEASA นั้นถือเป็นประตูสำคัญในการเปิดให้ประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมการบินของโลกการร่วมมือระหว่างเรากับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการศึกษาและพัฒนาบุคคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมการบินทั้งในและต่างประเทศด้วยมาตรฐานสากลจากEASA ในด้านของมาตรฐานวิชาชีพช่างซ่อมอากาศยานจะช่วยให้อุตสาหกรรมการบินในไทยสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมการบินโลกในเวลาไม่นาน

กสอ.จับมือ มจพ. พัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0

 

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ