จิตแพทย์วอนสังคมอย่าเชื่อมโยงคดี “ลูกฆ่าแม่” อาจไม่เกี่ยวอาการทางจิตเวช


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมสุขภาพจิต เผยผู้ป่วยจิตเวชจะทำร้ายผู้อื่นต้องมีภาวะจิตเวชที่ซับซ้อนหลายโรคร่วมกัน รวมทั้งใช้สารเสพติด เผยจุดสังเกต ‘5 อาการ’ เสี่ยงก่อความรุนแรง

ขณะนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ข่าวลูกชายฆ่าหั่นศพแม่ เพราะบางกระแสระบุว่า ลูกป่วยโรคทางจิตเวช แต่อีกทางระบุว่า อาจไม่ใช่ฝีมือลูก ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างสอบสวนอยู่นั้น

สลด! ลูกชายฆ่าแม่หั่นศพยัดตู้เย็น ก่อนยิงตัวเองจมกองเลือด!

ล่าสุดจิตแพทย์ออกมาให้ข้อมูลถึงเรื่องนี้ โดย  นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกว่า  เนื้อหากล่าวอ้างถึงผู้ต้องสงสัยในคดีว่ามีอาการป่วยด้านสุขภาพจิตร่วมด้วยนั้น กรมสุขภาพจิตได้ติดตามพบว่าประชาชนให้ความสนใจและแสดงความวิตกกังวลต่อคดีสะเทือนขวัญนี้เป็นอย่างมาก และอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้เนื่องจากคดีมีความซับซ้อนและยังอยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการต้องใช้ข้อมูลอื่นๆประกอบต่อไป

ผบก.น.9 จ่อเรียกสอบพยานคดีฆ่าหั่นศพ ยังไม่ฟันธงลูกฆ่าจริงหรือไม่

ตามสถิติจากงานวิจัยในต่างประเทศที่มีการศึกษาคดีทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ชีวิตต่างๆ พบว่า มีเพียงร้อยละ 10-15 ของคดีเท่านั้นที่เกิดจากผู้ป่วยทีมีปัญหาด้านสุขภาพจิตระดับรุนแรง ได้แก่ โรคทางจิตที่มีอาการหูแว่ว ภาพหลอน หวาดระแวง อย่างรุนแรง โรคทางจิตเวชที่ซับซ้อนหลายโรคร่วมกัน รวมไปถึงภาวะการใช้สารเสพติดร่วมด้วย ซึ่งโดยส่วนมากแล้วผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตทั่วไประดับที่ไม่รุนแรง เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล แม้มีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเองที่สูงกว่าคนทั่วไปก็ตาม แต่ความเสี่ยงในการทำร้ายผู้อื่นมักไม่ต่างจากสถิติในประชากรโดยรวม การด่วนสรุปว่าคดีสะเทือนขวัญต่างๆเกิดจากปัญหาสุขภาพจิตทั่วๆไปเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและอาจสร้างตราบาปต่อผู้ที่กำลังบำบัดรักษาด้านสุขภาพจิตอยู่ในสังคม

สำหรับคนรอบข้างสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญานเตือนของการก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชได้ดังนี้ 1. มีอาการสับสน ไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงได้ 2. มีอาการหวาดระแวง ตอบสนองต่อเสียงแว่วและภาพหลอน 3. มีท่าทีกระสับกระส่ายหรือหุนหันพลันแล่น 4. มีอารมณ์โกรธฉุนเฉียวอย่างรุนแรงทางสีหน้าและท่าทาง 5. เริ่มพูดจาก้าวร้าวข่มขู่ หรือเริ่มแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งของรอบตัว โดยทั้งนี้ ญาติ คนใกล้ชิด และคนในชุมชนของผู้ป่วยจิตเวช มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยเหลือได้ดังนี้ 1. ช่วยกันสอดส่องดูแล ติดตามให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง 2. ใส่ใจรับฟัง พูดคุยสม่ำเสมอเพื่อให้กำลังใจ ติดตามอาการ และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ 3. หากผิดปกติหรือมีอาการกำเริบให้รีบแจ้งต่อเจ้าหน้าที่หรือโทรขอคำปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หากมีแนวโน้มความรุนแรงมาก สามารถติดต่อสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือโทรแจ้งเหตุสายด่วนตำรวจ 191 อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

โซเชียลตั้งข้อสงสัยคดีลูกฆ่าหั่นศพแม่ “คนถนัดซ้ายไม่มีทางจับปืนมือขวา”            

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ