ก.แรงงานติดตามสถานการณ์เลิกจ้าง หวั่นคนวิตก เหตุบางแห่งไม่ได้ปิดกิจการตามที่เป็นข่าว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อธิบดีกรมสวัสดิการฯ สั่งการพนง.ตรวจแรงงานเฝ้าระวังกิจการสุ่มเสี่ยงปิดกิจการ โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โรงแรม ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ หากมีสัญญาณเร่งเข้าช่วยเหลือ

ท่ามกลางกระแสการเลิกจ้างของโรงงานหลายแห่ง ในขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมเผยข้อมูลว่า สถานประกอบการเปิดกิจการ และขยายกิจการมีมากกว่าปิดกิจการ แต่ขณะเดียวกัน นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็เผยข้อมูลอีกด้านว่า ในอีก 4 เดือน หรือเดือนมีนาคม 2563  จะมีบัณฑิตกำลังจะจบจากมหาวิทยาลัยอีก 3 แสนคน ซึ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะตกงาน ทำให้มีบัณฑิตกำลังจะตกงานรวมกว่า 5 แสนคน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจข้อมูลคนว่างงานพบว่า เด็กจบปริญญาตรีมัอัตราว่างงานสูงนั้น

ผลักดันกฎหมายเพิ่มเงินช่วยเหลือคนตกงาน!

ล่าสุดวันที่ 14 พ.ย.2562 นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน  กล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวว่าในช่วงนี้  มีสถานประกอบกิจการหลายแห่งหยุดกิจการชั่วคราวโดยใช้มาตรา 75 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เลิกจ้างลูกจ้าง รวมทั้งปิดกิจการนั้น ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้นพบว่า บางข่าวเป็นข่าวไม่จริงสถานประกอบกิจการไม่ได้มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด และบางข่าวเป็นข่าวเก่าที่เหตุการณ์เกิดขึ้นมานานแล้ว

“กสร. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นปัญหาดังกล่าว ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศจับตา เฝ้าระวังสถานประกอบกิจการที่อาจสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายปิดกิจการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะประเภทกิจการกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กิจการรับเหมาก่อสร้าง โรงแรม ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ หากมีสัญญาณว่าอาจมีปัญหาดังกล่าว ให้พนักงานตรวจแรงงานเข้าไปให้คำปรึกษา ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานแก่นายจ้างลูกจ้าง และหากพบว่ามีการเลิกจ้างลูกจ้างในพื้นที่ให้เร่งดำเนินการ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในทันที” นายอภิญญา กล่าว

อธิบดีฯ ชี้อย่ากลัวสถานการณ์เลิกจ้าง จัดงานรองรับมากกว่า 7.9 หมื่นตำแหน่ง

นายอภิญญา กล่าวต่อว่า สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีผลกำไรลดลงหรือประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ขอให้นายจ้าง ลูกจ้างปรึกษาหารือร่วมกัน พูดคุยกันด้วยเหตุผล นายจ้างควรชี้แจงข้อเท็จจริงถึงผลประกอบกิจการ   ในปีนั้น ๆ เพื่อทำความเข้าใจกับลูกจ้างอย่างตรงไปตรงมาโดยยึดหลักสุจริตใจ และขอให้ทั้งสองฝ่ายคำนึงถึงสิทธิ หน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างและนายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ลูกจ้างสามารถ   ยื่นคำร้องได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร 10 พื้นที่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 กด 3

กสร. สั่งช่วยพนักงานกว่า 200 ชีวิตหลังถูกโรงงานลอยแพ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ