ย้ำ! ปั๊มหัวใจช่วยชีวิตผู้ป่วย ห้ามหยุด ต้องทำจนสัญญาณชีพฟื้นคืน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สพฉ.ย้ำปั๊มหัวใจช่วยชีวิตขัดจังหวะไม่ได้ ต้องทำจนสัญญาณชีพฟื้น ย้ำเคสอาสากู้ภัยทำถูกวิธีแล้ว ระหว่างรอเคสขั้นสูงสานต่อ

จากกรณีสมาชิกท่านหนึ่งเผยแพร่คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 2 นาที ถึงเหตุการณ์มีผู้ชายสูงวัยตำหนิต่อว่า อาสาสมัครกู้ภัยที่กำชับฟื้นคืนชีพ หรือทำซีพีอาร์ (CPR) ผู้ป่วยที่นอนไม่ได้สติ และซักถามเจ้าหน้าที่ว่าเหตุใดจึงไม่รีบนำผู้ป่วยรายนี้ส่งโรงพยาบาล โดยเจ้าหน้าที่ก็พยายามอธิบายว่าเป็นขั้นตอนการปฐมพยาบาล ระหว่างรอรถพยาบาลที่มีความพร้อมมารับตัวไปอีกขั้นตอนหนึ่ง แต่ปรากฎว่าชายดังกล่าวไม่ฟัง และยังตำหนิเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีรายงานว่าชายคนดังกล่าวมีอาการคล้ายมึนเมา เนื่องจากมีกลิ่นแอลกอฮอล์ แต่เจ้าตัวปฏิเสธนั้น

กู้ชีพด้วย CPR ช่วยต่อชีวิตคนหัวใจวายเฉียบพลัน

แนะ 10 ขั้นตอนฟื้นคืนชีพ เพิ่มโอกาสรอดชีวิต – ตับไม่แตก 

ความคืบหน้าวันที่ 16 ธ.ค. 2562  ว่าที่ ร.ต. การันต์ ศรีวัฒนาบูรพา ผู้ช่วยโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.)  กล่าวว่า สำหรับเคสที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต้องบอกว่า กู้ชีพที่ช่วยชีวิตถือว่าทำถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากโดยหลักการเมื่อสายด่วน 1669 ได้รับแจ้งเหตุว่า มีผู้ป่วยหัวใจวาย ซึ่งเคสนี้เรียกว่า เป็นเคสผู้ป่วยวิกฤตสีแดง  ต้องรีบช่วยเหลือให้รอดชีวิต และต้องใช้รถกู้ชีพขั้นสูง ซึ่งจะมีวิชาชีพและมีเครื่องมือช่วยชีวิตพร้อม แต่ระหว่างรอรถกู้ชีพขั้นสูงเข้าไปถึง ก็จะให้คำแนะนำ รวมทั้งจะส่งรถกู้ชีพขั้นพื้นฐาน เช่น รถจากมูลนิธิ กู้ชีพกู้ภัยต่างๆ ที่ผ่านการอบรมในการช่วยชีวิตคนเบื้องต้นไปสนับสนุนที่เกิดเหตุก่อน 

“โดยการช่วยชีวิตนั้น สิ่งสำคัญต้องมีการกดหรือปั๊มหัวใจเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะ เลี้ยงสมอง และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ต้องขัดจังหวะการปั๊มหัวใจให้น้อยที่สุด คือ จะไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่งปั๊มหัวใจ เพราะหากยกขึ้นเปล อาจทำให้ต้องหยุดปั๊มหัวใจ และจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้  ดังนั้น จะต้องทำซีพีอาร์จนกระทั่งชีพจรหรือสัญญาณชีพของผู้ป่วยกลับมา จึงจะเคลื่อนย้าย โดยระหว่างนั้นหากรถกู้ชีพขั้นสูงมาถึง ก็จะทำการช่วยเหลือด้วยการปั๊มหัวใจต่อ และให้ยากระตุ้นหัวใจ ใส่ท่อช่วยหายใจ และช็อตหัวใจ โดยทั้งหมดสามารถทำที่บ้านได้ ยกเว้นว่าบ้านไม่มีพื้นที่เอื้ออำนวยจริงๆ” ว่าที่ ร.ต.การันต์ กล่าว

ผู้ช่วยโฆษก สพฉ. กล่าวอีกว่า เดิมทีคนมักเข้าใจว่า การช่วยชีวิตจะต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเท่านั้น แต่จริงๆ การช่วยชีวิตต้องทำก่อนถึงโรงพยาบาล เพราะช่วงฉุกเฉินคือ ระหว่างไปถึงโรงพยาบาล ดังนั้น หากทำซีพีอาร์ หรือการฟื้นคืนชีพได้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยชีวิตได้     

เลขาฯ สพฉ.แนะขั้นตอนช่วยชีวิตผู้ป่วยหยุดหายใจ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ