เปิดงานวิจัย “รายงานข่าวกราดยิงในที่สาธารณะ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ถือเป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ไม่มีใครคาดคิดกับเหตุการณ์ที่คนร้ายก่อเหตุกราดยิง ที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งในเหตุการณ์นี้ บทบาทสื่อมวลชน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในหลายแง่มุมหนึ่งในนั้นคือ การรายงานข่าว รายงานเหตุการณ์สด ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจและได้กล่าวถึง รายงานข่าวกราดยิงในที่สาธารณะ

“ข้อแนะนำนี้ไม่ได้มีเป้าประสงค์ที่จะแนะนำในเรื่องของความรุนแรงจากแก็ง หรือ การฆาตกรรม-ฆ่าตัวตาย (murder-suicide) (เช่น ความรุนแรงจากคู่ชีวิต)”

ชูแนวทางนำเสนอข่าวสื่อมวลชนสหรัฐ ไม่ให้ค่าคนร้าย!!

วิเคราะห์สาเหตุกราดยิงโคราช เพื่อวางแนวทางป้องกันในอนาคต

บทวิจัยกล่าวถึง “กราดยิงในที่สาธารณะ” โดยระบุถึง  9 จุดที่ “อย่าแชร์ อย่ารายงาน”

1.อาการทางจิตประสาท ทำให้ก่อเหตุ

2.เหตุเกิดเพราะเพียงปัญหาเดียว

3.พูดชื่อผู้ก่อเหตุบ่อยครั้ง

4.จัดวางภาพให้ผู้ก่อเหตุเหมือนฮีโร่ โดดเด่น เป็นเหยื่อ หรือ ผู้ชอกช้ำ

5.ใส่ถ้อยคำผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่เรียกผู้ก่อเหตุว่า “บ้า” “คลั่ง”

6.การคาดเดา หรือ ให้แหล่งข่าวคาดเดา เกี่ยวกับสภาพทางจิตของผู้ก่อเหตุ

7.ภาพสยดสยองจากการก่อเหตุ

8.การคาดเดา แรงจูงใจต่อเจ้าหน้าที่ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ

9.โดย ใช้ภาพผู้ก่อเหตุ ขณะถืออาวุธ หรือ แต่งตัวคล้ายทหาร

นายกฯ จวกสื่อรายงานข่าว จนท.ขณะปฏิบัติงาน ทำ "ทหารคลั่ง" รู้ความเคลื่อนไหว

สิ่งที่ต้องแชร์และรายงาน

ย้ำว่า “ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตส่วนใหญ่ ไม่นิยมความรุนแรง”

อธิบายว่า “มีหลายปัจจัยที่นำมาสู่การก่อเหตุ”

นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ผู้ก่อเหตุ และอธิบายว่า “เป็นพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายและอันตราย”

โดย “ใส่ถ้อยคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ เล่าสิ่งที่ผู้ก่อเหตุกระทำหรือแสดงออก”

ปรึกษา “ขอความเห็นผู้เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตใจ เพื่ออธิบายว่า การก่อความรุนแรงมีความซับซ้อนและมักจะมาจากหลายแรงขับ

ละเอียดอ่อนและ “ระมัดระวังในการเลือกภาพมานำเสนอพูดถึง และ เล่าเรื่องของเหยื่อ”

เมื่อใช้ภาพของผู้ก่อเหตุ ให้ตัดมาเฉพาะใบหน้า และ “ตัดอาวุธ ชุดเครื่องแบบ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจดลใจให้เกิดการเลียนแบบ”

สำนักข่าวตปท. รายงานข้อมูลทหารกราดยิงโคราช ตั้งคำถามประเด็นอาวุธปืน

อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงเสมอว่าการรายงานข่าวความรุนแรง อาจมีอิทธิพลและส่งผลต่อผู้อื่น ดังนั้น “ต้องลดการรายงานที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ก่อเหตุ เพราะอาจทำให้มีคนเทียบเคียงกับตนเองและเอาอย่าง”

ขณะที่การใช้ภาพควรหลีกเลี่ยงการนำภาพของผู้ก่อเหตุที่อยู่คู่กับเหยื่อ และพยายามใช้ภาพของผู้ก่อเหตุให้น้อยที่สุด “โดยเฉพาะในข่าวความคืบหน้าสถานการณ์”

หัวใจสำคัญ“ระลึกว่าครอบครัวของทั้งเหยื่อและผู้ก่อเหตุล้วนได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้ง และเจ็บปวดจากเหตุการณ์  จึงควรละเอียดอ่อนมีความเห็นอกเห็นใจในในการสัมภาษณ์”    

สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นเมื่อรายงานข่าวกราดยิงในที่สาธารณะ

สามารถทำให้สาธารณชนเรียนรู้ ช่วยสังเกตและตอบสนองอย่างถูกทางต่อผู้ที่อาจก่อความรุนแรง

ปลอบประโลมใจผู้รอดชีวิต ครอบครัว และสังคม รวมทั้งครอบครัวผู้ก่อเหตุ

ชี้ให้สาธารณชนรับรู้สัญญาณเตือนของพฤติกรรมที่อาจก่อความรุนแรง

เอื้อให้ประชาชนช่วยมองหาความช่วยเหลือต่อตนเองหรือผู้อื่นที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินพฤติกรรมรุนแรง

ที่มา : www.reportingonmasshootings.org

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ