กองพัฒนาดิจิทัลฯ จับมือ มจพ. เสริมศักยภาพดิจิทัล เอสเอ็มอีไทย สู่ระดับโลก


เผยแพร่




รัฐบาลกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยมาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและสนับสนุน ปีงบประมาณ 2563 สร้างความเข้มแข็งให้ SMEs รวมทั้งสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (New Warriors) พร้อมมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งบูรณาการ ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน มุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจให้ SMEs

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยมาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs โดยได้จัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ในหลายภาคส่วนของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs (Strong SMEs) รวมทั้งสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (New Warriors) โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งบูรณาการ (Integrate) ด้วยการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินธุรกิจให้ SMEs 

มจพ.เน้นผลิตบัณฑิตวิศวะซ่อมบำรุงอากาศยาน ขานรับอุตสาหกรรมไทยแลนด์4.0

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ประกอบการ SMEsจะต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ SMEs ในการก้าวสู่เป้าหมายความสำเร็จ เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การบริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบบริหารการผลิต ระบบบริหารการขาย ระบบบัญชีการเงิน ระบบการบริหารสินค้าคงคลัง ระบบการบริหารบุคคล ฯลฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดกิจกรรมในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs นำเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศขององค์กร ที่บูรณาการข้อมูลของกระบวนงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการในองค์กรได้ ดังนั้น จึงได้จัดทำกิจกรรม “การพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบดิจิทัล” ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SME ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Value Chain) ขึ้น

นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า “โครงการนี้เป็นอีกโครงการหนึ่งที่อยู่ภายใต้ในการที่จะส่งเสริมระบบดิจิทัลที่นำมาเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการในกิจการ ซึ่งในภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนั้นเรามีภารกิจในการที่จะเสริมสร้างและส่งเสริมให้ SMEs นั้นมีความแข็งแกร่งซึ่งก็มีหลากหลายแนวทาง สำหรับในแนวทางของโครงการนี้ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทางกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมผู้รับผิดชอบโดยตรงได้เล็งเห็นว่าการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ในระบบดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากว่าเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเราก็เชื่อระบบซอฟต์แวร์นั้นสามารถที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการนั้นนำไปใช้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผนธุรกิจ การจัดซื้อ การขาย หรือทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่จะทำให้การบริหารงานนั้นสามารถที่จะลดต้นทุนได้ และเราก็ได้มองว่าซอฟต์แวร์ตัวไหนที่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ได้ที่สุดผลสรุปออกมาก็คือซอฟต์แวร์ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning Software) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าซอฟต์แวร์ ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีระบบการจัดการแบบครบวงจร ซึ่งคำว่า

ครบวงจรนั้นหมายความว่า สามารถครอบคลุมได้ทุกแผนกของกิจการไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซื้อ ฝ่ายขาย ขายบริหารจัดการ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงิน เป็นต้น เราก็เลยคิดว่าโครงการนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการจึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมาโดยมีเป้าหมายว่าอยากให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศได้หันมาใช้และรู้จักซอฟต์แวร์ตัวนี้มากขึ้น” 

“โครงการเพิ่มศักยภาพ SME ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นโครงการที่เปิดกว้าง จึงทำให้ในโครงการนี้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจะมีหลากหลายภาคเช่น ภาคการค้า ภาคการให้บริการ ก็สามารถที่จะเข้าร่วมได้เช่นกัน อีกทั้งยังเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศไทยที่มีความสนใจในเรื่องนี้ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหนก็สามารถที่จะเข้าร่วมได้ เพราะตัวซอฟต์แวร์นั้นมันสามารถใช้ได้อย่างง่ายดายไม่ซับซ้อน ไม่ว่าตัวท่านผู้ประกอบการจะอยู่ที่ไหนขอเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และอินเตอร์เน็ตสามารถที่จะเข้าถึงได้ไม่ว่าจะเป็น 4G หรือ 5G ก็สามารถที่จะใช้งานได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ท่านมีความพร้อมที่จะเรียนรู้และทดลองใช้ก็สามารถที่จะเข้ามาสมัครได้ และที่สำคัญกิจการของท่านนั้นจำเป็นที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ERP หรือไม่ เพราะบางกิจการนั้นใช้เพียงบางซอฟต์แวร์เท่านั้น   ต้องบอกเลยว่า SMEs ในปัจจุบันนั้นมีความเข้าใจในเรื่องของการค้าขายออนไลน์ (E-Commerce) ว่าคืออะไร แต่ก็มีจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการค้าขายออนไลน์คำว่าเข้าไม่ถึงในที่นี้หมายถึงว่าเขาไม่รู้ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะฉะนั้นทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเองก็มีแผนงานที่จะให้ความรู้ในเรื่องนี้อยู่แล้ว ซึ่งตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ปีนี้จะขยายการอบรมการค้าขายออนไลน์ (E-Commerce) ให้กับผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ เพราะภาครัฐต้องการสร้างให้ SMEs นั้นได้รู้ถึงเทคนิคในการค้าขายออนไลน์ นอกเหนือจากการที่จะสามารถทำการค้าขายออนไลน์ได้แล้วนั้นเราต้องมีเทคนิคที่จะทำให้ค้าขายได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลลัพธ์มากที่สุด ซึ่งจริง ๆ แล้วนั้นการค้าขายออนไลน์มีหลากหลายเทคนิคมากตั้งแต่การลงรูปเทคนิคการที่ถ่ายรูปออกมาอย่างไรให้รูปมีความคมชัด สวยงาม และน่าดึงดูดให้เลือกซื้อ คอนเทนต์เขียนอย่างไรให้โดนใจ การตอบคำถามเราจะสามารถทำอย่างไรให้ตอบคำถามได้ทันทีตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีแผนงานอยู่แล้วและปีนี้ก็กำลังจะเริ่มทำอย่างจริงจัง” ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กล่าว

กสอ.จับมือ มจพ. พัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0

 

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ