บุกโรงงานผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ รับนโยบาย Bio Circular Green Economy (BCG) ปี 2563


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รัฐจับมือเอกชนเดินหน้าผลิตถุงพลาสติกจากมันสำปะหลังย่อยสลายได้ภายใน 3-4 เดือน พร้อมเตรียมหามาตรการทางภาษีช่วยผู้ประกอบการหลังต้นทุนการผลิตสูงกว่าปกติถึง 3 เท่า

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม (อว.) เยี่ยมชมขบวนการพัฒนาผลิตพลาสติกชีวภาพ ด้วยการนำแป้งมันมาพัฒนาเป็นพลาสติกของโรงงาน บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่เริ่มหันมาผลิตถุงพลาสติกย่อยสลายได้ คือ “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สำหรับขยะเศษอาหาร” โดยร่วมมือกับ ศูนย์เทคโลโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. และบริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ทำการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกย่อยสลายได้

เปิดตัว ‘ถุงพลาสติก’ สลายตัวได้ใน 3 เดือน

นักวิจัยพบหนอนผีเสื้อย่อยพลาสติกได้ หวังลดปัญหาขยะ

นายสุวิทย์ กล่าวว่า ปี 2563 ครม.มีมติเห็นชอบการงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อในวันที่ 1 ม.ค.2563 เป็นต้นไป เพื่อลดละเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ซึ่ง “ถุงพลาสติกย่อยสลายได้สำหรับขยะเศษอาหาร”สามารถย่อยสลายได้ภายใน 3-4 เดือน เนื่องจากมีส่วนผสมของ TAPIOPLAST ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

อีก 12 ปี “ขยะพลาสติก” หมดไปจากไทย

“ ปัจจุบันนี้มีการใช้พลาสติกชีวภาพเพียง 1% ของการใช้พลาสติกทั้งหมด และอุปสรรคในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพที่สำคัญ คือ ต้นทุนการผลิต” ซึ่งพบว่าสูงกว่าการผลิตถุงพลาสติกทั่วไป 2-3 เท่า ในเรื่องนี้ นายสุวิทย์กำลังหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อหามาตรการทางภาษีมาช่วยเหลือด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ

อย่างไรก็ตาม การที่เอกชนออกมาขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมากขึ้นสอดคล้องกับนโยบาย เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งการใช้แป้งมันสำปะหลังดัดแปลงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ตรงตามหลักเศรษฐกิจแบบ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งจะเริ่มเห็นชัดในปี 2563

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ