จุฬาฯ พัฒนายารักษาไวรัสโคโรนาผ่านต้นยาสูบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วม กับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดลองนำโครงสร้างรหัสของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มาสังเคราะห์ ปรับแต่งจนผลิตให้ได้ในต้นยาสูบ ก่อนส่งหน่วยงานต่างประเทศสกัดเป็นยารักษา

ไวรัสโคโรนา : แพทย์จุฬาฯ เตือนอย่าซื้อยากินเอง หากสงสัยติดเชื้อ "ไวรัสโคโรนา"

กรรมการโรคติดต่อประชุมรับมือ หลังพบผู้ป่วยอู่ฮั่นที่ญี่ปุ่นอีก 1 ราย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงการใช้ยารักษาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019  ในขณะนี้ว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ร่วม กับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างทดลอง นำโครงสร้างรหัสของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มาสังเคราะห์ในแบคทีเรีย และ ปรับแต่งจนผลิตได้ในต้นยาสูบ ซึ่งเป็นต้นยาสูบชนิดเฉพาะ ในการผลิตยาใช้รักษาในการฆ่าเชื้อโรค

จากนั้น จะนำเมล็ดพันธุ์จากต้น ส่งให้หน่วยงานต่างประเทศสกัดเป็นสารบริสุทธ์ เพื่อเป็นยารูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดในการรักษา หรือเรียกว่า “ยาภูมิคุ้มกันเฉพาะเจาะจง” หรือ โมโนโครโนล แอนติ บอดี้  การใช้ยาภูมิคุ้มกันเฉพาะเจาะจง เคยเกิดขึ้นแล้ว ในกรณีผู้ติดเชื้ออีโบลา ก็มีการนำภูมิคุ้มกันจากผู้ที่รอดชีวิตจากเชื้ออีโบลามา แยกหาภูมิคุ้มกัน ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสนั้นได้ จากนั้นก็พัฒนาจนกระทั่งได้ภูมิคุ้มกันที่อยู่ในน้ำเหลืองแล้วก็ปรับแต่งจนผลิตได้ในต้นไม้ หรือ ต้นพืช จากนั้นนำไปใช้ในผู้ป่วย ที่ผ่านมาช่วยรักษาอีโบลาได้ประมาณ 70-90%

ทั้งนี้ ปัจจุบัน  กระทรวงสาธารณสุข สถาบันบำราศนราดูร มีการใช้ตัวยา 3 ตัว แล้วแต่อาการผู้ป่วย ได้แก่ ยากลุ่มหนึ่ง ควบรวมกับยารักษาเอดส์  ซึ่งไม่ใช่ยาตัวเดียวกับที่ รพ.ราชวิถี เคยเปิดเผย ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ ยาที่ออกฤทธิ์ ไประงับการเพิ่มจำนวนของไวรัส ซึ่งเป็นยาตัวเดียวกันที่เคยรักษาโรคพิษสุนัขบ้า และต้องนำเข้ามาจากเมืองนอก ซึ่งยาภูมิคุ้มกันเฉพาะเจาะจง หรือ โมโนโครโนล แอนติ บอดี้ อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นตัวยาครั้งนี้ หากทำสำเร็จ จะเป็นอีกความหวังในการค้นหายาที่รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ