นักวิชาการห่วงไทยเข้าร่วม CPTPP หวั่นกระทบการควบคุมยาสูบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการกังวลหลังมีกระแสข่าวไทยลงนามข้อตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP อาจกระทบการควบคุมยาสูบ

วันที่ 13 ก.พ. 2563 ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ตามที่มีกระแสข่าวในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งมีการพิจารณาจะอนุมัติให้ไทยเข้าร่วมลงนามในข้อตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP โดยมีท่าน ‘สมคิด จาตุศรีพิทักษ์’ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น

แนะแก้ปัญหาบุหรี่ต้องใช้ชุมชนเป็นฐาน หลังมาตรการภาษีเริ่มถึงจุดอิ่มตัว

“บุหรี่ไฟฟ้า” ภัยร้ายที่ต้องเฝ้าระวัง

การตกลง CPTPP นี้แม้จะมีบทยกเว้นในเรื่อง มาตรการควบคุมยาสูบที่สามารถให้รัฐภาคีปฏิเสธการใช้กลไกอนุญาโตตุลาการที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถใช้ฟ้องรัฐได้โดยตรง ตามข้อบท 29.5 แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวเป็นเพียงข้อยกเว้นเรื่อง การลงทุนเท่านั้น ในข้อบทอื่นๆ ยังคงอาจมีผลกระทบต่อการควบคุมยาสูบได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อบทด้าน “ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่มีการกำหนดให้สามารถนำ “กลิ่น” มาจดทะเบียนเป็น “เครื่องหมายการค้า” ได้ ซึ่งกลิ่นของผลิตภัณฑ์ยาสูบต่างๆ เช่น กลิ่นผลไม้ในยาสูบ หรือ เมนทอล มีผลต่อการดึงดูดเยาวชนและทำให้ยากต่อการเลิกบุหรี่  อาจทำให้การห้ามสารชูรสในบุหรี่เหล่านี้ประเทศไทยจะทำไม่ได้ในอนาคต เพราะเป็น “เครื่องหมายการค้า” อันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง

ดร.วศิน กล่าวอีกว่า ขณะที่ทั่วโลก  กำลังพยายามห้ามการชูรสในบุหรี่ เช่น เมนทอล และสารชูรสอื่นๆ  ซึ่งสหภาพยุโรปได้เริ่มห้ามใช้เมนทอลในพฤษภาคม ปี 2563 นี้ ด้วยเหตุผลว่า ช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เมนทอลเลิกสูบบุหรี่ เมนทอลเป็นที่นิยมของวัยรุ่นการห้ามเมนทอลอันเป็นการลดการดึงดูดย่อเยาวชน และสามารถลดการเริ่มต้นสูบบุหรี่ได้ ตลอดจน ข้อบทว่าด้วยความสอดคล้องของข้อบังคับ (regulatory coherence) ของ CPTPP อาจส่งผลให้การออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ของภาครัฐอาจถูกแทรกแซงจากองค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะกฎหมายด้านสุขภาพหรือการสาธารณสุข หรือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เช่น บริษัทบุหรี่สามารถแทรกแซงการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของกระทรวงสาธารณสุขได้โดยผ่านกลไกในข้อบทนี้ ที่สำคัญ หวั่นกระทบต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีหน้าที่ปฏิบัติกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วย

  “การเจรจา CPTPP มีผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะ ประเด็นเรื่อง สุขภาพ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ พิจารณาในเรื่องนี้ด้วย อย่าใจร้อน จนลืมผลประโยชน์เรื่องสุขภาพของคนไทยไป” ดร.วศิน กล่าว

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ