เปิดปฎิบัติการ กู้ซากช้าง ตกน้ำตกเหวนรก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สภาพพื้นที่ในน้ำตกเหวนรก เป็นอุปสรรคสำคัญของการเก็บกู้ซากช้าง เนื่องจากเป็นป่าสมบูรณ์สลับกับหน้าผาสูงชัน จนเจ้าหน้าที่ตัดสินใจใช้วิธีร่องเรือจากเขื่อนขุนด่านปราการชลย้อนกลับขึ้นไปที่น้ำตกเหวนรก แต่ก็พบว่าเข้าไปได้เพียงปลายทางของลำน้ำเท่านั้น

สลด!! ช้างป่า พลัดตกเหวนรก ตาย 6 ตัว เร่งช่วยอีก 2 ตัวที่เหลือ

นักอนุรักษ์ คาดฝูงช้างถูกน้ำพัดแรงจนตกเหวนรก ซ้ำรอยปี’35

น้ำตกเหวนรก ตามข้อมูลของสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ระบุว่า เป็นน้ำตกที่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นชั้นบนสุด สูงประมาณ 60 เมตร จุดนี้ คือ จุดที่ช้างทั้ง 8 ตัว ตกลงไป แต่มีช้าง 2 ตัวรอดชีวิต  เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้ จะเข้าสู่น้ำตกชั้นที่ 2 ซึ่งมีหน้าผาคล้ายกัน รวมถึง ชั้นที่ 3 ก็จะมีหน้าผาเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรวมของน้ำตกเหวนรกจะมีหน้าผาสูงชันสลับพื้นที่ราบที่มีหินขนาดใหญ่เรียงอยู่ในลำน้ำ โดยหลายจุดน้ำตกมีทิศทางการไหลทำมุม 90 องศา ส่วนความสูงของน้ำตกอยู่ที่ประมาณ 150 เมตร  เมื่อถัดจากน้ำตกลงไปจะเป็นคลองต้นไทร ซึ่งเป็นคลองเชื่อมต่อไปที่เขื่อนขุนด่านปราการชล

เมื่อประกอบกับ สภาพพื้นที่ 2 ข้างทางที่เป็นป่าสลับกับหน้าผาสูงทำให้การสำรวจทำได้ยากลำบาก รวมถึงการเข้าไปเก็บกู้ซากช้างก็ทำได้ยาก

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงเลือกใช้การเข้าพื้นที่ทางเขื่อนขุนด่านปราการชลแทน เริ่มจากลงเรือที่สันเขื่อนเพื่อย้อนกลับเข้าไปที่คลองต้นไทร 8 กิโลเมตร จากนั้น ต้องเดินเท้าในเส้นทางที่เป็นป่าริมน้ำ ประมาณ 200 เมตร จึงจะถึงจุดที่เจ้าหน้าที่อุทยานจะขึงตาข่ายเพื่อเก็บกู้ซากช้าง

โดยตั้งแต่จุดนี้ขึ้นไปทางน้ำตกเหวนรก ในลำน้ำจะมีโขดหินตลอดลำน้ำ และถัดจากจุดนี้ขึ้นไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร ในเส้นทางคดเคี้ยวจะเป็นน้ำตกเหวนรกชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นจุดที่ซากช้างทั้ง 6 ตัว กระจายอยู่สำหรับวิธีเก็บกู้ซากช้าง เจ้าหน้าที่จะใช้ตาข่ายหรืออวนผูกกับต้นไม้ใหญ่ โดยลำน้ำบริเวณนี้มีความกว้าง 35 เมตร จากนั้นเมื่อซากช้างถูกพัดลงมาถึง เจ้าหน้าที่จะคล้องเชือกเพื่อลากเข้าฝั่งเพื่อนำไปชำแหละเป็นท่อนๆ หรือหากช้างตัวใดมีงาก็จะถอดงาเพื่อนำไปเก็บไว้ จากนั้นจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมฝั่งกลบ  วิธีนี้แตกต่างจากปี 2535 เพราะ ขณะนั้นจะใช้วิธีการสลายตามธรรมชาติ คือ หลังชำแหละจะผูกไว้ให้น้ำซัดซากย่อยสลายไปตามธรรมชาติเอง ส่วนสาเหตุที่ต้องชำแหละช้าง เนื่องจาก เจ้าหน้าที่อุทยานฯยืนยันว่าเป็นวิธีการตามปกติ เนื่องจาก ช้างเป็นสัตว์ใหญ่การจะเก็บกู้ซากช้างทั้งตัวทำได้ยากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่จำกัด

ส่วนพิกัดของซากช้างมีข้อมูลจากทีมบินโดรน ระบุว่า ซากช้างทั้ง 6 ตัว กระจายอยู่ในรัศมี 1 กิโลเมตร โดย 2 ตัวที่อยู่ไกลจากเขื่อนขุนด่านประการชลมากที่สุด น่าจะเป็นตัวที่เก็บกู้ยากที่สุด หากน้ำไม่พัดซากช้างมาที่จุดดักตาข่าย เนื่องจาก เป็นหน้าผาสูงชั้น 90 องศา รวมถึงตัวที่ 6 ถูกน้ำพัดซากช้างวนเป็นวงกลมอยู่ตลอดเวลา

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ