กปน.คาดสถานการณ์ดีขึ้น หลังน้ำ"เค็ม-กร่อย"กระทบคนกรุง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากสถานการณ์ภัยแล้ง เมื่อน้ำทะเลหนุนสูง แต่น้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยามีน้อยจึงทำให้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาพุ่งสูงขึ้นจนเกินเกณฑ์มาตรฐานในบางจุด โดยที่การประปานครหลวง ต้องสูบน้ำดิบขึ้นมาผลิตน้ำประปา แจกจ่ายให้ชาว กทม.และปริมณฑล ล่าสุดประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบจากค่าความเค็มที่สูงขึ้นแล้ว

วิกฤตภัยแล้ง ทำน้ำประปาเค็ม กระทบกลุ่มเสี่ยง “ความดัน-ไต-หัวใจ”

น้ำเค็มรุกแม่น้ำเจ้าพระยา

น้ำประปาที่ไหลผ่านเครื่องกรองน้ำของชาวบ้านในชุมชนบ้านไม้ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร วันนี้ยังคงมีสีใส แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือรสชาติที่เค็มและกร่อยผิดปกติ

เจนณรงค์ เรืองบุรพ บอกว่า ตอนแรกคิดว่าเครื่องกรองน้ำเสีย แต่เมื่อถึงเวลาอาบน้ำแปลงฟันและได้ชิมรสชาติน้ำ จึงเข้าใจว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากน้ำประปา ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนปีใหม่

นอกจากรสชาติที่เค็มและกร่อย ชาวบ้านบางส่วนยังระบุด้วยว่ายังได้กลิ่นคลอลีน จากน้ำรุนแรงขึ้น โดยชุมชนนี้ ใช้น้ำประปาที่ส่งมาจากโรงผลิตน้ำประปาสถานีบางเขน ซึ่งรับน้ำดิบมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง เมื่อค่าความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นจากน้ำทะเลที่หนุนสูงจึงทำให้น้ำประปาเค็มมากขึ้นด้วย

นายสมศักดิ์ ปัสนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง ระบุว่าปัจจุบัน การประปานครหลวงต้องจ่ายน้ำให้กับคนกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี โดยมีสถานีสูบน้ำดิบอยู่ 2 แห่งใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำจากลุ่มแม่กลอง จึงไม่ได้รับผลกระทบ แต่ทางฝั่งตะวันออกใช้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางสถานีสูบน้ำสำแล ดังนั้นเมื่อน้ำเค็ม จึงทำให้ได้รับผลกระทบด้านคุณภาพน้ำทั้งหมด

หากมองแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้กับสถานีสูบน้ำดิบสำแล จะเห็นว่าระดับน้ำยังสูง นั่นหมายความว่าชาวกรุงอาจจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งถึงขั้นขาดแคลนน้ำใช้แน่นอน แต่คุณภาพน้ำอาจจะยังเค็มและกร่อยตามคุณภาพน้ำดิบที่เค็มเป็นบางช่วง เบื้องต้นการประปานครหลวงคาดการณ์ว่าสถานการณ์น้ำหลังจากจะดีขึ้นตามระดับน้ำทะเลที่ลดลง แต่หากช่วงไหนน้ำยังมีค่าความเค็มเกินมาตรฐาน การประปานครหลวงมีแผนจะงดสูบน้ำเป็นช่วงเวลา จนกว่าค่าความเค็มจะเจือจางลงด้วย

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ