เปิดมุมมอง “ศุ บุญเลี้ยง – คุณหญิงกัลยา” หนุน – ค้าน กิจกรรม นำแม่มาให้กราบที่โรงเรียน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีที่ “ศุ บุญเลี้ยง” ศิลปินนักร้อง อดีตสมาชิกวงเฉลียงและผู้แต่เพลง “อิ่มอุ่น” ได้ออกมาโพสต์รณรงค์ให้โรงเรียนงดจัดกิจกรรมนำแม่ของนักเรียนมาให้เด็กกราบในงานวันแม่ และกลายเป็นกระแสรยวมถึงมีความเห็นที่หลากหลาย โดยมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

รายการโชว์ข่าว 36 ทางสถานีโทรทัศน์ PPTV จึงได้สอบถามเรื่องนี้ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง โดย  “ศุ บุญเลี้ยง” ได้ขยายความเรื่องดังกล่าวว่ามีคนคิดเห็นต่างกันเป็นเรื่องที่ดี  แต่ด้วยเหตุผลที่ได้ยินคือ 90 กว่าเปอร์เซ็นเห็นด้วย โดยอาจจะมีคนจำนวนมากเข้าใจผิดและไม่ได้แปลว่าเหตุผลที่ส่วนมากจะถูกต้อง  ประเด็นอยู่ตรงที่

“คนที่ใช้คำว่ามันเป็นประเพณีที่ดีงาม น่าจะเห็นเหลื่อมล้ำกันซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นประเพณีที่ไม่ดีงาม แต่วิธีการเป็นสิ่งที่เกินงาม ส่วนตัวก็มีความสุขดีเวลาที่เห็นแม่ลูกกอดกัน กราบกัน หรือร้องเพลงให้กันเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจอยู่แล้ว”

ศุ บุญเลี้ยง ระบุต่อว่า การทำ ควรเห็นแก่คนอื่นที่เป็นคนส่วนน้อยด้วย ที่เป็นผลกระทบทางจิตใจของเด็กแม้ว่าโรงเรียนนั้นจะมีแค่คนหรือสองคนก็ตาม ให้คิดดูว่าซื้อไอศกรีมแจกเด็ก แต่ไม่ได้แจกให้ทุกคน แล้วเด็กที่ไม่ได้รับแจกนั้นจะรู้สึกอย่างไร

“แม้จะเป็นคนส่วนน้อยก็ไม่สมควร ไม่ใช่ว่าจัดพิธีไม่ได้ เอาผู้ปกครองได้ แต่แค่คิดว่าไม่สมควร โดยจะต้องเข้าใจและต้องแยกแยะให้ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องสามัญสำนึก” ศุ บุญเลี้ยงกล่าว

เขายังระบุด้วยว่า 1 ต้องยอมรับว่าวันแม่เป็นวันสำคัญ ดังนั้นควรเป็นวันหยุดของโรงเรียน โดยโรงเรียนมีหน้าที่สั่งสอนอบรมทุกวัน ทุกฤดูทุกเหตุผลอยู่แล้ว แต่พอถึงวันแม่ควรให้ครูพัก ยังไม่ใช่ความถูกต้องของความเห็นด้วยส่วนใหญ่ แต่เหตุผลที่ให้ คิดว่าน่าฟัง ซึ่งโดยส่วนตัวก็คิดว่าถ้าเป็น ส.ส หรือ รัฐมนตรี ถ้าฟังดูคิดว่าจะทำให้นโยบายของท่าน และ ของประเทศ ร่วมสมัยไปกับประชาชน

เขากล่าวต่อว่า ส่วนตัวไม่ได้มีบุตรหรือผลกระทบกับตัวเองโดยตรง  มีผู้คนเอาเพลงอิ่มอุ่นไปร้อง แล้วก็บอกเล่าให้ฟัง ควรจะดีใจด้วยซ้ำ  ส่วนหน้าที่ที่ทำ ทำแบบนี้ถ้ามันสำเร็จก็ดีไป ถ้ามันไม่สำเร็จ ก็คงทำต่อไป ถึงแม้จะใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลง     เพราะนี่เป็นวิธีอธิบายเหตุผลที่ถูกต้องต่อสังคมที่จะต้องมีนโยบายต่อโรงเรียน โรงเรียนยังมีเรื่องอื่นต้องพูดอีกเยอะ  ส่วนตัวคิดว่าเรื่องนี้ง่าย และยังมีเรื่องเอาเด็กเก่งมาอวด มาติดป้ายหน้าโรงเรียน หรือมีการผลักดันเด็ก เรื่องนั้นคิดว่าเป็นเรื่องที่ละเอียด ต้องถกเถียงกันนาน แต่เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องเป็นสามัญสำนึก คิดว่าควรแนะนำผู้ปกครองดีและครูที่โรงเรียน มาพูดคุยกัน และรับฟังความคิดเห็นของลูกอาจจะดีกว่า

 “ต้องไม่โกรธคนที่ค้าน ไม่โกรธรัฐมนตรี ไม่โกรธคนที่เห็นต่าง แต่จะต้องหาวิธีอธิบายให้ชัดเจนกว่านี้ ถ้าใครมีวิธีอธิบายได้ดีกว่า ก็ช่วยกันและหวังว่าผู้มีอำนาจ แต่อาจจะไม่ใช่ปีนี้ อาจจะไม่ใช่รัฐมนตรีชุดนี้ แต่ก็ต้องปลูกฝังแล้วก็เสนอแนะความคิดนี้เพาะพันธุ์ต่อไป” ศุ บุญเลี้ยง กล่าว

ด้าน  คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในฐานะที่เป็นทั้งแม่เป็นทั้งลูกมาก่อน มีความรู้สึกว่าการที่มีประเพณีวัฒนธรรมให้ลูกได้แสดงออกในวันสำคัญเป็นสิ่งที่ดีเป็นประเพณีที่ดี แต่ความเหมาะสมที่ใครจะจัดหรือไม่อย่างไรก็อยู่ที่ดุลพินิจของสถานที่ของโรงเรียน การจัดไม่ได้ทำร้ายจิตใจของผู้ที่ไม่มีแม่มาในงาน เพราะว่าเด็กทุกคนจะต้องมีผู้ปกครองมีปู่ย่าตายายเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็ก ผู้มีพระคุณเหล่านั้นเรากราบเขาในฐานะเสมือนแม่บังเกิดเกล้าได้หรือไม่

คุณหญิงกัลยากล่าวต่อว่า จำนวนคนที่ไม่มีแม่อาจจะมีจำนวนไม่มากเท่าไหร่  ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม  สาเหตุที่แม่ไม่สามารถมาเข้าร่วมพิธีได้นั้น อาจจะเป็นเพราะแม่ป่วย หรือแม่ไปทำธุระที่อื่น สาเหตุดังกล่าวก็มีจำนวนไม่มาก โดยเด็กที่แม่ไม่สามารถมาร่วมพิธีได้ก็กราบบุคคลที่เลี้ยงมาตั้งแต่เกิดไม่ว่าจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เหมือนกัน  โดยไม่อยากให้ไปทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย

ขณะที่ด้าน นาย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้แสดงความเห็นกับเรื่องดังกล่าวว่า  ควรให้จัดพิธีวันแม่แห่งชาติต่อไป  เพราะว่าพิธีไหว้แม่นี้มีเป็นเวลายาวนาน แล้วปัจจุบัน ถ้าคุณแม่ไม่ว่างก็เอาคุณพ่อไปแทนได้ ถ้าคุณพ่อไม่ว่างคุณแม่ไม่ว่างก็เอาคุณปู่ คุณย่าไปแทน ก็เป็นเด็กส่วนน้อย ที่ไม่มีผู้ปกครองดูแล หรือในกรณีเด็กที่ถูกทิ้งไว้ที่สถานเด็กกำพร้าก็จะมีครูพี่เลี้ยง ทำหน้าที่เป็นแม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้ว วัฒนธรรมแบบนี้เป็นวัฒนธรรมที่ดีกับคนไทย เพราะว่าเรามี ปู่ ย่า ตา ยาย คุณพ่อ คุณแม่ แล้วก็มีสถาบันอันเป็นที่รักมายาวนานกว่า 770 ปี วัฒนธรรมนี้เป็นวัฒนธรรมที่ต้องควรสืบสานต่อไปเรื่อยๆ

อาจจะดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันออกไป เพราะว่าความรักระหว่างบุตรที่มีต่อมารดาก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน การแสดงออกโดยการกราบเท้า กราบตัก หรือ หอมแก้ม ก็แล้วแต่ หรือแต่งกลอน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจกับน้องๆก่อน เด็กอนุบาลอาจจะไม่ค่อยเข้าใจ แต่ต้องค่อยๆอธิบายให้ฟังว่า คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะไม่ว่างหรืออาจะติดธุระ ต้องมีเหตุผลให้เข้าใจ เพราะว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องทำความเข้าใจกัน  อีกอย่างส่วนตัวคิดว่า พิธีนี้เป็นวัฒนธรรมที่ดี เพราะวันพ่อก็ไม่ได้ไปทุกครั้ง บางทีติดงาน การอธิบายก็จะช่วยให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น

“หากไม่ต้องจัดพิธีไหว้ วันแม่ หรือ วันพ่อ อีกหน่อยก็ไม่ต้องจัดไหว้วันครู อาจจะไปกันใหญ่ เดี๋ยวอีกหน่อยก็บอกวันพระต้องไปทำบุญที่วัด ไม่จำเป็นแล้ว  ครูที่สอนมาตลอดแล้วเผอิญเขาไปสอนที่อื่น แล้วครูคนนี้ไม่ว่าง มันจะบานปลายแล้วจะมีอีกหลายเรื่องเข้ามา ต้องมองหลายมิติ” นาย มงคลกิตติ์ กล่าว

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ