เผยสถิติรวมควันฆ่าตัวตาย 7 เดือนกว่า 20 ราย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เหตุชายอายุ 42 ปีฆ่าตัวตายในรถยนต์ที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อวานนี้ ทำให้ทีมข่าวพีพีทีวีตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์การฆ่าตัวตายในสังคมไทยที่เริ่มส่งสัญญาณว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

โดยเมื่อตรวจสอบข่าวย้อนหลังกลับไปตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม พบข่าวการฆ่าตัวตายลักษณะเดียวกันนี้มากกว่า 20 ข่าว โดยแต่ละเหตุที่เกิดขึ้นใช้วิธีการเดียวกัน ส่วนสถานที่ก่อเหตุจะเกิดขึ้นในรถยนต์หรือห้องพักส่วนตัว แม้ว่านี่จะเป็นเพียงการสำรวจข้อมูลปฐมภูมิแต่ก็พอจะชี้ให้เห็นได้ว่าในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมามีข่าวการฆ่าตัวตายแบบนี้ถึง 20 ข่าว เฉลี่ยเดือนละเกือบ 3 ข่าว

แพทย์จิตเวช ชี้ นำเสนอวิธี “ฆ่าตัวตาย”เสี่ยงต่อการลอกเลียนแบบ

ผู้จัดการโชว์รูมรถหรู เครียดจัด รมควันฆ่าตัวตาย

นายแพทย์ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ เปิดเผยว่า คนไทยฆ่าตัวตาย 4,000 คนต่อปี เฉลี่ยต่อวันคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 10 คนต่อวัน การฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เริ่มพบเห็นเมื่อ 3 ปีที่แล้วถึงปัจจุบัน มีความเสี่ยงอย่างมากจากสื่อโซเชียลที่เผยแพร่วิธีการฆ่าตัวตายในลักษณะนี้ และยังเผยแพร่ภาพอุปกรณ์ที่ใช้ฆ่าตัวตาย ซึ่งเสี่ยงต่อการลอกเลียนแบบการฆ่าตัวตายหรือที่เรียกว่า Copycat suicide ซึ่งจะเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตายในประชากร

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ยกตัวอย่างกรณีดาราเกาหลีรายหนึ่ง ซึ่งฆ่าตัวตายด้วยวิธีการนี้แต่สื่อหลักนำเสนอเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 4 เปอร์เซ็นต์ เป็นการให้ความรู้วิธีการช่วยเหลือคนคิดฆ่าตัวตายอย่างไร

นักท่องเที่ยวไต้หวันจุดเตาถ่านรมควันฆ่าตัวตาย

สลด! เน็ตไอดอลสาวรมควันฆ่าตัวตัวตายในรถ

 

สำหรับปัจจัยภาพรวมที่ทำให้คนฆ่าตัวตายมาจาก 3 ปัจจัยหลัก เช่น ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีปัญหา ผู้ที่คิดฆ่าตัวตายเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคเรื้อรังรักษาให้หายขาดยาก บวกกับปัจจัยภาวะทางเศรษฐกิจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งพบว่าทำให้คนฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยงปัญหาให้คนคิดฆ่าตัวตาย แต่ปัจจัยหลักพบมากที่สุดคือความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวซึ่งจากงานวิจัยของนักวิชาการที่พบมากคือ ปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ