ชาวบ้านร้อยเอ็ด ถูกน้ำพัดดับ 1 - อุตุฯ คาดอีก 2 วัน ฝนลด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีผู้เสียชีวิตอีก1 คน ที่ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด หลังถูกกระแสน้ำพัดพาไปติดต้นยูคาลิปตัส ขณะที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ พายุ “คาจิกิ”ตกทั่วฟ้า ตั้งแต่เช้ามืด ทำให้ผู้ว่าฯ ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติ พร้อมแจ้งเตือน 5 อำเภอให้เฝ้าระวัง เส้นทางอุบลฯ-ยโสธร ถูกตัดขาดแล้ว ขณะที่กรมอุตุฯ คาดอีก 2 วันฝนจะลดลง

เมื่อวันที่ (25 ส.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. มีผู้พบศพนายภิญญา สุวรรณภิญญา อายุ 65 ปี ชาวบ้าน ตำบลแซงแซง อำเภอเสลภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด หลังถูกกระแสน้ำพัดร่างติดอยู่กับต้นยูคาลิปตัส เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เสลภูมิและหน่วยกู้ภัย หลังผู้ตายอกจากบ้าน เพื่อนำอาหารไปให้สุนัขที่ทุ่งนาตั้งแต่เช้าตรู่วานนี้ นับเป็นรายที่ 2 ของ จังหวัดร้อยเอ็ด ในช่วงเกิดอุทกภัย

มิติใหม่ รายงานพายุ เมื่ออธิบดีกรมอุตุฯ ลืมปิดเอฟเฟกต์

“จิตแพทย์” แนะ 6 วิธี 3 ห้าม รับมือน้ำท่วม

“คาจิกิ” ถล่มกาฬสินธุ์แต่เช้ามืด ผู้ว่าฯประกาศเป็นเขตภัยพิบัติแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ พายุโซนร้อน “คาจิกิ” ทำให้ฝนตกทั่วทุกพื้นที่ ตั้งแต่ช่วงเช้ามืดประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกต่อเนื่องจากพายุโพดุล ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้น้ำท่วมขังหลายพื้นที่ เป็นบริเวณกว้าง

ล่าสุดน้ำในลำน้ำปาวและลำน้ำพาน เพิ่มสูงขึ้น ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน 340 ครัวเรือน ใน ตำบลหลุบ อำเภอเมือง และบ้านวังเกาะเหล็ก  ตำบลลำพาน อำเภอเมือง มากกว่า 100 ครัวเรือน ส่วนสถานการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยสีทน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ บ้านเรือน 21 ชุมชน กว่า 1,500 ครัวเรือน ถูกน้ำท่วมขัง

ขณะที่นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัยแล้วทั้ง 18 อำเภอ พร้อมระดมกำลังป้องกันน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ ในตัวเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และ อำเภอฆ้องชัย 

อีสานยังไม่พ้นวิกฤตแล้ง หลังฝนตก-น้ำท่วมใต้อ่างเก็บน้ำ

 

น้ำตัดขาดเส้นทาง “อุบลฯ-ยโสธร” ท่วมสูง 2 เมตร

ด้านที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ยังมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวานนี้ ทำให้ต้องปิดการจราจรบนถนนแจ้งสนิท เส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดยโสธรกับจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้หากจะสัญจรข้ามจังหวัดต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นใกล้เคียง

นายปรีชา ทองศรี กำนันตำบลบ้านกอก แจ้งว่า ระดับน้ำบนผิวถนนเพิ่มสูงขึ้นอน่างต่อเนื่องเฉลี่ยชั่วโมงละ 10-20 เซนติเมตร ในจุดที่เป็นพื้นที่ต่ำบนถนนระดัน้ำสูงถึง 2 เมตรในพื้นที่ เริ่มอพยพชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำออกมาอยู่ที่บ้านญาติและขอความร่วมมือหน่วยแพทย์มาประจำอท่โรงเรียนบ้านกอก เพื่อเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายกว่า 1,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ที่แม้ก่อนหน้านี้จะเผชิญวิกฤตภัยแล้งแต่ชาวบ้าน ก็หว่านข้าว เพราะหวังว่าฝนจะตกจนทำให้ได้ผลผลิตบ้าง แต่ขณะนี้นาทั้งหมดถูกน้ำท่วมทั้งหมดแล้ว

สำหรับน้ำที่เอ่อท่วมพื้นที่นี้ คือ น้ำจากคลองเซบายที่รับน้ำต่อจากจังหวัดอำนาจเจริญ ขณะที่ภาพรวมของจังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าเป็นจุดรับน้ำหลักสุดท้ายที่จะรับน้ำทั้งหมดจากทั้งล้ำน้ำชี น้ำล้ำมูล ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ในจังหวัดก็เผชิญกับพายุคาจิกิด้วย

นอกจากนี้ กำนันตำบลบ้านกอก ระบุว่า ที่บ้านกอก เคยมีน้ำท่วมใหญ่ปี2521 แต่ก็ไม่หนักเท่าน้ำที่ท่วมอยู่ขณะนี้

 

จับตา “สุโขทัย” น้ำยมปริ่มพนังกั้นน้ำ จ่อทะลักเข้าตัวเมือง

ที่ จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เพราะระดับน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตัวเมืองมีระดับสูงกว่าพื้นดินไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ตำรวจที่ยืนอยู่ชูแขนสุดแล้ว ระดับน้ำยังสูงกว่ามาก ทำให้กำแพงกั้นน้ำที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ไม่พอกันน้ำ จังหวัดจึงใช้วิธีนำผ้าใบหรือแผ่นพลาสติกมากั้นให้สูงขึ้น  แต่หลายจุดผ้าใบก็มีรอยรั่ว ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าไปในพื้นที่ที่ ตำรวจ สภ.เมืองสุโขทัย จึงต้องเร่งนำกระสอบทรายมาอุดรอยรั่วอีกชั้นหนึ่ง

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า ปริมาณน้ำที่เห็น ยังเป็นไปตามแผน คือตัดยอดน้ำให้ไหลผ่านตัวเมืองแค่ไม่เกิน 550 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากเกินกว่านั้นตัวเมืองสุโขทัยจะได้รับผลกระทบ

 

กรมอุตุฯ คาดอีก 2 วัน ฝนลดลง ขณะที่อ่างบางแห่งต้องการน้ำเพิ่ม

นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงทิศทางอิทธิพลของพายุโซนร้อนคาจิกิ พบว่า พายุมีจุดศูนย์กลางยู่บริเวณลาวตอนล่าง อิทธิของพายุบางส่วนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ดังกล่าว แต่หลังวันที่ 4 กันยายน พายุจะเคลื่อนตัวออกไป โดยไม่ผ่านไทย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลง

ทั้งนี้แม้พายุโซนร้อนคาจิกิ จะมีกำลังแรงน้อยกว่าพายุโพดุล ที่เคลื่อนตัวออกไปแล้ว แต่ฝนที่ตกต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำ​ที่ท่วมขังเดิมมีปริมาณ​เพิ่มขึ้น และทำให้การระบายน้ำช้าลงกว่าเดิม และแม้บางพื้นที่ในอีสานตอนล่าง จะมีน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำจนเต็มความจุ แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ยังต้องการน้ำเพิ่ม เนื่องจากฝนตกท้ายเขื่อน

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ