เปิดเหตุความรุนแรงใน รพ. ปี 62 สูงสุด 26 ครั้ง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ความรุนแรงในรพ.แนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง พบ 7 ปีเกิดเหตุ 64 ครั้ง เจ้าหน้าที่-ปชช.บาดเจ็บ เสียชีวิต เปิดมุมมองพยาบาลห้องฉุกเฉินทำงานช่วยชีวิตคน แต่ต้องอยู่อย่างผวา!!

เป็นที่น่าตกใจกับข่าวการเกิดความรุนแรงในโรงพยาบาล ทั้งๆที่เป็นสถานที่ที่ควรปลอดอาวุธ ปลอดความรุนแรง แม้แต่ในยามสงครามยังต้องละเว้นโรงพยาบาลให้เป็นที่ปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลของรัฐในช่วงที่ผ่านมาดูจะไม่เป็นเช่นนั้น

  ถอดบทเรียนแก้ปัญหายกพวกตีกันในโรงพยาบาล

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยสถานการณ์ความรุนแรงในสถานพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลัง 7 ปี ตั้งแต่พ.ศ.2555-2562 รวมเกิดเหตุรุนแรงทั้งสิ้น 64 เหตุการณ์ แบ่งเป็น

 

1.ทะเลาะวิวาท       29  เหตุการณ์

2.ทำร้ายเจ้าหน้าที่   21 เหตุการณ์

3.ทำลายทรัพย์สิน     1 เหตุการณ์

4.ก่อความไม่สงบ      1 เหตุการณ์

5.กระโดดตึก            6 เหตุการณ์

6.อื่นๆ                     6 เหตุการณ์

โดยผลจากความรุนแรงทำให้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 15 ราย ขณะที่ประชาชนก็ได้รับผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ 58 ราย

ทั้งนี้ แยกเหตุการณ์เป็นรายปีได้ดังนี้

ปี 2562    จำนวน    26    เหตุการณ์

ปี  2561   จำนวน    17    เหตุการณ์

ปี 2560     จำนวน   10    เหตุการณ์

ปี 2559     จำนวน      4   เหตุการณ์

ปี 2558      จำนวน      7  เหตุการณ์

ปี  2557     จำนวน      1 เหตุการณ์

ปี 2556      ไม่เกิดเหตุการณ์

ปี 2555       จำนวน     1 เหตุการณ์

โดยเหตุการณ์ล่าสุด คือ วัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.อ่างทอง โดยมีผู้บาดเจ็บมา 1 ราย มีแผลที่ใบหน้ามารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน จากนั้นมีกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 5 คนตามเข้ามาที่ห้องฉุกเฉิน รพ. แม้มี รปภ.แต่ไม่สามารถกันกลุ่มวัยรุ่นได้ จนเกิดเหตุทะเลาะวิวาท จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวน 4 นายเข้ามาระงับเหตุ

ปลัดสธ.กำชับ รพ.ใกล้สถานที่จัดงานลอยกระทง คุมเข้มไม่ให้มีเหตุวิวาทในรพ.

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข สั่งการห้ามยอมความ ต้องเอาผิดถึงที่สุด พร้อมเตรียมทำระบบในการเชื่อมสัญญาณตรงจากโรงพยาบาลไปถึงสถานีตำรวจ กรณีเกิดเหตุการณ์รุนแรง เพื่อขอความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 

ด้าน นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ประกาศเอาผิดถึงที่สุด และจำเป็นต้องมีมาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อลดความรุนแรง เพิ่มความปลอดภัยเจ้าหน้าที่และผู้ที่มารับบริการ หากเกิดกรณีความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สินในโรงพยาบาล ให้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุทันที ตามกฎหมาย ม.360 ม.364 และม.365 มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี โดยให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัดเตรียมความพร้อม หากเกิดกรณีความรุนแรงให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางด้านของโรงพยาบาล(รพ.)พหลพลพยุหเสนา จ.กาญจนบุรี เตรียมความพร้อมเช่นกัน โดย นพ.สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ ผอ.รพ.พหลพลพยุหเสนา กล่าวว่า เราเตรียมความพร้อมโดยห้องฉุกเฉินทำเป็นห้งอ 2 ชั้น เรามีระบบเชื่อมโยงสัญญาณถึงสถานีตำรวจ หากมีเหตุการณ์ก็สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว มีเบอร์สายตรงตำรวจ มีทางออกฉุกเฉินหลายช่องทางให้กับเจ้าหน้าที่  อย่างไรก็ตาม อยากฝากว่า รพ.เป็นสถานที่ควรละเว้นในการก่อความรุนแรง  เพราะรพ.เป็นที่ช่วยชีวิต ไม่ใช่มาทะเลาะวิวาท  แต่ถ้าเกิดเหตุขึ้น ท่านปลัดสธ.สั่งการต้องเอาเรื่องถึงที่สุด ต้องถูกจับติดคุก

สำหรับมุมมองของผู้ปฏิบัติการห้องฉุกเฉินที่ต้องช่วยชีวิต และต้องรักษาชีวิตตัวเองและผู้ป่วยกรณีเกิดเหตุรุนแรง  โดย น.ส.กาญจนภรณ์ จันทรชัย   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.พหลพยุหเสนา  เล่าว่าปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉินเข้าปีที่ 21 ว่า ที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์เล็กๆน้อย มีทั้งการใช้คำพูดที่รุนแรง อาจไม่พอใจในเรื่องของการบริการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มาก ยิ่งเทศกาลต่างๆ ด้วยผู้ป่วยจำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อย เมื่อผู้ป่วยที่อาจดื่มสุรามา และไม่พอใจเวลารอนานๆ ซึ่งหากมีการคุกคามด้วยคำพูดหรือกิริยายังพอพูดคุยได้ แต่บางรายมีทำลายอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องวัดความดันก็มี ซึ่งตรงนี้ก็จะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาคอยจัดการ  แต่เราก็ต้องดูแลความปลอดภัยตัวเองด้วย 

การทำงานในห้องฉุกเฉิน เราดูแลผู้ที่มีภาวะวิกฤตจริงๆ ซึ่งใจของบุคลากรเราก็ต้องดูแลผู้ป่วยทั้งกาย และใจ แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องการความปลอดภัยของตัวบุคลากรเองด้วย

“ในเรื่องของความปลอดภัยนั้น ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้อำนวยการ รพ.ที่เล็งเห็นความสำคัญ เพราะได้มีการจัดทำประตู 2 ชั้น กันอีกด่านหนึ่ง และมีรปภ.ด่านหน้าดูแล แต่อยากให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มเติม อย่างช่วงเทศกาลอยากให้แวะเวียนมาดูความปลอดภัยผลัดกันมาใน 24 ชั่วโมง หรือในช่วงพลบค่ำจะมีผู้ป่วยอุบัติเหตุเยอะมาก ประมาณหลัง 6 โมงเย็นจนถึงเช้า อย่างเรื่องโทษสำหรับผู้ที่ก่อความรุนแรงในรพ.นั้น ก็ควรเพิ่มโทษมากกว่ากฎหมายทั่วไป 2 เท่าหรือไม่” น.ส.กาญจนภรณ์ กล่าว

นักวิชาการ ชี้ 7 วันอันตราย แม้ตายลดลง แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ