ปลาพญานาค (ออร์ฟิช) เยือนญี่ปุ่น ฤาภัยพิบัติจะบังเกิด!?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โลกออนไลน์ญี่ปุ่นแชร์วิดีโอปลาออร์ฟิชว่ายเข้ามายังระดับน้ำตื้น บริเวณท่าเรือในจังหวัดฟุกุอิ ซึ่งคนในท้องถิ่นเชื่อกันว่าการมาเยือนของปลาชนิดนี้เป็นสัญญาณเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์ประเทศญี่ปุ่นไม่น้อย เมื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวญี่ปุ่น @toythefishing ได้แชร์ภาพปลาออร์ฟิช (Oarfish) สองตัวกำลังแหวกว่ายอยู่ในทะเล บริเวณท่าเรือเขตจังหวัดฟุคุอิ (ทางเหนือของจังหวัดเกียวโต) ซึ่งความเชื่อของชาวญี่ปุ่น ถ้าเห็นปลาออร์ฟิชปรากฏตัว อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยพิบัติ เพราะพวกมันอาจรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนใต้น้ำจากแผ่นดินไหวหรือสึนามิ

"ปลาช่อนยักษ์อเมซอน" ตัวทำลายระบบนิเวศ

คลิป วิดีโอ ปลาออร์ฟิช 2 ตัว ว่ายน้ำคู่กัน https://twitter.com/i/status/1228578392758292480

ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น ปลาออร์ฟิช ปลาออร์ หรือปลาริบบิ้น เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ “ปลาพญานาค” ส่วนทางคนญี่ปุ่นจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า “ริวงูโนะสึไค (Ryuuguu no Tsukai)” หรือ "ผู้ส่งสารจากวังพญามังกร/จากวังเทพแห่งท้องทะเล"

ปลาพญานาคเป็นสัตว์ที่ถูกพบเห็นได้ยากมาก เนื่องจากมักอาศัยอยู่ใต้ทะเลในระดับลึกกว่า 50-250 เมตรลงไป และอาจพบได้ที่ความลึกถึง 1,000 เมตร แต่เมื่อปรากฏตัวแต่ละครั้งก็จะสร้างความสนใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับชาวญี่ปุ่นที่เชื่อกันว่าปลาพญานาคนั้นเปรียบเสมือนตัวแทนผู้ส่งสารจากวังของพญามังกร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเล ที่จะมาเตือนผู้คนว่าภัยพิบัติกำลังจะมาเยือน

กระแสความเชื่อนี้แพร่กระจายเป็นวงกว้างในปี 2554 เนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่จังหวัดฟุกุชิมะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน มีผู้เชื่อมโยงภัยพิบัติดังกล่าวกับเหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2553 ที่มีการพบปลาออร์ฟิชจำนวนมากผิดปกติบนชายฝั่งของญี่ปุ่น

สัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่มีชีวิตอยู่นานกว่าไดโนเสาร์

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยหรือผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดออกมาว่าการมาเยือนของปลาพญานาคมีความสอดคล้องกับสถิติการเกิดแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่น ๆ ดังนั้นแล้วการพบเห็นปลาพญานาคจึงไม่ใช่เครื่องชี้วัดการเกิดภัยพิบัติที่น่าเชื่อถือ ควรเสพข่าวอย่างมีสติ รอฟังข่าวจากสื่อที่น่าเชื่อถือ และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติจริง

ทำไมญี่ปุ่นพร้อมรับภัยพิบัติ

เมื่อเดือน ก.พ. 62 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ปลาพญานาคมาติดแหและเกยตื้นเกือบสิบตัวบริเวณอ่าวโทยามะ จนเกิดกระแสความตื่นกลัวเช่นเดียวกัน ซึ่ง อินามูระ โอซามุ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้กับสื่อ CNN ว่า พฤติกรรมของปลาพญานาคอาจเกิดจากการไล่ตามอาหารจำพวกกุ้งและแพลงก์ตอนที่ว่ายเข้าใกล้พื้นผิวน้ำจนถูกแหจับหรืออาจถูกซัดมาเกยตื้นก็เป็นได้

ปลาพญานาคมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวมีอวัยวะลักษณะคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น

ปลาพญานาคยังเป็นปลาที่เคยถูกบันทึกเอาไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ (Guinness World Records) ว่ามีกระดูกสันหลังยาวที่สุดในโลก ความยาวประมาณ 11 เมตร แต่ส่วนใหญ่จะพบเป็นซากศพหรือมีสภาพใกล้ตายที่ลอยมาเกยตื้นตามชายฝั่งมากกว่าที่จะพบเห็นแบบมีชีวิตอยู่

ตอน ย้อนตำนาน พญานาค

ขอบคุณภาพจาก AFP

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ