มหิดลชวนธุรกิจขึ้นรถไฟ 4 โบกี้ ปรับขบวนทัพ รับมือ 2021


เผยแพร่




ใกล้ผ่านพ้นปี 2020 ทศวรรษใหม่ที่เจอมรสุมกระหน่ำทั้งโรคระบาด และ Digital Disruption ก่อนนั่งรถไฟไปต่อในปี 2021 มหิดลชวนภาคธุรกิจตั้งหลัก ขึ้นให้ถูกขบวน ด้วยทรัพยากรที่เริ่มร่อยหรอ ผู้ประกอบการต้องคิดหนักมากขึ้น

มหิดลชวนสแกนธุรกิจก่อนสิ้นปี ให้ปีหน้ายังอยู่รอดด้วยหลักสูตร DBM

รฟท.ผุด “รถไฟหรู” เพื่อการท่องเที่ยว หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

อ.ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมธุรกิจ NEO Academy วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในช่วงปีที่ผ่านมา ข่าวดีคือทุกคนเรียนรู้ที่จะปรับตัว แต่ข่าวไม่สู้ดีนักคือทรัพยากรและกำลังใจลดน้อยถอยลง จากการทุ่มเงิน คน เวลา ในการทดลองปรับตัวเพื่อไม่ให้ตกขบวน การขับเคลื่อนองค์กรไปต่อในปี 2021 จึงต้องดูตั้งแต่หัวจรดท้ายขบวนว่าวิ่งไปอย่างพร้อมเพรียงกันอยู่หรือไม่ ถ้าเปรียบเป็นรถไฟที่ต่อให้มีนับร้อยนับพันโบกี้ แต่ที่ขาดไม่ได้เลยคือ 4 โบกี้หลัก ดังต่อไปนี้

โบกี้แรกมีความสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือผู้นำเป็นอย่างมาก คือการเห็นภาพใหญ่ของโลกธุรกิจยุคดิจิทัล (Digital Business Management) สิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำคือเตรียมพร้อมบุคลากรให้มี “Digital Literacy” หรือ “ความรู้ทางดิจิทัล” ไม่ต่างอะไรกับที่ครั้งหนึ่งเราต้องเรียนคณิตศาสตร์ หรือ ภาษาอังกฤษ ความรู้ทางดิจิทัลคือความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ธุรกิจจึงจะสามารถที่จะทำ “Digital Transformation” หรือการ “ทรานส์ฟอร์ม” ธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ นั่นคือการที่ธุรกิจยอมรับเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามาใช้ เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือทดแทนรูปแบบสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ได้เป็นดิจิทัล

โบกี้ที่สองคือเรื่องของการสร้างแบรนด์ (Digital Branding Management) ในโลกการแข่งขันดิจิทัลที่ธุรกิจแข่งกันด้วยความเร็ว แต่สินค้าบางอย่าง เช่น กล้องฟิล์ม แผ่นเสียง ที่ควรจะตกยุคกลับได้รับความนิยม แสดงว่าสินค้านั้นยังสามารถ ‘สื่อสารความเชื่อ’ บางอย่าง เช่น ชีวิตที่ดีไม่จำเป็นต้องเร็ว หรือ Nostalgia – ความคิดถึงวันวาน หากชุดความเชื่อนั้นโดนใจผู้บริโภคก็สามารถยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งได้ แม้จะเป็นธุรกิจที่อยู่มานานจึงยังต้องกลับมาตรวจสอบคุณค่าของแบรนด์ (Revisiting Brand Value) ให้ลึกซึ้งมากขึ้น ในโลกของ Digital Branding เปลี่ยนการให้คุณค่ามากกว่าแค่เรื่อง Corporate Identity (อัตลักษณ์องค์กร) ที่มุ่งเน้นการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ สู่ Corporate Reality (ตัวตนที่แท้จริงขององค์กร) ที่คนเชื่อและอยากที่จะรับรู้ “ความจริง” เปรียบเหมือนอยากรู้จักนิสัยใจคอพื้นเพของมนุษย์คนหนึ่ง ต้องระวังไว้ว่าโลกดิจิทัลเปิดช่องให้แบรนด์มีหลากหลายตัวตนจนลูกค้าอาจสับสน ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะสร้างจุดยืนและรับมือเมื่อเกิดวิกฤติ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีองค์ความรู้ติดตัวไว้

โบกี้ที่สาม เข้าสู่เรื่องของการทำการตลาด (Digital Marketing Management) ไม่มีคำถามว่าการตลาด Offline หรือ Online ดีกว่าอีกต่อไป แต่เป็น Everyline (Omni channel) มองโลกการตลาดแบบไร้รอยต่อ ส่งมอบประสบการณ์ไปถึงลูกค้าได้ในทุกจุด (Touchpoint) โลกของดิจิทัลมาร์เกตติ้งที่หมุนเร็วมาก นักการตลาดต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้บริโภคแบบเรียลไทม์ ทำการทดสอบแบบ A/B testing อยู่เสมอ ยุคนี้มีสิ่งที่เรียกว่า Digital Footprint ที่ลูกค้าทิ้งร่องรอยอะไรบางอย่างไว้ให้ศึกษา

การทำ Data Optimization หรือ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด จึงเป็นคำตอบของการทำการตลาดดิจิทัลที่ทุกอย่างวัดผลและตีค่าออกมาได้ แตกต่างกับการทำการตลาด Offline ที่ข้อมูลต่าง ๆ มีไม่เพียงพอในการกำหนดกลยุทธ์ และไม่ทันเวลา

โบกี้สุดท้ายสำคัญไม่แพ้การมุ่งหารายได้ คือการอุดรอยรั่วการบริหารภายใน ในเรื่องการบริหารนวัตกรรมโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (Innovative Supply Chain & Logistics Management) หลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องของการขนส่งเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว คือการตรวจสอบคุณภาพทุกอย่างของกิจการตั้งแต่ INPUT > PROCESS > OUTPUT ยิ่งความเร็วของธุรกิจเพิ่มขึ้น พร้อมกับการประสานงานติดต่อในหลายช่องทาง ดูจะยิ่งเพิ่มอัตราความเป็นไปได้ของการสูญเสียและความผิดพลาด หากเราสามารถลดความสูญเสียได้ เช่น ลดอัตราการส่งของเสีย ลดระยะเวลาที่จะใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแผนก เมื่อทุกอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นรวมกัน สิ่งที่ธุรกิจจะได้เพิ่มมากขึ้นนั่นก็คือ กำไรที่มากขึ้น

อ.ดร.ตรียุทธกล่าวทิ้งท้ายว่า อีกอย่างที่คนทำธุรกิจยุคใหม่ควรคำนึงถึง คือการ Leverage Outsources & Resources ปรับเปลี่ยนมุมมองจาก “เราต้องเก่งทุกอย่าง” มาเป็น “ไม่มีใครที่เก่งทุกอย่างและไม่มีใครที่จำเป็นต้องทำทุกสิ่ง” ในโลกของ Platform Business ได้เอื้อให้เชื่อมโยงกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น นักธุรกิจควรรู้จักเลือกเฉพาะสิ่งที่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจด้วยตัวเอง ย้อนมามองดูปี 2020 ถ้าใครรู้สึกว่าเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์อยู่บ้าง ได้เวลาที่ผู้บริหารต้องเลือกขบวนรถไฟคันที่จะพาทะลุอุโมงค์ไปให้ได้ ภาคการศึกษาก็พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการได้ไปต่อ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.neobycmmu.com

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ