พร้อมหรือยังกับสังคมผู้สูงอายุ? 


เผยแพร่




เปิดเผยวิธีคิดสำหรับการรับมือกับภาวะสังคมผู้สูงอายุ

พบกับงานสัมนา AGING WELL The New Frontiers of Service Design information  ที่จะเปิดเผยวิธีคิดสำหรับการรับมือกับภาวะสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่สังคมสเกลใหญ่ขนาดเมือง ไปจนถึงการออกแบบสิ่งของชิ้นเล็กๆ โดยการบรรยายจากวิทยาการผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากต่างประเทศ งานสัมมนาจะมีขึ้นในวันที่ 17 กันยายน 2559 ตั้งแต่เวลา 13:00-17:30 ณ ห้อง Grand Ballroom Queen Sirikit National Convention Center QSNCC สำรองที่นั่งได้ที่ https://goo.gl/forms/9oa14c2meCzbPkNn2

AGING WELL : The New Frontiers of Service Design คืองานสัมมนา kick off โครงการ Creative Happening Thailand ซึ่งยกหัวข้อ สังคมผู้สูงอายุมาเป็นประเด็นศึกษาผลกระทบและการเตรียมความพร้อมรับปัญหาใน มิติต่างๆ โดยใช้งาน creative service เข้ามาช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพ 

วิทยากรระดับนานาชาติ 3 ท่านที่ได้รับเชิญมาในงานนี้ล้วนมีประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกียวกับสังคมผู้สูงอายุ ในแง่มุมที่หลากหลาย เริ่มจาก Dr. Daniela Glocker ที่จะมาพูดในสเกลของการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาเมือง ตามด้วย Stephen Pimbley สถาปนิกผู้ก่อตั้ง SPARK Architects ที่จะมาพูดถึงเรื่องราวของแนวคิด ของโปรเจค Home Farm อาคารพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในสิงคโปร์ ซึ่งได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจาก World Architecture Festival ปิดท้ายด้วยคุณเฉลิมพล ปุณโณทก จากซีที เอเซีย โรโบติกส์ บริษัทของคนไทยที่คิดค้นนวัตกรรมหุ่นยนต์ดินสอ มินิ สำหรับดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

Dr.Daniela Glocker

Dr. Daniela Glocker เป็นนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและวิเคราะห์กลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองและภูมิภาค ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ( Office for Economic Co-operation and Development - OECD) ซึ่งมีสำนักงานที่ตั้งในปารีส ประเทศฝรั่งเศสโดยมีหน้าที่รับผิดชอบ มุ่งเน้นไปที่การวางแผนและพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ และมีประสิทธิภาพ ที่ตอบสนองกับความต้องการด้านต่างๆ งานล่าสุดของ Dr. Glockerคือการศึกษาและวางแผนด้านที่อยู่อาศัยให้กับเมืองในเม็กซิโก และเนเธอร์แลนด์

Dr. Glocker จบการศึกษาระดับปริญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Free University Berlin ในเยอรมนีเคยเป็นนักวิจัยให้กับสถาบันที่มีชื่อเสียง เช่น London School of Economics (LSE) ในลอนดอน และ German Institute for Education Reserch (DIW) ในเบอร์ลิน เธอมีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับเมืองที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารและหนังสือต่างๆ มากมาย
 

Stephen Pimbley

Stephen Pimbley เป็นผู้อำนวยการก่อตั้ง SPARK จบการศึกษาจาก The Royal College of Art London ในปี 1984 ซึ่งเขาได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิ Gulbenkian เขาเริ่มต้นทำงานที่สำนักงานของ Richard Rogers and Partners ในลอนดอน แล้วย้ายมาอยู่ที่ Troughton McAslan ก่อนที่จะมาเป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับรางวัลให้กับ Will Alsop นั่นก็คือโครงการ Hôtel du Département des Bouches du Rhône ที่เมืองมาร์กเซย์ ในปี 2011 สตีเฟ่นได้มาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฟื้นฟู Clarke Quay ในสิงคโปร์ให้กับ CapitaLand ซึ่งโครงการนี้ได้รับรางวัลมากมายและได้รับการตอบรับอย่างดีจากสาธารณชน มันยังเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นให้เขาย้ายจากยุโรปมาเอเชียและในที่สุดก็มาก่อตั้ง SPARK ผลงานที่มีชื่อเสียงโดดเด่นนอกเหนือจากนี้ ยังมี Raffles City ในปักกิ่ง Rihan Heights ในอาบูดาบี Raffles City ในนิงโบ Starhill Gallery ในกัวลาลัมเปอร์ Paragon City ในชวากลาง Fai-Fah (ไฟฟ้า) ในกรุงเทพฯ Bukit Gambir ในปีนัง และ Shekou Financial Centre ในเสิ่นเจิ้น 

Stephen ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายในงานต่างๆและเลคเชอร์อย่างกว้างขวางทั่วเอเชีย รวมทั้ง Datum 2009 ในกัวลาลัมเปอร์ และ ในงานประชุมด้านความยั่งยืนที่จัดโดยมูลนิธิ Holcim ในกรุงจาร์การ์ต้า นอกจากนี้สตีเฟ่นยังสอนที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์อีกด้วย

 

เฉลิมพล ปุณโณทก

เฉลิมพล ปุณโณทก จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปต่อระดับปริญญาโททาง ด้านบริหารจัดการ (MBA) จาก University of Southern Californiaเขาเริ่มทำงานครั้งแรกที่ Unilever ประเทศไทย และภายหลังจากจบ MBA เขาได้ทำงานที่สำนักงานใหญ่ของ GE Capital ในชิคาโก 

เขาเป็นผู้ ก่อตั้ง ซีที เอเชียซึ่งเป็นผู้นำในด้านซอฟแวร์ด้านคอลเซ็นเตอร์และนวัตกรรมในด้านการให้ บริการลูกค้า ยิ่งกว่านั้นเขายังเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟแวร์ไทย Thailand Software Export Promotion (TSEP) ในปี 2007 ในปี 2009 เฉลิมพลได้ก่อตั้ง ซีที เอเชีย โรโบติกส์ ซึ่งพัฒนาหุ่นยนต์บริการของ ไทยและภูมิภาคอาเซียนเป็นตัวแรกชื่อ “หุ่นยนต์ดินสอ” หุ่นยนต์ดินสอ เริ่มทำงานเป็นบริกรที่ภัตตาคารเอ็มเคและต่อมาก็เริ่มให้บริการใน ภัตตาคารในสวีเดน คุณเฉลิมพลยังได้พัฒนาหุ่นยนต์ดินสอเพื่อดูแลผู้สูงวัยจนประสบความสำเร็จและ ส่งออกไปยังญี่ปุ่นในปี 2016 เฉลิมพลมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จของเขาได้รับการกล่าวถึงอย่างชื่นชม
โดย ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการรายงานการทำงานของรัฐบาลประจำสัปดาห์ที่ถ่ายทอดไปทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2016
 

ณรงค์ โอถาวร

ณรงค์ โอถาวร จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2000 หลังจากนั้นได้ได้ทำงานเป็นสถาปนิกที่เมือง Delf ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขา  Architecture and Urban Culture : Metropolis จาก Universitat Politecnica de Catalunya เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในปี 2007 เขาได้ก่อตั้งสตูดิโอชื่อ ‘SO’ (Situation-based Operation) โดยดำรงตำแหน่ง Design Director นอกจากนี้ ณรงค์ยังเป็นบรรณาธิการคนปัจจุบันของนิตยสาร art4d

 

งานสัมมนาจะมีขึ้นในวันที่ 17 กันยายน 2559 ตั้งแต่เวลา 13:00-17:30 ณ ห้อง Grand Ballroom Queen Sirikit National Convention Center QSNCC สำรองที่นั่งได้ที่ https://goo.gl/forms/9oa14c2meCzbPkNn2

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ