กฟน. - PEA ลงพื้นที่อุบลฯ เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้ผู้ประสบอุทกภัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA กองทัพอากาศ โดยกองบิน 21 และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมจัดกิจกรรม MEA Volunteer ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 5 - 8 ตุลาคม 2562 ณ บ้านหาดคูเดื่อ ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

กฟน. ร่วมโชว์นวัตกรรมไฟฟ้าสุดล้ำในงาน ITE 2019

นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. กล่าวว่า กฟน. ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้ร่วมกับ PEA ซึ่งรับผิดชอบดูแลระบบไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทย รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ ในการนำเครื่องบิน C-130 สำหรับลำเลียงสิ่งของและอุปกรณ์บรรเทาทุกข์ รวมถึงคณะอาสาสมัครการไฟฟ้านครหลวง เดินทางไปยังกองบิน 21จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกันนี้กองบิน 21 ได้จัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อลงพื้นที่ช่วยเหลือฟื้นฟูและให้บริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ บ้านหาดคูเดื่อ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา มีจำนวนประชาชนราว 250 ครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันระดับน้ำเข้าสู่สภาวะปกติ และมีประชาชนกลับเข้าสู่ชุมชน แต่พบว่ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านที่ชำรุดเสียหาย การลงพื้นที่ในครั้งนี้ กฟน. จึงเร่งให้ความช่วยเหลือในด้านการเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ และไฟส่องสว่าง ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว และผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้านอีกด้วย

สำหรับข้อแนะนำสำหรับประชาชนในการปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากระบบไฟฟ้าหลังน้ำลดนั้น ควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าภายในบ้านว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่ แต่ทั้งนี้จะต้องสวมถุงมือและรองเท้ายาง เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว ปิดระบบไฟฟ้าด้วยการปลดคัตเอาท์หรืออุปกรณ์ป้องกันภายในบ้าน แล้วจึงตรวจสอบสวิตช์หรือปลั๊กไฟที่ถูกน้ำท่วม ทำความสะอาด ทิ้งไว้ให้แห้งหรือทำให้แห้ง ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม ห้ามใช้งานทันที ควรเรียกช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความชำนาญช่วยตรวจสอบ หลังจากนั้นเมื่อมั่นใจว่ามีความปลอดภัยแล้วจึงยกคัตเอาท์เพื่อใช้ไฟฟ้า แต่หากยังมีความชื้น เปียกที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือฟิวส์ขาด ให้ปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน ให้ความชื้นระเหยออก และหากยังพบว่ามีการชำรุดให้ช่างไฟฟ้าดำเนินการแก้ไข ทั้งนี้ให้คำนึงเสมอว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมไม่มีความปลอดภัยทั้งสิ้นและหากพื้นที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้ายังไม่แห้งสนิท มีความเปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง ห้ามยืนแช่น้ำในขณะติดตั้งอุปกรณ์หรือตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

กฟน.จัดแข่งทักษะช่างไฟฟ้า ยกระดับคุณภาพงานบริการ

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ