“บ้านไร่ยายลิ้ม” จ.เพชรบุรี พื้นที่กสิกรรมธรรมชาติแห่งศิลปะที่เกิดจากศาสตร์พระราชา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อาจารย์ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ เปิดมิติใหม่ของศิลปะที่ “บ้านไร่ยายลิ้ม” จ.เพชรบุรี จากความตั้งใจใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ สู่การออกแบบพื้นที่ ตามรอย “ศาสตร์พระราชา” ในรูปแบบของศาสตร์ ศิลป์ และสุนทรียะ

หลังจากเรียนจบปริญญาโทด้านการออกแบบอุตสาหกรรม จากเซ็นทรัล เซนต์ มาร์ตินส์ คอลเลจ ออฟ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์  กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาจารย์หนุ่มอนาคตไกล ในวงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ อาจารย์ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ (อ.ต่อ) ผันตัวเองจากการเป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม และรองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยวิชาชีพที่เรียนมาถูกปลูกฝังว่า “ทำอะไรต้องได้กำไรสูงสุด” และใช้หลักคิดนี้มาตลอดจนกระทั่งได้มาเจอกับ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล (อ.โก้) อาจารย์และอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากคำถามที่ว่า “คุณมีวิธีการทำงานอย่างไร” คำตอบที่ได้วันนั้นเปลี่ยนความคิด อ.ต่อ จนจำได้ไม่ลืม

"ลุงดาบ" ผู้สานต่อศาสตร์พระราชา มุ่งมั่นถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

“กูใช้ศาสตร์พระราชา” คือคำตอบของ อ.โก้

เดินหน้าชีวิตสโลว์ไลฟ์ ตามรอย “ศาสตร์พระราชา”

จากแผนชีวิตที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาตรี กับการใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ แบบเท่ๆ ชิลๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสเข้ามาซึมซับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา โดยมี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร     (อ.ยักษ์) นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มาเป็นที่ปรึกษาทำให้สัมผัสจากการปฏิบัติว่าเป็นสิ่งที่จับต้องได้จริง เกิดความยั่งยืนจริง จึงลดทอนอีโก้ในตัวว่าเราคือคนที่รู้ทุกอย่าง แล้วตัดสินใจลาออก ท่ามกลางความแปลกใจของคนรอบข้าง

เรื่องราวของ “สวนบุญทวี” จุดหักดิบจากสวนเคมีสู่พื้นที่เกษตรอินทรีย์ 40 ไร่แห่งจันทบุรี

ค้นพบ “ศาสตร์พระราชา”คือ ศาสตร์ ศิลป์ และสุนทรียะ

จากนั้น อ.ต่อ ตัดสินใจสร้างบ้านไร่ยายลิ้มขึ้นมาบนที่ดินของภรรยา ที่ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งตั้งใจใช้ชีวิตเรียบง่าย สงบสุข พร้อมนำศาสตร์พระราชาทั้งเรื่องดิน น้ำ ป่า คน มาประยุกต์ใช้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนที่สนใจ เพราะการตีความ “ศิลปะ” ของ อ.ต่อ ณ วันนี้คือการประนีประนอม และสิ่งที่พระราชาทำอยู่ทั้งหมดจริงๆ คือ “ศิลปะ” เป็นศิลปะที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น ซึ่งการทำ โคก หนอง นา ให้สอดคล้องตามหลักภูมิสังคมคือคำนึงถึงดิน น้ำ ลม ไฟ และคน  ที่ล้วนแต่เป็นธรรมชาติก็คือศิลปะ เป็นศิลปะก็สร้างสุนทรียะแห่งจิตใจและความสุขที่แท้จริง  กลายเป็น “ส่วนผสมทุกอย่างมันกลมกล่อม ชีวิตมันเลยอร่อย”

เปิดบทสัมภาษณ์เพื่อเรียนรู้ศาสตร์พระราชากับ “อาจารย์ยักษ์” ผู้อุทิศตนให้ผืนป่าเมืองไทย

“หัวหน้าฉิม” ผู้ยึดมั่นในศาสตร์พระราชาทำให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน

ขยายเครือข่ายให้กว้างเพื่อให้เกิด “มรรคผล” มากขึ้น

หลังจาก อ.ต่อ ประยุกต์พื้นที่บ้านไร่ยายลิ้มเป็นพื้นที่กสิกรรมธรรมชาติ ทั้งการปรับพื้นที่ขุดหนองและคลองไส้ไก่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำในพื้นที่ตัวเอง ปลูกพืชผสมผสานทั้งเพื่อการกิน การใช้สอย และเพื่อสุนทรียภาพแล้ว ต่อมาคือการถ่ายทอดให้กับคนอื่นเพื่อขยายเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีให้กว้างออกไป เช่น การจัดเวิร์คช้อปสำหรับทำงานไม้ที่ตนรัก สร้างพื้นที่นี้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบ และเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” อย่างสม่ำเสมอ ทั้งเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนศาสตร์การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรการท่องเที่ยว กับปราชญ์ชาวบ้าน เชื่อมต่อกันจนเกิดเป็น “ชุมชนกสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.)” ซึ่ง อ.ต่อ ทำหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานชุมชนกสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.) คลอบคลุมไปทั้งโซนภาคตะวันตก จากเดิมที่มีอยู่ 20 แปลง ภายในปีหน้า อ.ต่อ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 40 แปลง ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับรูปแบบการทำงานของจิตอาสาด้วยการขับเคลื่อนการทำงานแบบเป็นทีม

สูตรสำรับอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่นบน “ภูหลวง” ด้วยฝีมือระดับเชฟโจ้สร้างมูลค่าพืชผลเพื่อชาวบ้าน

"ศาสนา สอนผา" นำพาศาสตร์พระราชามาฟื้นผืนป่าบนภูหลวง

“ต่างคนต่างไปมันเหนื่อย แต่ถ้ารวมกันเป็นกลุ่มก้อนมันจะมีพลัง แล้วใช้การเอามื้อฝึกกองกำลัง” และ โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” คือสนามฝึกอย่างแท้จริงเพราะตลอดระยะเวลาที่ อ.ต่อ เข้าร่วมมาตั้งแต่ปีแรกๆ ทำให้เห็นเลยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือโมเดล จนเริ่มขยายผลและเกิดเป็นพลังที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งพลังคนเหล่านี้จะสร้างสรรค์โลกต่อไปได้จริงๆ

เปิด “บ้านฟากนา ฟาร์มสเตย์” ของอดีตเซลล์หันหลังให้ชีวิตกรุงเทพฯสู่กสิกรรมธรรมชาติบนความพอเพียง

ในความตั้งใจของ อ.ต่อ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะด้วยความรู้ที่ร่ำเรียนมาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มีวิธีคิดแบบทุนนิยม อ.ต่อ ตั้งใจเขียนตำราการออกแบบด้วยศาสตร์พระราชา ตามคำสอนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 “ Our loss is our gain” เพราะการให้ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่ต้องทำเพื่อสังคม เมื่อผสมรวมกับงานออกแบบ งานสร้างสรรค์ ก็จะเกิดเป็นมิติใหม่ของงานออกแบบ เกิดมุมมองใหม่ที่ทำให้สังคมดีขึ้นอีกเยอะ

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ