“ศึกชิงอู่ตะเภา” ทร.ห่วงทำลายระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ยังคงต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับการประมูลโครงการขนาดใหญ่ อย่าง โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีปัญหาการยื่นเอกสารช้า 9 นาที โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ยังคงมีข้อกังขาหลายเรื่อง

ปัญหาการเปิดประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่กลุ่มบริษัท ธนโฮลดิ้ง หรือ ซีพี ได้ยื่นเอกสารประมูลช้ากว่าเวลาที่กำหนดถึง 9 นาที ในวันที่ 21 มี.ค. 2563   และได้ทำการฟ้องร้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ จนถึงขั้นตอนทางศาลปกครองสูงสุด โดยองค์คณะศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา 

ทร.แจงคืนสิทธิ"ซีพี ยื่นประมูลช้า 9 นาที" กระทบระบบจัดซื้อจัดจ้าง

ซึ่งคดีนี้ ในช่วงศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องมาแล้ว แต่ “กลุ่มซีพี” ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยน.ส.ปะราลี เตชะจงจินตนา ผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทธนโฮลดิ้ง ให้เหตุผลหลักๆว่า การยอมให้กลุ่มของตนเองยื่นซองข้อเสนอให้ครบถ้วน จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับรัฐมากกว่าการยึดถือกรอบเวลาเวลาเพียง 9 นาที

ขณะที่ฝั่งของคณะกรรมการคัดเลือกที่มี พล.ร.ต.เกริกไชย วจนาภรณ์ รองปลัดบัญชีทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ เป็นผู้แถลงถ้อยคำด้วยวาจา การประมูลสนามบินอู่ตะเภาเป็นโครงการที่สำคัญเพราะรัฐบาลต้องการให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 มีวงเงินลงทุนสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท

ศาลปกครองไม่คุ้มครอง “กลุ่มซีพี” ปมถูกตัดสิทธิ์ประมูลอู่ตะเภา

พล.ร.ต.เกริกไชย ระบุว่า “หากศาลจะเห็นว่า เวลาไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดเคยสั่งให้ตัดสิทธิผู้เข้าประมูลก่อสร้างของกรมทางหลวงชนบท ที่มายื่นซองหลังเลยเวลาปิดรับไปเพียง 39 วินาที ซึ่งเป็นการกลับคำตัดสินของศาลปกครองกลาง”

 “หากให้บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดเข้าประมูล เท่ากับเป็นการทำลายระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และอาจทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่า ต่อไปใครจะมายื่นซองเวลาไหนก็ได้ หากให้ผลตอบแทนกับรัฐสูง รวมทั้งอาจเกิดค่านิยมใหม่ว่า แม้ทำผิดกฎ แต่มีเงินจ้างทนายเก่ง และให้ประโยชน์รัฐมากก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้งาน เพราะเงินชดเชยความผิดได้”

ทร. แจงหากศาลคืนสิทธิทำระบบจัดซื้อจัดจ้างไทยผิดเพี้ยน เพราะ ซีพี ยื่นประมูล“เมืองการบิน” ช้า 9 นาที

นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่ทางธนโฮลดิ้งกล่าวนั้น “ไม่ถูกต้อง” และมี 6 ประเด็นสำคัญต่อประเทศชาติ ได้แก่

1.ข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน ในเรื่องของเวลาที่มาส่งหลักฐานเกินไป 9 นาที ทั้งภาพและหลักฐาน

2.เวลาเป็นสาระสำคัญที่ถูกระบุไว้ชัดเจนว่าหากเกินจะไม่รับ

3.หากศาลอนุโลมในครั้งนี้ จะทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของไทยผิดเพี้ยน

4.บรรทัดฐานการตัดสินก่อนหน้านี้เคยมี คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด มาไม่ทัน 39 วินาที แต่ก็หมดสิทธิเสนอราคา แต่กรณีนี้เกินเวลามาถึง 9 นาที 

5.ผู้ฟ้องอย่างบริษัท ธนโฮลดิ้ง พยายามหาข้อผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ทุกวิถีทางเพื่อขยายเวลา แต่ยืนยันว่าผู้ที่อยู่ ณ จุดลงทะเบียนทั้ง 49 ราย ไม่มีอำนาจในการตัดสิน

 6.ผู้ฟ้องยังพยายามให้ค่านิยมที่ผิดในการฟ้องคดี ข้อกล่าวอ้างที่บอกถึงการให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ จะรับทราบได้อย่างไรเพราะยังไม่เปิดซองราคา

พล.ร.ต.เกริกไชย ยังกล่าวถึงข้อสรุปหนังสือร้องเรียนของเอกชนผู้เข้าประมูลอีก 2 ราย คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส และกลุ่ม Grand Consortium โดยมีหลายข้อสังเกตุที่น่าสนใจ เช่น ห้องรับรองลงทะเบียนไม่ชัดเจน ซึ่งผู้ฟ้องเคยประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมาอยู่แล้ว และมีกฎระเบียบที่เหมือนกัน กลับกล่าวว่า ไม่ชัดเจนจึงไม่สามารถอ้างได้

ทางด้าน พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ได้เสนอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณารับคดีนี้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดแล้ว

ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาคดีซีพียื่นประมูล “เมืองการบิน” ช้า 9 นาที

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ