จุฬาฯ เดินหน้า วิจัยยารักษาไวรัสโควิด-19 จากต้นยาสูบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องกับการทดลอง พัฒนายาและวัคซีนสำหรับไวรัสโควิด19 จากต้นยาสูบ โดยทีมวิจัยจาก คณะแพทยศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหากกระบวนการทดสอบสำเร็จ จะสามารถส่งหน่วยงานต่างประเทศสกัดเป็นยารักษาโรคได้

กัมพูชารอผลตรวจร่างกายผู้โดยสาร "เรือเวสเตอร์ดัม"

ไวรัสโคโรนา: เปิดข้อมูลกลไกเชื้อไวรัสโคโรนา “ยา-วัคซีน” ชนิดไหน..รักษาได้

การพัฒนายาและวัคซีนสำหรับไวรัสโควิด19 จากต้นยาสูบ ความร่วมมือของทีมวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วม กับ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พยายามจะหาทางเลือก ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส โควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้  

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังว่า ปกติคนเราหากมีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดี เพื่อยับยั้งการทำงานของไวรัส แต่กรณีของการติดเชื้อไวรัส โควิด 19 ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ร่างกายสร้างแอนติบอดีได้ไม่ทันเวลา ทีมวิจัยจึงมีแนวคิดใช้ แอนติบอดีเข้าไปยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส ทดแทน ส่วนที่เลือกใช้ต้นยาสูบเป็นแหล่งผลิตแอนติบอดี เนื่องจากมีการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าต้นยาสูบเป็นแหล่งผลิตแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้น เหมาะกับการใช้ในสถานการณ์การระบาดของโรคที่จำเป็นต้องพัฒนาวัคซีนและยารักษาอย่างรวดเร็ว

สำหรับการสกัดโมโนโคลนอลแอนติบอดี จากพืช ทีมวิจัย จะใช้ต้นยาสูบที่มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย เป็นคนละชนิดกับยาสูบที่ใช้สูบในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์ที่มีปริมาณนิโคตินต่ำ อายุประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะนำส่งแบคทีเรียที่มีรหัสพันธุกรรมแอนติบอดี โควิด 19 เข้าไปในใบยาสูบโดยใช้แรงดันสุญญากาศ เมื่อครบกำหนด 4-7 วัน จะตัดต้นยาสูบ ออกมาสกัดโปรตีนด้วยการปั่นใบยาสูบผสมกับสารละลายบัฟเฟอร์ กรองกากปั่นแยกตะกอนให้ได้เฉพาะสารสกัดใส สู่กระบวนการทำให้แอนติบอดีบริสุทธิ์ จากนั้น นำไปทดลองประสิทธิภาพการยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โควิด 19 ก่อนนำไปพัฒนาต่อเป็นยารักษา

โมโนโคลนอลแอนติบอดีจากพืชประสบความสำเร็จ ในการรักษาผู้ป่วยชาวอเมริกันที่ได้รับเชื้อไวรัส Ebola เมื่อปี 2557  นอกจากนี้แล้ว ชิ้นส่วนของไวรัสและโมโนโคลนอลแอนติบอดีจากพืช ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจโรคได้ ซึ่งจะช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น และควบคุมการระบาดของโรคได้อีกทางหนึ่ง

จุฬาฯ พัฒนายารักษาไวรัสโคโรนาผ่านต้นยาสูบ

สธ.แจงล่าสุดเรือท่องเที่ยวยังไม่เทียบท่า แค่แวะพักภูเก็ต

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ