กทม. ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน 11 พื้นที่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น 6 พ.ย. พบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 11 พื้นที่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลางจนถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

วันที่ 6 พ.ย. 2562 สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (pm2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร  ประจำวันพุธที่ 6 พ.ย. 2562 เวลา 08.00 น ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

6 จังหวัดมีค่าฝุ่นละอองในอากาศเกินมาตรฐาน

โดยตรวจวัดได้ 34-78 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 11 พื้นที่ คือ

1.เขตปทุมวัน บริเวณหน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์: มีค่าเท่ากับ  54 มคก./ลบ.ม.

2.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

3.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม.

4.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

5.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

6.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

8.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : มีค่าเท่ากับ 78 มคก./ลบ.ม.

9.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

10.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.

11.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม สำหรับดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลางจนถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

พบ “ฝุ่น PM2.5” ทั่วกรุงฯ-ปริมณฑล 32 จุด เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ!

คำแนะนำในการปฏิบัติตน

: คุณภาพอากาศปานกลาง

ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

: คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ