กรมควบคุมโรคเผย “ไวรัสโคโรนา” ระยะฟักตัว 14 วัน หากไม่แสดงอาการ ไม่แพร่เชื้อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รายการ เป็นเรื่องเป็นข่าววันนี้ (27 ม.ค.) ตอบข้อซักถาม “ไวรัสโคโรนา” กลายพันธุ์ได้หรือไม่ ระยะแพร่เชื้อสังเกตอย่างไร

จากสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่แพร่ระบาดในประเทศจีน และยังพบในหลายประเทศ จากการเดินทางมาจากประเทศจีน ขณะที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนายืนยันแล้ว 8 ราย แพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน เนื่องจากหายดีแล้วจำนวน 5 ราย เหลืออีก 3 รายยังเฝ้าดูอาการ อย่างไรก็ตาม หลายคนกังวลว่า กลุ่มที่ไม่มีอาการ ระยะฟักตัว หากหลุดพ้นจากการคัดกรองจะเป็นอย่างไร และความรุนแรงของเชื้อมีความเสี่ยงกลายพันธุ์หรือไม่

“บิ๊กตู่” ลั่นมาตรการรัฐกรณีไวรัสโคโรนา ยึดหลัก “ชีวิตและสุขภาพของปชช.”

เปิดข้อสงสัย  “ไวรัสโคโรนา”  กลุ่มเสี่ยงไหนต้องระวัง!

วันนี้(27 ม.ค.63) รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมากให้คำตอบเรื่องนี้ ในตอน รับมือ! “ไวรัสโคโรนา”  โดยเชิญ นพ.สุวิช ธรรมปาโล ผอ.กองควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาให้ข้อมูล

นพ.สุวิช กล่าวถึงความรุนแรงของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่า ความรุนแรงของไวรัส หากเทียบกับตระกูลเดียวกัน อย่างโรคเมอร์ส มีอัตราเสียชีวิต 30 % โรคซาร์ส 10% แต่โรคไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ 4% ซึ่งขณะนี้ถือว่าน้อยกว่าโรคซาร์สและเมอร์ส และส่วนใหญ่ที่เสียชีวิต คือ ปอดอักเสบ การหายใจล้มเหลว เท่าที่พบจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งผู้เสียชีวิตก็จะเป็นเมืองจีนทั้งหมด นอกประเทศจีนยังไม่มี พบเพียงผู้ติดเชื้อ และในประเทศไทยก็ยังไม่มีการติดกันเอง ที่เราพบคือ มีประวัติเดินทางไปอู่ฮั่นในประเทศจีน

“เมื่อเราเรียนรู้โรคแล้ว เราก็จะหายามารักษา อย่างรายที่พบในไทยส่วนใหญ่มาในระยะแรก อาการไม่รุนแรง รักษาหายหมด มีปอดบวมเล็กน้อย ขณะนี้ก็ยังมีแพทย์กลุ่มหนึ่งกำลังศึกษา โดยนำยาต้านไวรัสเอชไอวีมารักษาด้วย ซึ่งมีแนวโน้มที่ดี” นพ.สุวิช กล่าว

สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองตามสนามบิน ที่มีการใช้เครื่องเทอร์โมสแกนนั้น นพ.สุวิช กล่าวว่า ส่วนหนึ่งสแกนว่าอุณหภูมิถึงเกณฑ์เป็นไข้หรือไม่ แต่จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ซักประวัติว่า มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มีการรับประทานยาแก้ไข้หรือไม่ หรือในรายผู้สูงอายุ ไม่มีอาการไข้ แต่มีอาการอื่นๆ แทน อาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราไม่ได้เชื่อแค่เครื่องเทอร์โมสแกนอย่างเดียว เราต้องตรวจดูอื่นๆ ด้วย  อย่างบางคนทานยาลดไข้มาก็อาจไม่แสดงอาการ

“อนุทิน” เรียกความเชื่อมั่นคืน! หลังคนเข้าใจผิดยกเลิกคัดกรอง “ไวรัสโคโรนา” สนามบิน

"ที่กังวลว่า ไม่แสดงอาการ ก็จะมีกลุ่มที่อยู่ในระยะฟักตัว ตรงนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ โดยจะใช้เวลาฟักตัว 14 วัน ซึ่งเป็นระยะฟักตัวนานที่สุดแล้วที่เราคิดว่าปลอดภัยแล้ว โดยหากเฝ้าระวังเกิน 14 วันแล้ว และไม่มีอาการก็ถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เรายังมีตะแกรงในการตรวจหลายชั้น อย่างที่สนามบิน เราตรวจทุกเที่ยวบิน และหากหลุดจากตระแกรงการตรวจเที่ยวบิน เราก็ยังมีด่านจากรพ.รัฐและเอกชน ในการตื่นตัวพร้อมรับ เช่น หากมีคนจีนที่มีอาการตอนหลังก็สามารถรับเข้าสู่การรักษา ห้องแยกโรคได้ อย่างไรก็ตาม ที่สนามบินจะมีบัตรให้กับผู้เดินทางว่า หากมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก และมาจากอู่ฮั่นใน 14 วันให้รีบติดต่อสายด่วนโทร.1442 และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที" นพ.สุวิช กล่าว

เมื่อถามว่าช่วงระยะเวลา 14 วัน จะสามารถแพร่เชื้อหรือไม่  หรือหากไม่แสดงอาการจะแพร่เชื้ออย่างไร  นพ.สุวิช กล่าวว่า   ช่วงที่ไม่มีอาการ จะไม่แพร่เชื้อ เพราะเชื้อจะเจริญไม่มากพอที่จะแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะแพร่ในช่วงที่มีการไอ จาม ออกมาเป็นละออง ดังนั้น หากป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ   หรือคนทั่วไปก็ต้องดูแลสุขลักษณะให้ดี

ทางการไต้หวัน สั่ง ปรับคนแพร่ข่าวปลอมไวรัสโคโรนา กว่า 3 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงาวน่า ภายในรายการยังได้โฟนอิน ดร.ทนพญ. สุภภรณ์ วัชรพฤษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวถึงความสำเร็จในการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรก  ว่า จริงๆเป็นทีมที่ร่วมกันทำงาน โดยนำรหัสพันธุกรรมไปเทียบเคียง จากการใช้เชื้อไวรัสของนักท่องเที่ยวที่มีอาการเข้าข่ายป่วยปอดอักเสบ และมีการเก็บตัวอย่าง จากนั้นก็ส่งตรวจห้องปฏิบัติการ 3 แห่ง คือ สถาบันบำราศฯ ตรวจเชื้อทั่วไป 33 ชนิด อีกส่งตรวจกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพฯ จุฬาฯ

“การตรวจทำตามที่โจทย์กรมควบคุมโรคให้มา คือ โรคทางเดินระบบหายใจ หลังจากนั้นเราก็นำมาตรวจในกลุ่มไวรัส 2 ตระกูล คือ  ไวรัสโคโรนา และอินฟลูเอนซา   โดยใช้วิธีพิเศษด้วยการเพิ่มปริมาณไวรัสแบบทั้งตระกูล หรือที่เรียกว่า Family wide PCR แล้วถอดรหัสพันธุกรรมออกมาจนพบเชื้อ”  

โอกาสกลายพันธุ์มีหรือไม่ ดร.ทนพญ. สุภภรณ์ ตอบว่า  จริงๆตัวไวรัสมีโอกาสหมด แต่อยู่ที่ว่าจะทำให้รุนแรงมากหรือน้อย แต่จากประวัติศาสตร์โคโรนาไวรัสไม่ได้กลายพันธุ์สุดโต่ง หรือสุดขั้ว ซึ่งอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ตอนนี้ก็ไม่น่าจะมากกว่านี้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาจากข้อมูลของจีนเกี่ยวกับอัตราป่วยและอัตราเสียชีวิตด้วย สิ่งสำคัญเราก็จะมีการถอดรหัสพันธุกรรมไปเรื่อยๆ เพื่อติดตามว่าจะมีการกลายพันธุ์เมื่อไหร่ อย่างไร

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ