อัยการชี้รื้อบ้านกลางทะเลได้ แม้อยู่นอกราชอาณาจักร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีพบสิ่งปลูกสร้างกลางทะเลใกล้กับจังหวัดภูเก็ต แม้ว่าจะอยู่นอกราชอาณาจักรไทย แต่เพราะพฤติการณ์ของกลุ่มเจ้าของสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งตามกฎหมายทางอัยการจังหวัดภูเก็ตยืนยันว่าผู้ดำเนินการจะต้องรับโทษตามกฎหมายของไทย

 

ทั้งนี้ จุดติดตั้งสิ่งปลูกสร้างกลางทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่ง 14 ไมล์ทะเล ซึ่งตามกฎหมายแล้วถ้าอยู่ห่างจากฝั่งเกิน 12 ไมล์ทะเล ถือว่าอยู่นอกราชอาณาจักรไทย

ในช่วงแรกของการติดตามคดีนี้ มีข้อถกเถียงว่าไทยมีสิทธิ์ดำเนินคดีกับเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้หรือไม่  แต่ล่าสุดอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันว่า สามารถทำได้เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ โดยทุกหน่วยงานสามารถดำเนินคดีได้ไม่ต่างจากคดีที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย

สำหรับการแบ่งอาณาเขตทางทะเล เมื่อออกจากฝั่งไป 12 ไมล์ทะเล คือ “ทะเลอาณาเขต” ซึ่งกฎหมายไทยครอบคลุมสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้และถัดจากนั้นถือว่าเป็นน่านน้ำสากล   แต่ช่วงระหว่าง 13-24 ไมล์ทะเลเรียกว่า “เขตต่อเนื่อง”

บ.ผลิตบ้านลอยน้ำ ระงับโครงการบ้านกลางทะเล ชี้ 2 สามีภรรยา แค่ต้องการอิสระ

พบอู่ต่อเรือสร้างบ้านกลางทะเล อ้างรับทำแค่ไฟเบอร์กลาส ปัดรู้เห็นด้วย

ส่วน 25-200 ไมล์ทะเล เรียกว่า “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” ซึ่งตามปกติมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982  เป็นกฎหมายบังคับใช้  // ส่วนพื้นที่ห่างจากฝั่งมากกว่า 200 ไมล์ทะเล เรียกว่า “ทะเลหลวง”

ทั้งนี้เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษาเพิ่งประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยภารกิจสำคัญของกฎหมายนี้ คือ เพื่อรักษาอธิปไตยและความั่นคงของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 7 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ระบุว่าเรื่องที่เกิดนอกราชอาณาจักร หากเป็นประเด็นที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษในราชอาณาจักร

ซึ่งกรณีสิ่งปลูกสร้างกลางทะเลขณะนี้อยู่ระหว่างรอกรมเจ้าท่าออกคำสั่งทางปกครอง เพื่อให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต่อเนื่อง

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ