ย้อนรอยคดี “โอ๊ค-พานทองแท้”  เส้นทางเงินกรุงไทย ก่อนศาลยกฟ้อง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดไทม์ไลน์ดคีฟอกเงินกู้แบงก์กรุงไทย “พานทองแท้ ชินวัตร” หลังศาลมีคำพิพากษา “ยกฟ้อง” เหตุจำเลยไม่มีส่วนรุ้เห็นเงิน 10 ล้าน

หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีฟอกเงินกู้แบงก์กรุงไทย ที่มีพนักงานอัยการ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายพานทองแท้ ชินวัตร  บุตรชายคนโตของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินฯ

ศาลยกฟ้อง “โอ๊ค พานทองแท้” คดีฟอกเงินกรุงไทย

ล่าสุดวันที่ 25 พ.ย. 2562 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าจำเลยไม่ได้มีส่วนรู้เห็นถึงแหล่งที่มาของเงินจำนวน 10 ล้านบาทที่นายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร กระทำผิดเรื่องการฟอกเงินนั้น

นัดพิพากษา “โอ๊ค – พานทองแท้” คดีฟอกเงินกรุงไทย 25 พ.ย.

สำหรับคดีดังกล่าว มีลำดับเหตุการณ์ ดังนี้

  • เริ่มต้นจากพล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้เกี่ยวข้องคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย ให้กลุ่มกฤษดามหานคร ภายหลังศาลฎีกาฯ พิพากษาจำคุกอดีตกรรมการผู้บริหารธนาคารกรุงไทย อดีตเจ้าหน้าที่สินเชื่อ และกลุ่มกฤษดามหานคร จำนวนหลายราย ในช่วง ก.ค.2560

 

  • 13 ก.ย.2560 พล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาฯปปง.มอบหมายนายสุนทรา พลไตร ผู้อำนวยการส่วนข้อมูลคดีและมาตรการพิเศษทางกฏหมาย เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายพานทองแท้ ชินวัตร สั่งจ่ายเช็คจากนายวิชัย กฤษกาธานนท์ ผู้ต้องหาคดีทุจริตปล่อยเงินกู้ธนาคารกรุงไทยจำนวนเงิน 10 ล้านบาท และ 26 ล้านบาท ต่อพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม

 

  • ต่อมาพ.ต.อ.ไพศิษฐ์ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีคำสั่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนฯ และได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดีฯ ร่วมกับพนักงานอัยการสอบสวนเป็นผู้รับผิดชอบหลัก จนคณะพนักงานสอบสวนได้มีความเห็นสั่งฟ้องนายพานทองแท้ ต่อพนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด 

 

  • 10 ต.ค.2561 สำนักงานอัยการคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นฟ้องนายพานทองแท้ ต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9, 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ 91 จากกรณีร่วมรับโอนเงินเป็นเช็คจำนวน 10 ล้านบาท เข้าบัญชี ซึ่งเงินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำจากการทุจริตปล่อยกู้สินเชื่อระหว่างธนาคารกรุงไทย กับเอกชนกลุ่มกฤษดามหานคร โดยศาลฯ ได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อท.245/2561

 

  • 24 ก.ย.2562 ศาลฯ ได้สืบพยานโจทก์ โดยนายสุนทรา ในฐานะผู้กล่าวหาคดีนี้ ได้เบิกความระบุมีพยานเห็นว่ามีการร่วมกันฟอกเงินเลยระหว่างจำเลยกับ นายวิชัย เนื่องจากมีการรับโอนและโยกย้ายเงินในหลายบัญชี ขณะที่ทั้งสองก็ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กันทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังพบว่าจำเลยได้โอนเงิน 10 ล้านบาทคืนนายวิชัย เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับผู้บริหารธนาคารกรุงไทย และนายวิชัย เมื่อปี 2548 ส่วนที่ระบุว่าจำเลยทำธุรกิจรถยนต์กับนายรัชดา กฤษกาธานนท์ บุตรชายของนายวิชัย นั้น ก็ไม่น่าเชื่อถือ โดยการตรวจสอบเชื่อว่าการรับโอนเงินระหว่างจำเลยและนายวิชัย เป็นการให้ค่าตอบแทนบางประการ

หลังจากที่นายวิชัย ได้รับเงินปล่อยกู้จากธนาคารฯ ซึ่งบิดาของจำเลย คือ นายทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการตรวจสอบเส้นทางการเงินนั้นก็ดูจากต้นเงินที่เมื่อธนาคารกรุงไทย ได้ปล่อยกู้ ให้กับ บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จนถึงนายวิชัย จากนั้นก็เป็นนายพานทองแท้ ที่ได้รับเช็คโอนเงินเข้าบัญชี 10 ล้านบาท

  • 26 ก.ย.2562 นายพานทองแท้ ได้ยื่นคำให้การใหม่เพิ่มเติม ก่อนเข้าเบิกความต่อศาลฯ ว่า ได้วางแผนที่จะดำเนินธุรกิจนำเข้ารถยนต์ซุปเปอร์คาร์ ที่จะมีนายรัชดา ร่วมด้วย โดยตนเป็นผู้คิดมาตั้งแต่ช่วงปี 2547 จากที่ได้มีการพูดคุยในกลุ่มเพื่อน 5-6 คน ซึ่งในวันรุ่งขึ้น นายรัชฎา ได้โทรศัพท์มาพูดคุยว่าจะขอร่วมลงทุนด้วย โดยเหตุที่นายรัชฏา เร่งโทรมาคุยเพราะกังวลว่าตนจะลืมชักชวนนายรัชฎา ลงทุนด้วย ซึ่งขณะนั้นคิดไว้เพียงว่า การลงทุนน่าจะต้องใช้เงินลงทุนคนละ 20 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าร่วมลงทุนกี่คนเนื่องจากมูลค่ารถซุปเปอร์คาร์นั้นต่อคันจะตกอยู่ที่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ขณะที่ช่วงนั้นยังไม่มีบุคคลอื่นมาร่วมเสนอลงทุนด้วย

 

  • CFO) ที่ดูแลเรื่องการเงินทุกบริษัทของ ตน ไปศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจดังกล่าว สุดท้ายธุรกิจนี้ไม่ได้ดำเนินไป ยุติลงในชั้นของการศึกษาแนวทางก็เพราะนายเฉลิม ได้แจ้งผลการศึกษาการดำเนินธุรกิจนี้ให้กับตนว่ามีความเป็นไปได้ยาก และจะไม่คุ้มเงินลงทุนทางธุรกิจ ส่วนที่นายรัชดา โอนเงิน 10 ล้านบาทให้ตนที่จะมาร่วมลงทุนโดยเป็นเช็คชื่อนายวิชัย นั้น ตนไม่ทราบเหตุผล

  • จากนั้นศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 พ.ย.2562 โดยฐานความผิดในคดีฟอกเงินจะมีโทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยคดีมีอายุความ 15 ปี ภายหลังจากศาลนัดอ่านคำพิพากษา นายพานทองแท้ ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหนใดในโซเชียลมีเดีย

 

  • 25 พ.ย.62 ศาลอ่านคำพิพากษานายทองแท้ “ยกฟ้อง” เนื่องจากเห็นว่า จำเลยไม่ได้มีส่วนรู้เห็นถึงแหล่งที่มาของเงินจำนวน 10 ล้านบาทที่นายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร กระทำผิดเรื่องการฟอกเงิน โดยเช็คจำนวนดังกล่าวนายวิชัย สั่งผ่านให้นายพานทองแท้ ซึ่งเป็นจำเลย เพราะนายรัชฎา ลูกชายนายวิชัย จะทำธุรกิจรถสปอร์ตร่วมกับจำเลยประกอบกับการเบิกถอนของจำเลยในระหว่างที่ได้รับเงินมามีการเบิกถอนอยู่ที่ 5,000 ถึง 20,000 บาท รวม 11 ครั้งซึ่งไม่เป็นพิรุธ ไม่มีลักษณะเป็นการอำพรางและแหล่งที่มาสามารถตรวจสอบได้  ขณะที่การรับโอนเงินจำเลยมีอายุเพียง 26 ปีและขณะนั้นมีเงินรายได้จากหุ้นในบริษัทอยู่แล้ว ถึง 4,000 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับเงิน 10 ล้านบาท แล้วคิดเป็น 0.0025 เปอร์เซ็นต์จากยอดเงินดังกล่าว

“โอ๊ค พานทองแท้” มาศาลให้การคดีทุจริตฟอกเงินกรุงไทย

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ