วิเคราะห์สาเหตุกราดยิงโคราช เพื่อวางแนวทางป้องกันในอนาคต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักอาชญาวิทยาฯ ม.รังสิตวิเคราะห์เหตุกราดยิงอาจมาจากเครียดสะสม โดยเฉพาะปมเรื่องงานต้องสอบสวนหาสาเหตุ เพื่อวางแนวทางป้องกัน ชูกรณีสหรัฐตรวจสอบที่พักคนร้ายหลังก่อเหตุทันที

จากเหตุการณ์การกราดยิงโคราช จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้น ช่วงที่ผ่านมามีการนำเสนอข้อมูลที่อาจสุ่มเสี่ยงจนเกิดการเลียนแบบ ทั้งการนำเสนอชื่อนามสกุล  รูปภาพ การนำเสนอข่าวถี่ๆ เกี่ยวกับบุคคลนี้ จนอาจเกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นบุคคลดัง ซึ่งตรงนี้ถือเป็นอันตราย โดยผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา และอาชญาวิทยา ในต่างประเทศออกมาเตือนว่า การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับคนร้าย รูปคนร้าย การรายงานสดเหตุการณ์ การนำเสนอคลิปเหตุการณ์สะเทือนขวัญ จากผลการศึกษาอาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบที่ผิดๆได้

ชูแนวทางนำเสนอข่าวสื่อมวลชนสหรัฐ ไม่ให้ค่าคนร้าย!!

กองทัพบกเร่งสอบหาข้อมูลเชื่อมโยงคดีกราดยิงโคราช

เกิดคำถามว่า  ควรมีการหาสาเหตุของการก่อเหตุครั้งนี้หรือไม่ เพราะหากเราทราบข้อมูลการก่อเหตุก็จะสามารถนำไปสู่แนวทางการป้องกันในอนาคต..

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ มหาวิทยาลัยรังสิต  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชญาวิทยาว่า ผู้ก่อเหตุครั้งนี้ หากวิเคราะห์สาเหตุว่ามาจากอะไรนั้น ก็อาจพูดได้เพียงว่า 1.มีความเครียดสะสม ซึ่งอาจมาจากเรื่องส่วนตัวที่เกี่ยวกับการค้านายหน้าที่ดิน และ2. อาจมาจากความเครียดสะสมเรื่องการทำงาน เรื่องนี้สำคัญควรมีการสอบสวนเพื่อหามูลเหตุให้ชัดเจน เพราะอย่างสหรัฐอเมริกามีการกราดยิงเช่นกัน และมีการตรวจสอบหาสาเหตุ เพื่อวางมาตรการแนวทางป้องกันเหตุร้ายลักษณะนี้ในวันข้างหน้า

เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ผู้ก่อเหตุมีพฤติกรรมเลียนแบบ รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าวว่า พฤติกรรมเลียนแบบก็เป็นไปได้ อาจมาจากการเรียนรู้จากสื่อ ที่เรียกว่า Copycat ได้ ซึ่งในสหรัฐอเมริกา หลังเกิดเหตุกราดยิงจะมีการตรวจสอบที่พัก หรือที่อยู่อาศัยของผู้ก่อเหตุ ซึ่งพบว่าผู้ก่อเหตุมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการกราดยิงในอดีตที่ผ่านมา  ส่วนการเลียนแบบภาพยนตร์ก็อาจเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน เพราะบางคนมีความเครียดสะสม แต่หากมีครอบครัวอบอุ่น มีความรักความเอาใจใส่ก็จะช่วยได้

“ในเรื่องความเครียดจากการทำงานก็สำคัญ อย่างทหารชั้นผู้น้อยก็อาจทำให้รู้สึกไม่ได้รับการยอมรับก็เป็นไปได้  กรณีนี้อาจมี 2 โลก เห็นจากโลกออนไลน์เขาแสดงตัวตนมาก  และเมื่อมีคนเข้ามากดไลท์จำนวนมากในเฟซบุ๊ก เขาก็อาจเข้าใจว่าโลกออนไลน์คือเรื่องจริง ทั้งๆที่เป็นโลกสมมติ สังเกตจากการไลฟ์สด แสดงว่าเขาจินตนาการว่าเขาเป็นวีรบุรุษ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะวีรบุรุษต้องสร้างความดี ไม่ใช่แบบนี้ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ ควรมีการตรวจสอบสาเหตุและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก” รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ กล่าว 

เปิดงานวิจัย “รายงานข่าวกราดยิงในที่สาธารณะ”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ