“หมอธีระวัฒน์” เผยโรคเนื้อเน่า ไม่ใช่แค่ยุงหรือแมลงกัดเท่านั้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อาจารย์แพทย์จุฬาฯ เผยโรคเนื้อเน่า พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตัวโน้มนำทำผิวหนังเสียหาย มีบาดแผลบวม อักเสบ ตุ่มน้ำใส เชื้อโรครอบตัวเข้าง่ายขึ้น

หลังจาก “บอย – ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์” เข้ารับการผ่าตัดจากการถูกแมลงกินเนื้อกัดที่ญี่ปุ่น จนติดเชื้อแบคทีเรียที่รู้จักกัน ว่า “แบคทีเรียกินเนื้อคน” กระทั่งกรมควบคุมโรค ออกมาให้ความรู้ว่า จริงๆ โรคเนื้อเน่า เรียกว่า เนคโครไทซิ่ง แฟสเชียไอติส (Necrotizing  fasciitis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในแผล  โดยมีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังและชั้นไขมันใต้ผิวหนังอย่างรุนแรง   มักพบในผู้ที่มีบาดแผลเล็กๆน้อยๆ หรือแผลจากการถูกแมลงหรือยุงกัด แล้วสัมผัสกับแบคทีเรียที่อยู่ในดินหรือในน้ำ หากดูแลแผลไม่ดี อาจลุกลามติดเชื้อซ้ำซ้อนนั้น

แค่ยุงกัด! ก็เสี่ยงเนื้อเน่าได้ แพทย์เตือนพบบ่อยฤดูฝน ย้ำกลุ่มที่ต้องระวัง!

ล่าสุดวันที่ 5 พ.ย.2562 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า ว่า  แบคทีเรียชนิดนี้เป็นอะไรที่ใกล้ตัว แต่คนมักคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ที่สำคัญไม่ใช่แค่ถูกแมลงหรือยุงกัด แต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอีกสาเหตุสำคัญ โดยเฉพาะในเกษตรกร และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อน แม้จะไม่ใช่เกษตรกรก็ตาม เนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรารู้จักกันดี เพราะที่ผ่านมามีการใช้กันบ่อย คือ พาราควอต ซึ่งคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติแบนสารเคมีไปเมื่อเร็วๆนี้ มีข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพว่า พาราควอต เป็นตัวโน้มนำให้ผิวหนังเสียหาย ยิ่งหากผิวหนังมีบาดแผลอยู่แล้วก็ยิ่งทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม มีตุ่มน้ำใส ทำให้เชื้อโรครอบๆตัวเข้าไปได้ง่ายขึ้น และหากรุนแรงก็อาจต้องเนื้อเน่าส่วนนั้นทิ้ง หลายรายตัดแขนตัดขาก็มี

พบเกษตรกรป่วยโรคเนื้อเยื่อเน่า เสียชีวิตเฉลี่ยปีละกว่า 10 คน

“ ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์โรค Necrotizing fasciitis ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2558-2561 พบปู่วยรวม 4 ปี จำนวน 68,668 ราย โดยพบมากในอายุเฉลี่ย 61 ปี ที่สำคัญจะพบในพื้นที่ซ้ำๆ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพ่นสารเคมีเป็นประจำทุกปี ดังนั้น จึงมักพบในเกษตรกร และที่หลายคนไม่รู้คือ พบในประชาชนในพื้นที่ด้วย เนื่องจากสารที่พ่นออกไปไปเจือปนในดิน ในสิ่งแวดล้อม เมื่อน้ำชะล้างก็ไหลออกไปยังถนนหนทาง หากเราเดินไม่ใส่รองเท้า ทำให้สัมผัสโรคได้  ดังนั้น จึงต้องระมัดระวัง และดูแลตัวเองให้ดี” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนออกมาและโน้มนำให้เกิดโรคเนื้อเน่ามีแค่พาราควอตหรือไม่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า  มีหมด เพียงแต่ที่ผ่านมาเราใช้ตัวนี้มาก

ไทยป่วย “โรคเนื้อเน่า” 200 คนต่อปี

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ