สำเร็จ! นักวิจัยไทยสกัดข้าวหอมมะลิ-ข้าวหอมนิลใช้ในผลิตภัณฑ์ความงาม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ม.เกษตรฯ พร้อมทีมวิจัยประสบความสำเร็จสกัดข้าวหอมมะลิ-ข้าวหอมนิลใช้ผลิตภัณฑ์ความงาม

วันที่ 31 ม.ค. 2563   รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่รู้จักในชื่อ “อ.อ๊อด” เปิดเผยว่า ทีมวิจัยด้านเคมีอินทรีย์ ที่ตนเองเป็นหัวหน้าทีม ได้ดำเนินการสกัดสารสำคัญจากข้าวหอมมะลิและข้าวหอมนิล ที่ได้รับพันธุ์ตัวอย่างมาจากพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มีสารเบากลุ่มสารหอม และกรดไขมันสำคัญที่เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ความงามได้ดี

พณ. เตรียมใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิใหม่

ขึ้นราคา! ข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเตรียมขยับราคาขึ้นในอีก 2-3 เดือนนี้

รศ. ดร. วีรชัย กล่าวว่า ได้ตัวอย่างข้าวหอมมะลิและข้าวหอมนิลในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จากเกษตรกร อ.พนมทวน นำมาสกัดด้วยเทคนิคคาร์บอนไดอ๊อกไซด์วิกฤติยิ่งยวด หรือ Supercritical CO2 โดยใช้แรงดันที่สามารถทำให้เกิดภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันที่อยู่เหนือจุดวิกฤต จนคาร์บอนไดอ๊อกไซด์กลายเป็นสารไหล และสกัดดึงสารธรรมชาติที่สำคัญจากข้าวหอมทั้งสองพันธุ์ออกมา โดยใช้เวลาในการสกัดสั้น และได้บริมาณสารสกัดเยอะ สะอาด ปลอดภัย และที่สำคัญไม่สามารถดึงสารตกค้างอื่นในข้าวออกมาได้  จากนั้นได้นำไปวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องตรวจจับมวลรวม หรือ Gas Chromatograph-Mass Spectrometer (GC-MS) พบว่า ข้าวหอมมะลิ มีสารเบากลุ่มสารหอมลึกคล้ายเตย มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ในการผ่อนคลาย เช่นกลุ่มไพโรลีน 2-Acetyl-1-pyrroline ส่วนในข้าวหอมนิลพบสารหอมเฉพาะที่คล้ายกับกลิ่นป๊อบคอร์นคือ 2 acetyl pyridine และกลุ่มไพโรลีนอื่นๆ

“นอกจากนี้ยังพบกรดไขมันสำคัญในข้าวหอมทั้งสองชนิดคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ กรดลิโนเลนิกอัลฟา  หรือ โอเมก้า 3 กรดลิโนเลอิก ที่พันธะคู่อยู่ในตำแหน่งของโอเมก้า 6 และ โอเมก้า 9 นอกนั้ก็จะมีแว๊กซ์สายยาวที่เป็นประโยชน์ในการผสมในผลิตภัณฑ์ภัณฑ์เสริมความงามได้ เช่น น้ำตบ เซรั่ม ฯลฯ” รศ.ดร.วีรชัย กล่าว

รศ. ดร. วีรชัย กล่าวต่อว่า สารหอมและสารกลุ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ดังกล่าว เป็นที่นิยมในการใช้ผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่นครีม เซรั่ม น้ำตบ ส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวหน้า เป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าการใช้สารสกัดจากข้าวหอมไทย ในอุตสาหกรรมความงาม นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการของตน ยังได้ทดสอบสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ กับสารสกัดจากข้าวหอมทั้งสองชนิดพบว่า ข้าวหอมนิล มีค่าการต้านอนุมูลอิสระ IC50 (mg/mL) ± SD  อยู่ที่ 19.34 ± 0.3 โดยมีผลที่ดีกว่าข้าวหอมมะลิมีค่าอยู่ที่ 22.39 ± 0.8

 

อนึ่ง โครงการวิจัยนี้ ได้รับมอบทุนวิจัย โครงการ "การพัฒนาสารสกัดจากข้าวหอมมะลิและข้าวหอมนิลเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ความงาม” เพื่อเพิ่มมูลค่า สนับสนุนเกษตรกรไทย จาก บริษัท เอเค เก้าหนึ่งกรุ๊ป(AK 91) ผู้จัดจำหน่าย สินค้าภายใต้ แบรนด์ ไฮร่าบูล

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ