ภัยแล้งเริ่มวิกฤต! แก้ปัญหาอย่างไร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์ภัยแล้งยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่ในปีหน้าหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ภัยแล้งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

ราวกลางเดือนกันยายน 2562 หลังพายุโพดุลและคาจิกิผ่านพ้น กว่า 6000 ครอบครัว จาก 13 อำเภอ ของ จ.อุบลราชธานี ต้องตกอยู่ในสถานะผู้อพยพหนีน้ำทันที เพราะสภาพพื้นที่กลายเป็นทะเลสาปน้ำจืดไปแล้ว

นับถอยหลังวิกฤตภัยแล้งหนักสุดรอบ 17 ปี น้ำเหลือใช้อีกแค่ 36 วัน (คลิป)

วิกฤต! "โคราช-บุรีรัมย์-ชัยภูมิ" ประสบภัยพิบัติแล้ง

หากยังจำได้ น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากหน่วยงานรัฐ เพิ่งประกาศให้เตรียมรับมือกับภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง ไม่กี่วันก่อนหน้า

แม้ปริมาณน้ำที่ท่วมใหญ่ใน จ.อุบลราชธานี จะมีมากจนทำลายสถิติหลายสิบปี แต่ปริมาณน้ำนี้ กลับไม่สามารถดึงกลับมาใช้ประโยชน์ได้ในช่วงแล้ง เพราะเป็นฝนที่ตกใต้เขื่อน   น้ำส่วนใหญ่ต้องปล่อยให้ไหลทิ้งออกทางแม่น้ำโขง   และไม่ใช่แค่ภาคอีสาน หากมองภาพรวมทั้งประเทศ ทั้งฤดูฝนปีนี้ มีน้ำไหลเข้าอ่างไว้ใช้ยามแล้งเพียงประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ทำให้ปัจจุบัน มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อย่างน้อย 11 แห่ง ที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีน้ำใช้การ เหลือไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำของประชาชนทั้งภาคเกษตรและอุปโภค-บริโภคทั้งหมด

เมื่อปริมาณน้ำใช้การของปีนี้มีไม่มาก กรมชลประทานจึงต้องจำกัดการปล่อยน้ำเพื่อจัดสรรให้ผ่านพ้นไปจนถึงหมดฤดูแล้งปีหน้า ทำให้ปัจจุบันลำคลองสายหลักหลายพื้นที่เริ่มแห้งขอด พืชผลการเกษตรหลายแห่งเริ่มยืนต้นตายแล้วจากการขาดแคลนน้ำ

ขณะที่ผลสำรวจของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คาดการณ์ว่าปีหน้าจะมีพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทานเสี่ยงขาดแคลนน้ำถึงกว่า 3 แสน 7 หมื่นไร่

เช่นเดียวกับพื้นที่นอกเขตการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค กว่า 4000 หมู่บ้าน จาก 43 จังหวัด ที่อาจขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค

แม้เบื้องต้น สทนช. ระบุว่าได้เตรียมแผนรับมือแก้ภัยแล้งนี้ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มทั้งผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดินอย่างบ่อบาดาลไว้แล้ว แต่จากสถานการณ์ปีนี้ นั่นหมายความว่าปีหน้าภาคประชาชนเองก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับภัยแล้งที่จะถึงนี้เช่นกัน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ