เส้นทาง "หมอวี" รักษาสัตว์ทุกชนิดตั้งแต่อนาคอนดา จนถึง เหี้ยบาดเจ็บจากสวนลุมฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




Life Story สัปดาห์นี้ คุยเส้นทางสัตวแพทย์รักษาสัตว์ป่า พร้อมส่องเทรนด์การเลี้ยง Exotic pet ที่ดูเหมือนจะยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ดังนั้น ใครคิดจะเริ่มต้นเลี้ยงต้องอ่าน เขาคือ น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง จ.ปทุมธานี ที่ไม่นานมานี้เพิ่งได้ดูแลเจ้าทองแดง ตุ๊กแกหางบวม จนวาระสุดท้าย

 รักสัตว์เพราะ “อากง”

ตุ๊กแก หางบวมอาการไม่ดีขึ้นนำรักษาโรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง

ตรวจแล้ว! อาการ “ตุ๊กแก” ป่วยเหตุภาวะไขมันพอกตับ ไม่เกี่ยวหางบวม

หากถามถึงจุดเริ่มต้นของการเลือกเรียนสัตวแพทย์ของหมอวี คงต้องย้อนไปถึงรุ่นอากงสมัยที่สวนจตุจักรยังคงอยู่ที่สนามหลวง ขณะนั้นหมอวีอายุเพียง 3-4 ขวบแต่เห็น อากง และคุณอาเปิดฟาร์มเลี้ยงนก เลี้ยงปลา ทำให้รู้สึกชอบ จนกระทั่งเรียนชั้นมัธยมศึกษาสัตว์เลี้ยงตัวแรก คือ ปลา แต่ข้ามขั้นกว่าเมื่อ งู คือหนึ่งในสมาชิกที่หมอเลี้ยงด้วย 

ในเมื่อเลี้ยงก็ต้องรักและดูแลพวกเขาให้ดีที่สุดและยามป่วยไข้ก็ต้องรักษา แต่สัตว์ที่หมอวีเลี้ยงส่วนใหญ่ ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงทั่วๆ ไป อย่าง สุนัข หรือ แมว ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจให้อยากเป็น “สัตวแพทย์รักษาสัตว์ป่า”

เปิดสูตรเส้นทางสอบเข้า "คณะแพทย์" จากรั้ว กศน.ของ ว่าที่หมออาร์ม

ด้านการเรียนหมอวี เล่าว่า จะต้องเรียนเป็นคลินิกปศุสัตว์หรือสัตว์ใหญ่ และเป็นคลินิกสัตว์เล็ก รวมถึง คลินิกสัตว์ป่าด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หมอวีให้ความสนใจและตั้งใจเรียนมาก ซึ่งในสมัยก่อนยังไม่มี Google ให้ค้นหาข้อมูล สิ่งที่จะเพิ่มความรู้ได้ทางเดียวคือการปรึกษาอาจารย์ และหากวันใดสัตว์เลี้ยงของตนเองผิดปกติ หมอวีจะพยายามหาสาเหตุ หาวิธีเพื่อรักษาด้วยตนเองทำให้เหมือนการค่อยๆ เก็บ ค่อยๆ สะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ป่า สัตว์พิเศษ

ถึงตรงนี้หมอวีฝากถึงน้องๆ ที่มีอาชีพสัตวแพทย์เป็นอาชีพในฝัน จุดเริ่มต้นคือ “ต้องมีความชอบสัตว์จริง” เพราะเมื่อเราเลือกที่จะเรียนแล้วก็จะเป็นวิชาชีพ และต้องอยู่กับสิ่งนั้นไปตลอดชีวิตการทำงานของเรา

กรมอุทยานฯ เผยเลี้ยง “เจ้าแก้ว” ชั่วคราวเพื่อปรับพฤติกรรม

โรงกลั่นเบียร์ฮังการีแจกเบียร์ฟรีให้ผู้ใจบุญรับเลี้ยงสุนัขจรจัด

การรักษาสัตว์แตกต่างจากรักษามนุษย์ตรงที่โครงสร้างร่างกาย ระบบต่างๆ แต่ละสายพันธุ์ย่อมแตกต่างกัน ความเข้าใจนี้ หมอวี ขยายความว่า เพราะสัตว์แต่ละตัวแม้จะชนิดเดียวกันมีธรรมชาติที่ในตัวที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของพวกเขา แต่ที่สร้างความฮือฮาและทำให้หมอวีเริ่มเป็นที่รู้จักคือการรักษา “งูอนาคอนดา” 

ใครจะเชื่อว่า “งูอนาคอนดา” ถูกนำมาเลี้ยงในเมืองไทยแล้วเป็น 10 ปี เพียงแต่ในปัจจุบันมีจำนวนและความนิยมในการเลี้ยงสัตว์พิเศษ หรือ (Exotic Pet) มากขึ้นทำให้เห็นกลุ่มคนที่เลี้ยงเพิ่มขึ้น และเมื่อ งูยักษ์แห่งลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ป่วย ก็ต้องมาถึงมือหมอวี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการรักษาที่ “ยากมาก” เนื่องจากมีเนื้องอกที่อยู่ในจุดสำคัญ

“ มันเป็นเนื้องอกขนาดใหญ่มาก ด้วยความที่ตัวเขาใหญ่เรารู้สึกว่า  ปูดมานิดเดียวขยายออกมานิดเดียว แต่จริงๆตัวก้อนเนื้อ อยู่ตรงพื้นที่หัวใจมีหลอดเลือดใหญ่ และก้อนเนื้อหุ้มเส้นเลือดใหญ่ เลยจำเป็นที่จะต้องตัดเอาเส้นหลอดเลือดใหญ่ติดออกมากับก้อนเนื้อด้วย โดยการมัดหลอดเลือดทิ้งไว้เพื่อให้มันไปได้ข้างเดียว แต่ว่าอย่างน้อยที่สุด หนึ่งข้างก็ยังชดเชยได้เพราะมันมีทั้งเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ”

โรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงสู่คน

นอกจากสัตว์แปลกๆ ที่หมอวีรับรักษาแล้ว ปัจจุบันหมอวียังรักษาสัตว์ที่บาดเจ็บ หรือโดนทำร้าย หรือ ตรวจจับยึดมาจากการลักลอบแบบผิดกฎหมาย รวมถึงสัตว์ป่าจากกรมอุทยานแห่งชาติ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเงินตัวทอง (ตัวเหี้ย) นกเหยี่ยว นางอาย เต่า โดยอีกไม่นานหมอวีและกลุ่มเพื่อนๆ จะมี สมาคม Save Wildlife Thailand  เพื่อมาช่วยในส่วนของการ พักฟื้น หรือให้สัตว์ที่ถูกจับยึดมา ส่งมอบมา หรือป่วยและถูกจับมาได้มารักษาแล้วมาฟื้นฟูให้เแข็งแรง หากตัวไหนก็กลับสู่ธรรมชาติได้ก็จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

สัตว์ป่า...เดลิเวอรี่

หมอประจำช้าง

นอกจากนั้นแล้ว หมอวี ยังพูดถึงความนิยมในการเลี้ยงสัตว์พิเศษที่มีมากขึ้นและมีความแปลกขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาการถูกผสมกันไปมา จนได้สีที่แตกต่างและราคาสูง ซึ่งหัวใจสำคัญของการเป็นเจ้าของคือ “ต้องศึกษาวิธีการเลี้ยงให้ถูกต้องที่สุดและต้องควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนเองให้ได้” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “งู” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงูกที่ถูกเพาะเลี้ยงจากมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนั้นเจ้าของต้องศึกษาและควบคุมพฤติกรรมได้

LIFE STORY ตอนอื่นๆ คลิก

“ งู ถ้าเราเลี้ยงมันตั้งแต่เล็กหลังจากออกไข่ เราจะรู้พฤติกรรมเขาแล้วเราจะสามารถควบคุมเขาได้นะครับ ที่โรงพยาบาลมีงูจำนวนมาก คนเลี้ยงต้องศึกษาตัวเอง อยากเลี้ยงอะไรเลี้ยงได้ถูกกฎหมายไหม แต่มันก็อาจจะมีอันตรายกับตัวผู้เลี้ยงเอง แล้วถ้ามันตกใจแล้วคนอื่นไปช่วยจับอาจจะมีอันตรายกับผู้อื่นได้ คุณเป็นเจ้าของคุณต้องควบคุมได้ อันนี้คือหลักการอยู่แล้ว ถ้าเจ้าของสามารถความสัตว์นั้นๆได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่ก่อความเดือดร้อนหรือกรงไม่ได้หละหลวมไปจนหลุดไปกินสัตว์อื่น หรือไปทำร้ายสัตว์อื่น ก็ไม่ใช่ปัญหาครับ ”

แต่ในอีกมุมหนึ่งหลายคนอาจจะมองว่า สัตว์ที่ไม่ใช่ สุนัข แมว กระต่าย หรือสัตว์เลี้ยงทั่วไป ก็ควรอยู่ในป่า การเอามาเลี้ยงอาจดูเหมือนการไปกักขัง เบียดเบียน ซึ่งหมอวีอธิบายในประเด็นนี้ว่า มนุษย์เราใช้สัตว์มายาวนาน ทั้งใช้เพื่อเป็นอาหาร สันทนาการเป็นเพื่อน แต่สำคัญคือ “ต้องใช้อย่างไม่ฟุ่มเฟื่อย  ไม่ทำร้าย มีเมตตา ทำอย่างถูกต้อง ซึ่งคือการไม่ไปเบียดเบียนจากระบบนิเวศน์ จากป่า 

ดังนั้น จึงเชื่อว่าต่อไปจะยิ่งในความนิยมเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ส่งเสียง หรือ ไม่ซุกซน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เลี้ยงที่พักอาศัยอยู่คอนโดมิเนียม เช่น งู แพรรีด็อก  กระต่าย แปลกที่สุดคือ ไปจนถึง Axolotl(ปลาตีนเม็กซิโก) หรือหมาน้ำ  หมอวีจึงย้ำว่า

“มีความรับผิดชอบ เมื่อคุณเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ตัวนั้นแล้ว ความรับผิดเป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าวันหนึ่งคุณเห่อ วันหนึ่งคุณก็ไม่อยากเลี้ยงขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันความลำบากจะตกไปที่สัตว์”

 

TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ