"เก็บภาษีความหวาน" รอบสองเริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 ก.ย.64


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คนไทยบริโภคน้ำตาลอยู่ในระดับ “สูงมาก” ข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)คือมากกว่า 20 ช้อนชาต่อวัน ทั้ง ๆ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้รับประทานได้เพียง 6 ช้อนชาต่อวันเท่านั้น ซึ่งเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่รัฐบาลจะนำมาคิดคำนวณเป็น ภาษีโดยเป็นอัตราก้าวหน้าคือ “ยิ่งน้ำตาลมากยิ่งเสียภาษีมาก”

และวันที่ 1 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ จะเป็นการเก็บภาษีความหวานรอบที่ 2 โดยก่อนหน้านี้ มีผลไปแล้วหลังคณะรัฐมนตรีมีมติที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพสามิต ปรับเกณฑ์การเสียภาษีสินค้าทุกชนิดที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต รวมถึง ภาษีความหวานด้วย โดยมีผลตั้งแต่ 16 กันยายน 2561 โดย แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ น้ำตาล 0-6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่เสียภาษี

เป๊บซี่ขึ้นราคาน้ำอัดลม 3 ขนาด เซ่นภาษีความหวาน

คนไทยเป็นคนหวานๆ เพราะกินน้ำตาล 28 ช้อนชา/วัน

สาย “ชาไข่มุก” ต้องรู้น้ำตาลสูงเสี่ยงเบาหวาน บางแก้วเกือบ 19 ช้อนชา

ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร

ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร

ค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร

ขณะที่อัตราภาษีความหวานรอบ 2 นี้จะปรับเป็น...

น้ำตาล 0-6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่เสียภาษี

ค่าความหวาน 10-14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร

ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร

ค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ขึ้นไป เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564

และการจัดเก็บอัตราภาษีความหวานเป็นผลทำให้ผู้ประกอบการเครื่องดื่มน้ำอัดลม ประกาศแจ้งปรับขึ้นราคาเครื่องดื่มน้ำอัดลม “โค้ก”และ “เป๊ปซี่” สูตรมีน้ำตาลแบบดั้งเดิม เฉลี่ยขวดละ 2-3 บาท

และกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เดินหน้าจัดเก็บภาษีความหวานก่อนหน้านี้แล้ว

นอกจากประเทศไทยแล้ว อีกประมาณ 20 ประเทศก็มีการจัดเก็บอัตราภาษีความหวานเช่นเดียวกัน เช่น สหรัฐฯ ( 7รัฐ)  อังกฤษ ไอร์แลนด์ สเปน เอสโตรเนีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส แอฟริกาใต้ บราซิล ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ออสเตรเลีย ชิลี โคลอมเบีย เดนมาร์ก ฮังการี และ เม็กซิโก เป็นต้น

‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ขึ้นภาษีน้ำตาลเฉพาะเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตรงจุด

สั่งชานมไข่มุกอย่างไร ลดการทำลายสุขภาพ

นักวิทย์เตือนน้ำผลไม้คั้นมีน้ำตาลสูง ไม่ต่างจากน้ำอัดลม

ความตื่นตัวถึงอันตรายต่อสุขภาพจากความหวานเกิดขึ้นเมื่อปี 2016 จากนักโภชนาการ เชฟ โดยอ้างอิงจากองค์การอนามัยโลกถึงปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องความหวาน ซึ่งก่อนหน้านั้น 1 ปี รัฐบาลจากหลายประเทศเริ่มมีการจัดเก็บภาษีความหวานมาก่อนแล้วการตื่นตัวเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มหันมาใช้วิธีการลดขนาดสินค้าลงเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องปรับเพิ่มราคา ตลอดจนการออกเครื่องดื่มประเภท “ซีโร่ ชูการ์” หรือ ”โลว์ ชูการ์” ที่มีความหวานน้อยไร้น้ำตาล ไร้แคลอรี แทนการใช้น้ำตาลแบบสูตรเดิม

อีก 5 ปีข้างหน้าเก็บอัตราภาษีสูงสุด น้ำตาลเกิน 10 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

ในส่วนของประเทศไทยยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะรอบที่ 3 ของภาษีความหวาน จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 8 กรัม แต่ไม่เกิน 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร ปริมาณน้ำตาล เกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และหากเกิน 14 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร

และอีกครั้งคือ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป เครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร ปริมาณน้ำตาลเกิน 6 กรัม ไม่เกิน 8 กรัม เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร น้ำตาลเกิน 8 กรัม แต่ไม่เกิน 10 กรัม เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร และถ้าน้ำตาลเกิน 10 กรัม เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร เป็นอัตราสูงสุด

อึ้ง! พบกาแฟสตาร์บัคส์อาจมีน้ำตาลมากถึง 25 ช้อนชา

7 เคล็ดลับ น้ำตาลจ๋า พี่ลาก่อน

ผลวิจัย ชี้ ดื่มน้ำหวานเพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง

ที่มา : กรมสรรพสามิต , www.foodnavigator-latam.com , www.kerry.com, สสส.

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ