เซ็นแล้ว ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เริ่มสร้างใน 1 ปี 5 ปีเสร็จ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ถือว่าเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่หลายฝ่ายต่างจับตา ล่าสุดวันนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท กับ กลุ่มซีพีและพันธมิตร เรียบร้อยแล้ว โดยโครงการนี้จะเริ่มสร้างใน 1 ปี คาด 5 ปีเสร็จ ขณะที่อุปสรรคหลังจากนี้คือ การส่งมอบพื้นที่ให้ทันตามสัญญาเพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ( ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และ อู่ตะเภา )ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.  และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ จาก บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) 

รฟท. คาดปีหน้าเริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 

โดยในการลงนามนี้ แบ่งออกเป็น 2 สัญญา คือ 1. สัญญาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และสัญญาที่ 2 คือ บันทึกความเข้าใจเพื่อสนับสนุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เผยว่า บริษัทฯเตรียมการมาไม่ต่ำกว่า 2 ปี เพื่อร่วมประมูลโครงการนี้ โดยจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างภายใน 1 ปี คาด 5 ปี แล้วเสร็จ ซึ่งพื้นที่ ที่จะได้รับการส่งมอบจาก รฟท.เป็นช่วงแรก คือ ช่วงแอร์พอร์ตเรลลิ้ง พญาไท ถึง สุววรณภูมิ โดยจะได้ลงพื้นที่ก่อสร้างทันที มีการจ่ายเงิน 10,000 ล้านบาท ให้กับเจ้าของพื้นที่เดิม

ส่วนภาพรวมการในก่อสร้าง ตั้งแต่ระยะทางดอนเมืองถึงอู่ตะเภา 220 กิโลเมตร ใช้มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP net cost 

นอกจากนี้ จะมีการหารือกับ นักลงทุนต่างชาติรายใหม่ที่จะเข้ามาพันธมิตร   ส่วนแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการนี้ จะเป็นเงินกู้จากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงจะนำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อระดมทุนในอนาคต เมื่อโครงการแล้วเสร็จ

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการ ผู้ว่ารฟท. กล่าวถึง การส่งมอบพื้นที่ยอมรับว่า อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นหลังจากนี้ เช่น การเคลื่อนย้ายสาธารณูปโภคพื้นฐานก่อนการส่งมอบพื้นที่ แต่ยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการให้ได้ทันตามกรอบระยะเวลากำหนดทั้ง 3 ช่วง  ขณะที่แนวทางเวนคืนที่ดินคาดว่าจะนำเสนอ ครม.ได้ในสัปดาห์หน้า

ส่วนรายละเอียดในร่างสัญญาที่ลงนามครั้งนี้ นายวรวุฒิ ระบุว่า ขอให้ใจเย็นๆ ให้ คณะกรรมนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ กพอ. เป็นผู้แถลงรายละเอียด ซึ่งยืนยัน ร่างสัญญาเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี

“อนุทิน” ปลื้มลงนามไฮสปีด 3 สนามบิน ช่วยรัฐประหยัด 5 หมื่นล้าน

ด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ซึ่งกำกับดูแลงานด้านคมนาคม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ส่วนตัว  มีใจความสำคัญว่า การเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นโครงการสำคัญและมีผลต่ออนาคตการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เมื่อ 30 ปีที่แล้ว

ส่วนตัวมีความสุขที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งให้เกิดการลงนามในสัญญาวันนี้ และช่วยรักษาผลประโยชน์ของรัฐได้ ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท  สุดท้ายที่สบายใจที่สุด คือ การลงนามสัญญาวันนี้ ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินส่วนตัวทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์ เพราะคู่สัญญาคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย กับ CPH ตกลงกันได้แล้ว

บอดร์ดอีอีซี ดันไทยเป็น “มหานครการบิน” มูลค่าลงทุน 2 แสนล้าน

ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 1.19 แสนล้านบาท

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ