ผู้ค้า-ปชช.รู้ผักมีสารเคมีตกค้าง แต่เลี่ยงไม่ได้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับผลตรวจสารเคมีปนเปื้อนในผัก-ผลไม้ เมื่อไทยแพนเปิดเผยผลการตรวจตัวอย่างผักมากกว่า200 ตัวอย่าง ซึ่งพบว่ามีสารเคมีปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานอยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์ ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจความเห็นประชาชนและผู้ค้า ที่น่าสนใจคือทุกคนทราบว่าผักมีสารพิษ แต่ก็ต้องบริโภคเพราะทางเลือกมีน้อย

เมื่อวันที่ (28 มิ.ย. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ผักคะน้า พริก และผักกวางตุ้ง คือตัวอย่าง 3 ชนิด ที่นำมาตรวจสารพิษตกค้างผ่านชุดตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อหาว่ามีสารพิษตกค้างหรือไม่ โดยขอบเขตของชุดตรวจนี้จะสามารถบอกได้แค่ มียาฆ่าแมลงกลุ่มยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ปนเปื้อนหรือไม่  ผลจากการตรวจด้วยวิธีเบื้องต้นนี้ตัวอย่างออกมาเป็นสีส้ม หมายความว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

ทีมข่าวสำรวจความเห็นทั้งจากประชาชนในฐานะผู้บริโภค และ ผู้ค้าขายผักในตลาดที่ถือเป็นปลายทางก่อนถึงมือประชาชน น่าสนใจว่าทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ ทราบดีว่าผักที่ขายอยู่บนแผงปนเปื้อนสารเคมี  และมีสารเคมีตกค้าง แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่ต้องการผักสดใหม่ สภาพสวย ส่งผลให้ผู้ค้าต้องหาผักตามความต้องการผู้ซื้อ

เจ้าของแผงผักในตลาดสดย่านห้วยขวาง ให้ข้อมูลว่า ความต้องการซื้อผักของประชาชนจำนวนมาก ทำให้ผักที่ใช้สารเคมีถูกนำมาขายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะหาซื้อง่าย มีพอต่อความต้องการของตลาด ขณะที่ผักปลอดสารเคมี มีไม่มาก และไม่ทันต่อการผลิต ทางเลือกนี้จึงกลายเป็นข้อจำกัดของผู้ค้า

ข้อมูลจากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่าการตรวจสารเคมีตกค้างในผัก-ผลไม้ ปี 2562 จากตัวอย่าง 286 ตัวอย่าง พบว่าผัก-ผลไม้นำเข้ามีสารเคมีตกค้าง 33.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผักที่ผลิตในประเทศ มีสารพิษตกข้างเกินค่ามาตรฐานอยู่ที่ 48.7 เปอร์เซนต์ สถานณ์การณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า มาตรฐานการควบคุมการใช้สารเคมีในประเทศยังมีปัญหา

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ