อึ้ง! กรมวิทย์ฯตรวจพบ ‘3 สารเคมีเกษตร’ ตกค้างน้ำในนาข้าว – ผักผลไม้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสารคลอร์ไพรีฟอส-พาราควอต ปนเปื้อนผักผลไม้ ส่วนไกลโฟเซตพบน้ำในนาข้าวราชบุรี ด้าน อย.ตั้งด่านอาหารและยา 52 แห่งทั่วไทยคอยตรวจผักผลไม้สารเคมีตกค้าง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กล่าวว่า   กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ได้ตรวจเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำทุกปี ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ประเภทสารกำจัดแมลง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผักผลไม้ ผักพื้นบ้าน จาก 5 ภูมิภาค 10 จังหวัด และผลการตรวจวิเคราะห์อ้างอิงเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้างและมาตรฐานสากล (CODEX) ผลการตรวจวิเคราะห์ในสารเคมี 3 ชนิด คือ สารไกลโฟเซต สารคลอร์ไพรีฟอส และสารพาราควอต

เกษตรกรร้องผักผลไม้ราคาดิ่ง หลัง Thai-PAN บอกมี "พาราควอต" ตกค้าง

ผลการตรวจสอบ พบว่า สารคลอร์ไพรีฟอส  มีการตรวจในผักผลไม้ 240 ตัวอย่าง เก็บจากตลาดสด 10 ตลาดจากจังหวัดราชบุรี  ปทุมธานี ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา ตรัง เชียงใหม่ พิษณุโลก ผลการตรวจผัก 160 ตัวอย่าง  ตรวจพบสารตกค้างร้อยละ 16.9  เกินมาตรฐานร้อยละ 13.8 ชนิดผักที่เกินมาตรฐาน ได้แก่ ใบบัวบก ผักชี/ผักชีฝรั่ง ถัวฝักยาว มะเขือยาว/มะเขือเปราะ สะระแหน่ ผักแพรวและคะน้า ส่วนผลไม้ 80 ตัวอย่าง  พบการตกค้างร้อยละ 6.2  สารไกลโฟเสต

จากมีกระแสข่าวการใช้สารไกลโฟเซตในนาข้าว ซึ่งอาจพบการตกค้าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้สุ่มตัวอย่างน้ำจากแหล่งเพาะปลูกนาข้าว สวนผัก จำนวน 10  ตัวอย่าง ตรวจพบ 1 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นน้ำจากนาข้าว ปริมาณที่พบ 2.8 ไมโครกรัมต่อลิตรที่จังหวัดราชบุรี  และสารพาราควอต เก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดจาก 8 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี  ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา ตรัง เชียงใหม่ พิษณุโลก ผลการตรวจผัก 128 ตัวอย่าง  ตรวจพบร้อยละ 26.6  เกินมาตรฐานร้อยละ 6.3 ชนิดผักที่เกินมาตรฐาน ได้แก่ คะน้า กะหล่ำ ผักหวาน ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ส่วนผลไม้สด 40 ตัวอย่าง  พบการตกค้างร้อยละ 12.5 เกินมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 5 ผลไม้ที่ตรวจพบได้แก่ ส้ม

 “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ เครือข่ายหลายแห่งเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหาร  และ Thai-PAN ได้ประสานงานกันในเรื่องเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้สดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมากรมและ Thai-PAN มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการที่ Thai-PAN ส่งตัวอย่างตรวจเป็นห้องปฏิบัติการที่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ ชื่อบริษัท Concept Life Sciences ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก United Kingdom Accreditation Service : UKAS เป็นหน่วยรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการของสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากหน่วยรับรองระดับสากลระหว่างประเทศ ILAC (International Laboratory Accreditation Cooperation) เช่นเดียวกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” นพ.โอภาส กล่าว

ผู้ค้า-ปชช.รู้ผักมีสารเคมีตกค้าง แต่เลี่ยงไม่ได้

ด้านนพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศจุดยืนชัดเจนในการสนับสนุนให้ยกเลิกสารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่  พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เนื่องจากมีอันตรายต่อสุขภาพมีข้อมูลตรวจพบผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าจากพาราควอต ในจังหวัดหนองบัวลำภู พบการตกค้างของพาราควอตในซีรั่มของเด็กแรกเกิดและมารดา ขณะที่ไกลโฟเซตน่าจะก่อมะเร็ง (กลุ่ม 2A) และรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคไต ส่วนคลอร์ไพรีฟอสทำให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองของเด็กอีกด้วย

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม

ทั้งนี้ อย. ได้วางระบบให้ผักผลไม้ที่ปลูกในประเทศ ต้องผ่านการตรวจสอบสารพิษตกค้างและแสดงฉลาก ณ โรงคัดบรรจุ สามารถตรวจสอบแหล่งเพาะปลูกได้ หากพบปัญหาคุณภาพ หรือการตกค้างของสารอันตราย พร้อมทั้งมีมาตรการเชิงรุกให้หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ประจำอยู่ทั่วประเทศ สำหรับผักผลไม้ที่นำเข้า มีด่านอาหารและยา 52 แห่งทั่วประเทศ ที่คอยตรวจสอบผักผลไม้ หากพบสารพิษตกค้างห้ามนำมาจำหน่ายในประเทศ ล่าสุด ปี 2562 ตรวจพบคลอร์ไพรีฟอสในผักผลไม้ ไม่ผ่านมาตรฐาน 37 ตัวอย่างจาก 456 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.11 ส่วนใหญ่พบใน ส้ม คื่นฉ่าย มะเขือเทศ และคะน้า ดังนั้น อย. จึงสนับสนุนให้ยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพรีฟอส และไกลโฟเซต เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ