เส้นทางของ “เคเบิ้ลใต้ทะเล” พาความสว่างสู่เกาะกูด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จำนวนเกาะในประเทศไทยมี 936 เกาะ เป็นเกาะในจังหวัดตราด 66 เกาะ หนึ่งในนั้นคือเกาะที่กำลังเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง “เกาะกูด” ซึ่งกว่ามาถึงวันนี้เกาะกูดต้อเผชิญกับปัญหาเรื่องไฟฟ้าอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมาหลายปี

นายภาณุมาศ ลิ้มสุวรรณ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เล่าให้ฟังว่าถ้าย้อนกลับไปปี 2537 เกาะกูดทั้งเกาะต้องจ่ายไฟฟ้าด้วยพลังงงานดีเซลและพลังงานจากโซลาเซลล์ ได้กำลังไฟ 40 กิโลวัตต์ แต่ก็ให้แสงสว่างได้เพียงจำนวน 2 หมู่บ้าน หรือราวๆ 100 กว่าครัวเรือน จากทั้งหมด 6 หมู่บ้าน หรือ 800-1,000 ครัวเรือน แต่ทั้ง 2 หมู่บ้านก็มีเวลาอันจำกัด คือวันละ 6 ชั่วโมง 30 นาที (17.30-00.00 น.) เท่านั้น

"จากความต้องการของประชากรในพื้นที่มากขึ้น และศักยภาพของเกาะกูดในการพัฒนาเป็นเกาะแห่งการท่องเที่ยว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงมีแนวคิดนำสายเคเบิ้ลวางใต้น้ำระบบ 22 kv เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าส่งตรงจากแผ่นดินใหญ่มายังเกาะกูด"

โดยเริ่มวางระบบตั้งแต่ปี 2555 และดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2558 ภายใต้งบประมาณ 1,413 ล้านบาท ซึ่งผ่านมา 4 ปี สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ครบทั้ง 6 หมู่บ้าน และผู้ประกอบการสามารถใช้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเพียงพอตั้งแต่ โรงแรมระดับ ลักซ์ชัวร์รี่ และ รีสอร์ทขนาดเล็กขณะเดียวกันยังสามาถวางสายเคเบิ้ลส่งจ่ายไปเชื่อมไปยังเกาะหมากที่ห่างออกไป 17 กิโลเมตรได้อีกด้วย และในปัจจุบันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ทั้ง 2 เกาะ อยู่ที่ 4 เมกกะวัตต์  แต่เพื่อการรองรับความต้องการในอนาคตการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสายเคเบิ้ลใต้น้ำสามารถรองรับได้ถึง 14 เมกกะวัตต์ หรือ 3 เท่าตัวจากในปัจุบัน นั่นหมายความว่าจะสามารถรองรับความต้องการใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แต่เพื่อเป็นการป้องกันเหตุฉุกเฉินจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมไฟฟ้าสำรองโดย กฟภ.ทำให้ของไมโครกริด คือ นำไฟฟ้าจากหลายๆแหล่งมาผลิตไฟฟ้าสำรองไว้จ่ายไฟ เช่น  ปรับปรุงโรงจักรดีเซล แผงโซลาเซลล์ ศึกษาพลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น

สำหรับความความต้องการใช้ไฟฟ้าในเกาะกูด นายภาณุมาศ บอกว่า ในช่วงแรกๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 10% แต่ปัจจุบันอัตราการใช้เพิ่มขึ้นทุกปีแต่อยู่ในอัตราคงที่

หากไปถามในมุมของ นายนิยม นวลหงษ์  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลเกาะกูดโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ซึ่งไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการใช้รักษาผู้ป่วย ในสมัยก่อนเจอปัญหากระแสไฟฟ้าตกบ่อยครั้ง แต่ปัจจุบันมีไฟฟ้าจากส่วนกลางและโรงไฟฟ้าสำรองของโรงพยาบาลซึ่งหากมีเหตุฉุกเฉิน จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กลับมาได้ภายใน 3 นาที แต่ปัจจุบันไม่ประสบปัญหาดังกล่าว มีความสบายใจมากขึ้นในการให้บริการผู้ป่วย

ขณะที่ TERRY DEHDASHTY PR&SOCIAL MEDIA MANAGER ของ โรงแรมระดับ ลักซ์ชัวร์รี่ อย่าง Soneva Kiri บอกกับเราว่า ในสมัยก่อนใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าของโรงแรมเป็นหลักแต่ในปัจจุบันเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้ามา สามารถรองรับแขกที่มาพักได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว

นอกจาก เกาะกูดแล้ว กฟภ.ยังมีแผนงานที่จะจ่ายไฟฟ้าไปตามเกาะต่างๆ อย่างทั่วถึง จากปัจจุบันสามารถจำหน่ายได้ทั่วประเทศแล้ว 15 เกาะ ขณะเดียวกันยังมีเกาะที่ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันาดามัน

เช่น ปี 2563 มีแผนจะวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำไปยังเกาะปันหยี จ.พังงา ถัดไปเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานี รวมถึงเกาะในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันาดามัน อื่นๆ เพื่อให้ทุกพื้นที่มีกระแสไฟฟ้าทั่วถึง ซึ่งนอกจากปัจจัยหลักความต้องการของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีปัจจัยเสริมคือแนวโน้มการเติบโตด้านเศรษฐกิจอย่างการท่องเที่ยว

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ