Street Food อาหารข้างทาง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อาหารกับมนุษย์ ถือเป็นสิ่งคู่กัน เกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น เรียกได้ว่ามีวิวัฒนาการควบคู่กันมาอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ จากเดิมที่อาหารเป็นแค่สิ่งดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบัน อาหารยังเกี่ยวพันกับศิลปะ สะท้อนความเป็นตัวตน วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ อาหารจึงไม่ใช่แค่สิ่งดำรงชีวิตมนุษย์ แต่ยังเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งของรสชาติที่มนุษย์สัมผัสผ่านลิ้น

ประเทศไทย เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครัวโลก นอกจากวัตถุดิบอันอุดมสมบูรณ์ที่เรามีอยู่ในประเทศ  เรายังมีวัฒนธรรมการกินที่หลากหลาย อาหารหลายอย่างเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และด้วยวัฒนธรรมการกินที่อิสระเสรี ก็นำมาสู่ สตรีต ฟู้ดส์ จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

กว่าจะเป็น “สารตั้งต้น” รายการสารคดีข่าว เจ้าของรางวัลดีเด่น ด้านสิทธิมนุษยชนจากแอมเนสตี้

บันทึกปากคำของ”คนที่ถูกมองข้าม” เด็กกำพร้า ลูกของผู้เห็นต่างจากรัฐ ตอนจบ

นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาประเทศไทยโดยมีหมุดหมายหลักเพื่อมาลิ้มรส สตรีต ฟู้ดส์ ตามเมืองใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นย่านเยาวราชกรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา หัวหิน หรือหาดใหญ่เสน่ห์ของสตรีต ฟู้ดส์ ที่ราคาถูก เป็นอาหารท้องถิ่น รสชาติดี  หาซื้อได้ง่ายตลอดเวลา ทำให้ช่วง2-3ปีหลัง มิชลินเข้ามาแนะนำอาหารในไทยจำนวนมาก  ถึงขนาด จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดตัว Michelin Guide Bangkok คู่มือแนะนำร้านอาหารในกรุงเทพฯ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า  สัดส่วนการท่องเที่ยวเชิงอาหารปี 2562 แค่ครึ่งปีแรก นักท่องเที่ยวใช้จ่ายกับค่าอาหาร 80,783 ล้านบาท แยกเป็น

Street Food                     40.45 %
ภัตตาคาร                         30.45 %
ร้านอาหารท้องถิ่น              28.77 %
สวนผลไม้                           0.33 %

ถ้ามองจากตัวเลขเม็ดเงินแค่เพียงครึ่งปี เส้นทางของพ่อค้าแม่ค้า สตรีต ฟู้ดส์ ดูสวยงาม รัฐควรให้การส่งเสริม เพราะสร้างรายได้เข้าประเทศไม่น้อย  แต่ สตรีต ฟู้ดส์ ที่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าขายอาหารข้างถนน ก็คือบนฟุตบาท ก็ทำให้บางหน่วยงานของรัฐต้องเข้ามาจัดระเบียบ เส้นทางที่ดูเหมือนจะสวยงามจึงเหมือนเต็มไปด้วยขวากหนาม ยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร เรียกได้ว่า แทบจะขายไปวิ่งหนีไป เมื่อเทศกิจของบางเขตไม่อนุญาตให้ขายอาหารริมทางหรือบนฟุตบาท

“เมื่อก่อนขายของอยู่ในพัฒน์พงษ์ไนท์พลาซ่า ขายไม่ดีเลยออกมาขายอาหารรถเข็น ตอนแรกขายกลางวัน พอขายไปสักพักเขาให้มาขายกลางคืน ขายไปขายมายกเลิกไปเลย ไม่ให้ขาย ไม่ให้มีทั้งกลางวันกลางคืน ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ไปขายในซอย พอเย็น ๆ ก็ค่อย ๆ เข็นรถไปเรื่อย ๆ ออกมาตรงถนนใหญ่ พอเทศกิจมาก็เข็นหลบเข้าซอย” สมศรี  แม่ค้าส้มตำย่านหัวลำโพง สะท้อนความอิหลักอิเหลื่อของนโยบายรัฐ  

เมื่อรายได้จาก สตรีต ฟู้ดส์ มีไม่น้อยและรัฐก็อยากได้เงินตรงนี้  รัฐจึงเข้ามาจัดโซนขายอาหาร โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ที่มีโซนขายอาหารหลายจุด  และจุดผ่อนผันหลายจุด ดูเหมือนว่า ทุกอย่างจะลงตัว แต่ปรากฎว่า “จุดผ่อนผันมีค่อนข้างจำกัด เมื่อก่อนมี 600 เกือบ 700 จุด แล้วก็ลดลงเหลือ อยู่100-200 กว่าจุด  จุดผ่อนผัน 600 จุด รองรับแผงลอยได้ประมาณ 20,000 กว่าเจ้า ตอนนี้เหลืออยู่ 100 กว่าจุดรองรับได้ประมาณ 8,000 เจ้า ตัวเลขมันไม่สมดุลกับสภาพจริงที่มันเกิดขึ้น ก็คงจะเหมือนเป็นแมวจับหนู”   ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ระบุถึงสาเหตุที่การจัดระเบียบของรัฐไม่ได้ผล

หาก สตรีต ฟู้ดส์ คือ เอกลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยที่รู้จักกันระดับโลก รัฐก็ควรมียุทธศาสตร์การจัดการให้เป็นระบบ เพื่อยกระดับให้อาหารริมทางมีมูลค่ามากขึ้น  “ไม่ใช่การท่องเที่ยวส่งเสริม แต่เทศกิจท้องถิ่นไล่จับ” ความเป็นสตรีต ฟู้ดส์ ของไทย ก็อาจจะไม่ได้ หมายถึง ถนนสายอาหาร แต่อาจ หมายถึง รถเข็นอาหารที่วิ่งหนีเจ้าหน้าที่บนถนนแทน

ศพนี้มีเรื่องเล่า “โทโมโกะ คาวาชิตะ”

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ