“วงจรขยะพลาสติก”จากบนฝั่งลงทะเล สู่ร่าง "มาเรียม"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า “ขยะพลาสติก” ที่ติดอยู่ใน “หญ้าทะเล” แหล่งอาหารของพะยูน เป็นหนึ่งในสาเหตุการตายของ พะยูน มาเรียม เพราะมีเศษพลาสติก 8 ชิ้น อยู่ที่ลำไส้ เมื่อทีมแพทย์เข้าไปสำรวจก็พบด้วยว่า แหล่งหญ้าทะเลที่เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ดูแลมาเรียม ยังมีพลาสติกติดอยู่จำนวนมาก ขยะพลาสติกที่คร่าชีวิตสัตว์ทะเลเหล่านี้ไปอยู่ในแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลได้อย่างไร ติดตามกับทีมข่าว PPTV ในช่วง “หมดเวลา ขยะพลาสติก”

นี่เป็นภาพจากนางสาวณัฐนิช พานิชภักดิ์ อาสาสมัครที่เข้าไปเก็บหญ้าทะเลในแหล่งหากินเดิมของมาเรียม ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครพบขยะเหล่านี้ปะปนอยู่ในกอหญ้าทะเลจำนวนมาก ขณะกำลังเดินเก็บหญ้าไปให้ “ญามีล” พะยูนเพศผู้วัยเด็กที่ยังอนุบาลอยู่ในศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต

สัตวแพทย์หญิงนันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่ามาเรียม น่าจะกินขยะพลาสติกจากบริเวณนี้ไปประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนตาย

ช่วงเวลานั้นทีมสัตวแพทย์ ไม่สามารถระบุสาเหตุการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ว่า เกิดจากขยะพลาสติก ซึ่งสัตวแพทย์หญิงนันทริกา ระบุว่า ไม่สามารถนำมาเรียมมาเข้าเครื่องสแกน หรือเครื่องเอ็กซเรย์ได้ เพราะการเอ็กซเรย์สัตว์ต้องวางยาสลบ แต่มาเรียมร่างกายอ่อนแอเกินไป หากวางยาสลบอาจทำให้ตายได้ อีกหนึ่งอุปสรรคคือพลาสติกเป็นวัตถุโปร่งแสง การสแกนภายในจะพบได้ยาก จึงต้องใช้สารทึบแสงฉีดเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งตำแหน่งที่พบขญะพลาสติกในตัวมมาเรียม อยู่ตรงปลายลำไส้ หากฉีดสารทึบแสงไปจะไปติดอยู่ในกระเพาะอาหาร ไม่ถึงตำแหน่งปลายลำไส้

จากการพบพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไปติดอยู่กับหญ้าทะเล ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จำแนกขนาดพลาสติกหลังจากการย่อยสลายให้ดู

พลาสติกที่พบในท้องของมาเรียม เรียกว่า แม็กโครพาสติก (macro) มีขนาดใหญ่กว่า 1 นิ้วขึ้นไป เช่น ถุงหูหิ้ว ตะกร้า พลาสติกที่เราใช้ทั่วไป หลังจากพลาสติกเหล่านี้ ไหลลงสู่ทะเลตามแม่น้ำลำคลอง เมื่ออยู่ในน้ำทะเล โดนแสงแดดที่เป็นตัวช่วยย่อยสลายได้เร็ว ก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  ซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก ที่มีทั้งย่อยเร็วและย่อยช้า

ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่พลาสติกลอยอยู่ในทะเล จะมีแพลงก์ตอน พืช และสารอินทรีย์ ไปเกาะที่พลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเพิ่ม และอาจทำให้มีกลิ่นคล้ายพืชทะเล ก่อนจะค่อยๆจมลงในน้ำทะเล และไปติดอยู่ตามบริเวณต่างๆ รวมถึงมีโอกาสไปอยู่จุดหญ้าทะเลที่มาเรียมกินเข้าไปด้วย นั่นคือเหตุผลที่สัตว์ทะเลขนาดใหญ่กินพลาสติกเข้าไป จนไปอุดตันทางเดินอาหารถึงขั้นตาย

จานทดลอง 8 จานนี้ ถูกอธิบายโดย ผศ.เพ็ญใจ ว่า สิ่งที่อยู่ในนั้นคือ "ไมโครพลาสติก" (micro) ซึ่งถูกเก็บตัวอย่างมาจากหลายจุดของแม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี รวมทั้งจุดปากแม่น้ำที่จะไหลออกสู่ทะเล

“ไมโครพลาสติก” แปลงรูปมาจาก “แมกโครพลาสติก” ที่ผ่านการย่อยสลายในระยะเวลานาน จนมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรืออาจถึงขั้นมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์มาส่อง จากงานวิจัยเก็บตัวอย่างในแม่น้ำและทะเล รวมทั้งการเก็บตัวอย่างในตัวปลาและหอย พบไมโครพลาสติกอยู่ทุกที่ จนทำให้สัตว์กินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หรือแม้กระทั่งมนุษย์ก็มีโอกาสได้รับไมโครพลาสติกด้วย แต่ยังไม่มีผลวิจัยออกมาว่า เมื่อ “มโครพลาสติก” เข้าไปอยู่ในร่างกายมนุษย์จะมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวกดล้อมที่ระบุว่า ขยะในทะเล ส่วนใหญ่เป็น พลาสติก และ 80% มีที่มาจากบนฝั่ง ทำให้เห็นว่า การใช้พลาสติกอย่างมากมายของมนุษย์ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลและสัคตว์ทะเล ล่าสุดมีนวัตกรรมขวดบรรจุน้ำ Choose Water จากสกอตแลนด์ เป็นขวดน้ำที่ไม่มีส่วนผสมของพลาสติกอยู่เลย ผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษ ไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิต สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน ต่าจากพลาสติกที่ต้องใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี

คอนเทนต์แนะนำ
เครือข่ายฯคนรักเลกระบี่ ชี้ “มาเรียม” ตาย หวัง คนรักทะเลมากขึ้น

โครงขวดด้านนอก  - ทำจากหนังสือพิมพ์รีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ แยกหมึกออก ทำให้สะอาด ย้อมสี และนำมาขึ้นรูปเป็นขวด ผ่านการรับรองการย่อยสลายตามมาตรฐานของอียูฉลาก – ทำจากกระดาษรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพวัสดุบุด้านใน – ทำจากวัสดุจากพืชที่ปลูกอย่างยั่งยืนและย่อยสลายได้ทั้งหมด

คอนเทนต์แนะนำ
"โตโน่ - เต้ย" อาลัย “มาเรียม” วอนคนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ขวดน้ำ Choose Water เป็นผลงานคิดค้นของ “เจมส์ ลองครอฟต์” นักประดิษฐ์และนักศึกษาเคมีจบใหม่ วัย 27 ปี โดยหลังจากเรียนจบ เขาก็เริ่มกิจการของตัวเองทันที และระดมทุนด้วยวิธี crowdfunding จากผู้คนทั่วไป คนละเล็กน้อย จนได้เงินมาเกือบ 5 หมื่นปอนด์ (เกือบ 2 ล้านบาท)

คอนเทนต์แนะนำ
ส่ง "มาเรียม" ขึ้นเครื่องบินกองทัพเรือ เตรียมสตัฟฟ์ไว้ในพิพิธภัณฑ์

ลองครอฟต์ ใช้เงินจำนวนนี้ผลิตขวดต้นแบบและเปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พร้อมกับแจกจ่ายขวดจำนวนหนึ่งผ่านเว็บไซต์เพื่อนำฟีดแบ็กที่ได้รับไปแก้ไขปรับปรุง โดยหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนดังกล่าว เขาตั้งเป้าว่าจะผลิตขวด Choose Water ให้ได้หลายล้านขวดภายในสิ้นปีนี้

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ