“วิษณุ” เผยอาจประชุมลับอภิปรายนายกฯ ปมถวายสัตย์ฯ เหตุเกี่ยวข้องสถาบันฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติปม ‘พล.อ.ประยุทธ์’ นำคณะรัฐมนตรีกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่้ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ ต้นเดือนกันยายนนี้ มีแนวโน้มจะเป็นการประชุมลับ โดยรองนายกรัฐมนตรี เผยเพราะเนื้อหาบางส่วนอาจไม่เหมาะสมที่จะมีการเปิดเผย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อวันที่ (30 ส.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การใช้สิทธิขอประชุมลับ แม้ว่าจะทำได้ทันทีตั้งแต่เริ่มประชุม แต่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เชื่อว่า หากไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติ ก็ไม่จำเป็นต้องประชุมลับ พร้อมยังไม่ขอให้ความคิดเห็นกรอบเวลาการอภิปราย เพราะเป็นเรื่องที่สภาผู้แทนราษฎรจะตกลงกันว่าจะเลือกวันที่ 6 กันยายน ตามที่ฝ่ายค้านเสนอหรือไม่ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีปัญหาเรื่องเวลา

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความปม กล่าวหานายกฯถวายสัตย์ไม่ครบ

ฝ่ายค้าน เดินหน้า อภิปรายปมถวายสัตย์ฯไม่ครบถ้วน

ด้าน นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ย้ำว่า การประชุมลับจะทำได้ต่อเมื่อเป็นเรื่องอ่อนไหว หรือเกี่ยวข้องกับความมั่นคง และญัตติที่ยื่นเปิดอภิปรายทั่วไป ก็เป็นเพียงเป็นการตั้งคำถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวคำถวายสัตย์ครบถ้วนหรือไม่ และเสนอให้แก้ไขให้ถูกต้องเท่านั้น หากจะประชุมลับก็ต้องรอฟังเหตุผลในที่ประชุม

โดย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย มองว่า รัฐบาลไม่ควรร้องขอให้ประชุมลับ เพราะญัตติด่วนที่ยื่นต่อสภาฯ ไม่น่าจะมีข้อมูลใดที่รัฐบาลจะเปิดเผยต่อสาธารณชนไม่ได้ และอยากให้รัฐบาลใช้เวทีของสภาฯ มาชี้แจงเหตุผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนมากกว่า

ขณะที่ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ระบุว่า เป็นสิทธิและไม่ขัดข้อง แต่มีเงื่อนไขว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องตอบคำถามทั้งหมดด้วยตัวเอง

การใช้ช่องทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ นำกล่าวคำถวายสัตย์ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง หลังจากที่ได้ยื่นอัยการไปแล้วกว่า 15 วัน แต่ก็ไม่มีคำสั่งส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ  ยืนยันว่าคำร้องที่นำมายื่นสอดคล้องกับความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้

ส่วนกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป จะใช้สิทธิที่ได้รับความคุ้มครองความเป็น ส.ส. ไปสมัครเข้าพรรคพลังประชารัฐ หลังแจ้งยกเลิกกิจการพรรคการเมือง นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง บอกยังไม่ขอให้ความคิดเห็นว่าทำได้ หรือไม่ได้ เพราะ กกต.ยังไม่ได้พิจารณาข้อกฎหมาย ส่วนข้อสังเกตว่า นายไพบูลย์ จะไปเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อในลำดับใดของพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงจะต้องคำนวณคะแนนและสัดส่วน ส.ส.พึงมีใหม่หรือไม่ จะต้องรอสำนักงาน กกต. นำเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมอีกครั้ง

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ