เครือข่ายแบนสารเคมีฯ 686 องค์กร ส่งหนังสือก.เกษตรฯ เสนอทางเลือกหลังแบน ‘ 3 สารเคมี’


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายฯ 686 องค์กร เสนอทางออกหลังแบน 3 สารเคมี ชูการเกษตรแบบยั่งยืน  

วันที่ 19 พ.ย.2562 ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร  แถลงข่าว  “เกษตรกรรมไทยหลังมติแบน พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส”   โดยนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(ไบโอไทย)  กล่าวว่า หลังจากมีมติแบน 3 สารเคมี ทางเครือข่ายฯ มีความเป็นห่วงว่า จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อจากนี้ เพราะยังมีกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องขอให้ทบทวน หรือขอให้ขยายการแบนออกไป จากมติที่ต้องแบนภายในวันที่ 1 ธ.ค.2562 ดังนั้น ทางเครือข่ายฯ จึงมีมติและจะทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการภายหลังการแบนสารเคมีทางการเกษตร โดยให้ยึดหลักเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรกว่า 100 แห่งใช้วิธีการเกษตรแบบยั่งยืนก็สามารถที่จะอยู่ได้  จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ต้องเปลี่ยนผ่านเรื่องนี้ 

สสจ.เลยพบผู้ป่วย “เนื้อเน่า”สูงเป็นอันดับ 1 ติดต่อ 3 ปีซ้อน

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้อง ประกอบด้วย 1.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเดินหน้าการแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดตามกรอบเวลาที่มีการกำหนดไว้  ไม่ว่าทางสหรัฐอเมริกา บราซิล และผู้ประกอบการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวสาลีในประเทศเสนอให้มีการทบทวนการแบนไกลโฟเซตเนื่องจากว่าจะเกิดผลกระทบต่อการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารนั้น รัฐบาลต้องยืนยันว่าการแบนสารเคมีของประเทศไทยยืนอยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของ IARC องค์การอนามัยโลก และมีงานวิจัยของสถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศ เช่น สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น รองรับอย่างชัดเจน  

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

 2. เครือข่ายเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรฯเสนอทางเลือกหลักในการจัดการวัชพืชและศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมีเป็นแนวทางหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่ไม่ประสงค์จะให้การแบนสามสารเพื่อให้มีการนำสารเคมีอื่นมาทดแทน และที่จริงแล้วควรใช้โอกาสการแบนสารพิษนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน ข้อเสนอที่เป็นแนวทางหลักในการปรับเปลี่ยนคือ  1.การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรและการใช้นวัตกรรม 2. การปลูกพืชคลุมดินหรือวัสดุคลุมดิน และ 3.การปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช เช่น การปลูกพืชแบบผสมผสาน เป็นต้น 


กก.วัตถุอันตรายลงคะแนนสรุปแบน “3 สารเคมีเกษตร”

“เนื่องจากการแบนสารเคมีสามสารจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 และช่วงเวลาสำคัญในการจัดการปัญหาวัชพืชส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม  เครือข่ายจึงขอเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรฯดำเนินการเผยแพร่แนวทางและวิธีการทางเลือกต่างๆต่อเกษตรกร โดยให้ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจทั้ง  6 กลุ่ม คือ อ้อยครอบคลุมเกษตรกรรายย่อยและเกษตรแปลงใหญ่ รวมทั้งให้ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ โดยเร็ว” นายวิฑูรย์ กล่าว


3. มาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล   หากการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกแบนไปเป็นวิธีการทางเลือกอื่นแล้วทำให้ต้นทุนเกษตรกรเพิ่มขึ้น รัฐควรรับภาระในการชดเชยหรือสนับสนุนเกษตรกรเหล่านั้น  และรัฐต้องสร้างความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรที่ใช้วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่ไม่ใช่สารเคมี โดยต้องยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนำเข้าแก่เครื่องจักรกลการเกษตร วัสดุคลุมดิน หรือเครื่องมือใดๆ ดังเช่นที่รัฐบาลไม่เรียกเก็บภาษีสารพิษทางการเกษตรติดต่อกับมานานเกือบสามสิบปี จนทำให้วิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลายเป็นทางเลือกหลักของเกษตรกรบางกลุ่ม ทั้งๆที่การใช้สารเคมีเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบภายนอกมีมูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี

 ผู้สื่อข่าวถามว่าปัจจุบันมีพื้นที่เกษตรจำนวนเท่าไหร่ นายวิฑูรย์ กล่าวว่า หากพิจารณาพื้นที่ทางการเกษตร ปัจจุบันมี 150 ล้านไร่  3.3 ล้านไร่เป็นการเกษตรยั่งยืน และ 1 ล้านไร่ในจำนวนการทำเกษตรยั่งยืนเป็นเกษตรอินทรีย์  

“มนัญญา” รับมีฝ่ายต้านไม่เลิกใช้ 3 สารเคมี การเกษตร

 


 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ