เช็ก!!! สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา “ฉบับมนุษย์เงินเดือน”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ฤดูกาลของการยื่นแบบภาษีออนไลน์ ของมนุษย์เงินเดือนเริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งปีนี้ขยายเวลาไปอีก 3 เดือนสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2563 ดังนั้นลองเช็กดูว่ามีอะไรที่พอจะเอามาลดหย่อนได้บ้าง ซึ่งหลักๆมีอยู่ด้วยกัน 5 กลุ่ม

กลุ่มแรก “ค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร ครอบครัว”

ลุ้น! มติ ครม.ขยายเวลายื่นภาษีออกไปถึง 30 มิ.ย.63

สำหรับการลดหย่อนส่วนตัวของผู้เสียภาษีลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท ซึ่งได้ทันทีที่ยืนแบบแสดงรายได้

ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท “แต่ต้องเป็นกรณีคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส และไม่มีรายได้  หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน ในส่วนนี้ควรเตรียมเอกสารทะเบียนสมรสไว้ด้วย”

ค่าลดหย่อนบุตรได้ 30,000 บาท ต่อลูก 1 คน นอกจากนี้ ยังมีค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ต้องเกิดตั้งแต่ปี 2561 ก็จะได้ลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามนโยบายส่งเสริมให้มีลูกเพิ่มขึ้น โดยเตรียมเอกสารสูจิบัตร หรือใบรับรองบุตรไว้ด้วย

ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 60,000 บาท ซึ่งสามีสามารถนำค่าใช้จ่ายนี้ไปหย่อนในรายการของตัวเองได้เช่นกันในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (รวมพ่อแม่ของคู่สมรส) แต่ถ้าพี่น้องและพี่น้องของเราใช้สิทธิ์ไปแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิตรงนี้ได้ ในส่วนนี้ให้เตรียมเอกสารรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา  

ค่าอุปการะคนพิการ หรือ คนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน หากเป็นผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และระบุชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ  ส่วนคนทุพพลภาพ  จะต้องเป็นผู้ทุพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน  มีใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีขอใช้สิทธิหักลดหย่อน  และมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)

http://download.rd.go.th/fileadmin/tax_pdf/pit/ly03_201251.pdf

ต่อมาเป็นกลุ่มของ “ประกัน เงินออม และการลงทุน”  เริ่มจาก ประกันสังคม สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี

เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

เบี้ยประกันสุขภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท (แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท)

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท

ประกันชีวิตคู่สมรส หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี )

เงินสะสมกองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท

เงินสะสม กอช. ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องซื้อและถือครองเอาไว้อย่างน้อย 7 ปี พ.ศ. โดยนับเวลาเกินปีใหม่มา 1 วันนับเป็นอีกปี

RMF ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี

ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

ดอกเบี้ยบ้าน ได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท

โครงการบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2558  ราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท นำ 20% ของค่าบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (ปีละ 4%)

บ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562  สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท บ้านต้องราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท

กลุ่มเงินบริจาค

มีตั้งแต่เงินบริจาคเพื่อ “สนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ”  หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึ่งประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว

“และในปีนี้ ยังมีค่าลดหย่อยเพิ่มเติม คือ ช่วยเหลืออุทกภัยน้ำท่วมจากพายุปาบึก ลดหย่อนได้ตามบริจาคจริง”

ส่วนเงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ประกาศ! ใคร ยื่นภาษี63 เอกสารครบ ได้คืนเร็ว ล่าสุดคืนแล้ว 5 แสนราย

รัฐบาล ตั้งกองทุนเพื่อการออมรูปแบบใหม่ " SSF" แทน "LTF" ชูลดหย่อยภาษีสูงสุด 30%

“ลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ”

ช้อปช่วยชาติ ซื้อสินค้าการศึกษาและกีฬา ซื้อหนังสือ ซื้อสินค้าโอทอป ที่ได้หมวดละไม่เกิน 15,000 บาท

ท่องเที่ยวไทยในเมืองหลัก 15,000 บาท เมืองรอง 20,000 บาท และ 2 อันรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท

ค่าซ่อมบ้านหรือรถจากพายุปาบึก ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท และซ่อมรถตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

ค่าซ่อมบ้าน และรถที่ประสบภัยจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และรถไม่เกิน 30,000 บาท

ยังมีเวลาเช็กแล้วก็ยื่นกรอกภาษีใครใช้พร้อมเพย์ได้เงินคืนใน 3 วัน 7 วัน ...

สัญญาณเริ่มชัด “กองทุน LTF” ลดหย่อนภาษีได้ถึงแค่สิ้นปี 62

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ