คลังเตรียมเคาะแจกเงิน 14 ล้านคนสู้พิษโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระทรวงการคลังเตรียม “แจกเงิน” 14 ล้านคน วงเงิน 1 แสนล้านบาท หนึ่งในชุดมาตรการระยะสั้นช่วยประคับประคองเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ในวันที่ 6 มี.ค. 63 ที่จะถึงนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอนุมัติ มาตรการ “ดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 1” ในการดูแลประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 โดยชุดมาตรการที่ 1 นี้ เป็นชุดมาตรการระยะสั้นที่มีความจำเป็นและเห็นผลรวดเร็ว เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดวิกฤติ

คลังทุ่มแสนล้าน แจกเงิน 14 ล้านคน ให้หัวละ 1-2 พันบาท สู้วิกฤต โควิด-19

มาตรการชุดที่ 1 วงเงิน 1 แสนล้านบาท

ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยาและความช่วยเหลือในครั้งนี้ ครอบคลุมประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 2 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ

  • จะเป็นการโอนเงินเข้าไปโดยตรงผ่านพร้อมเพย์ (PromptPay) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล เน้นกลุ่มที่มีรายได้น้อย อาชีพอิสระ และเกษตรกร ที่มีรายได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน จากฐานข้อมูลผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ ที่มีอยู่ 14 ล้านคน จะไม่มีเงื่อนไขซับซ้อนในการนำเงินไปใช้ หากผ่านการตรวจสอบสิทธิแล้วสามารถใช้จ่ายได้เลย จำนวนเงินที่แจกกำลังพิจารณาว่าจะอยู่ระหว่าง 1,000 - 2,000 บาท และกำลังพิจารณาว่าจะแจกครั้งเดียวหรือทยอยให้เป็นรายเดือน เพราะชุดมาตรการต้องการให้มีผลทันทีในช่วง 3 - 4 เดือนข้างหน้า
  • ผู้ต้องการใช้สิทธิ์จะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเพื่อตรวจสอบสิทธิเหมือนกับโครงการของรัฐบาลก่อนหน้านี้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมาตรการชิมช้อปใช้และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ผู้ถือบัตรบางส่วนที่เข้าเกณฑ์ก็จะรับการแจกเงินด้วย ส่วนมาตรการชิมช้อปใช้เฟส 4 ต้องชะลอไปก่อน
  • เงินส่วนนี้เพื่อให้ประชาชนนำไปซื้อสินค้า และทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ เกิดการซื้อ การผลิต การจ้างงาน การซื้อวัตถุดิบ

  1. ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

  • ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายกลาง ครอบคลุมทั้งภาคการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
  • มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) จะใช้กลไกของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์แบบต้นทุนต่ำ ให้ธนาคารพาณิชย์ไปปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการในราคาที่ถูกลง
  • มาตรการทางภาษี อาจยกเว้นหรือลดภาษี หรือนำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้มากกว่า 1 เท่า เพื่อให้เกิดเม็ดเงินส่วนต่างจากภาษีที่ลดไป หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินหมุนเวียน ในช่วงที่การการค้าขายไม่เหมือนเดิม และช่วยดูแลลูกจ้าง จูงใจให้ผู้ประกอบการไม่เลิกจ้างแรงงาน

สตม.- ทอท. ยืนยันมาตรการตรวจเข้ม “ผีน้อย”

พร้อมเริ่มทันที

นายอุตตมกล่าวว่า “หากชุดมาตรการผ่าน ครม.แล้ว จะสามารถเริ่มกระบวนการปฏิบัติการได้ทันที ไม่ชักช้า เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีประสบการณ์แล้ว เบื้องต้น ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการคลัง ตั้งคณะทำงานมาดูแลเรื่องดังกล่าวเป็นพิเศษ”

นายอุตตมกล่าวว่า เมื่อมาตรการทั้งหมดผ่านคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจและคณะรัฐมนตรี มาตรการทั้งหมดจะต้องมีผลในทางปฏิบัติทันที ซึ่งมาตรการนี้จะมีผล 3-4 เดือน ไปจนถึงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2563 ส่วนผลกระทบมาตรการโรคโควิด-19 จะจบเมื่อไรไม่สามารถตอบได้ จึงออกมาตรการดูแลชุดที่ 1 ซึ่งหมายความว่ามีความพร้อมจะออกมาตรการชุดที่ 2 และ 3 ทันทีหากเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น

สำหรับความจำเป็นของมาตรการดังกล่าว นายอุตตมชี้แจงว่า “วันนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง และไม่อาจคาดเดาได้ว่าสถานการณ์จะดำเนินถึงเมื่อไหร่ จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการระยะสั้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำไปกว่านี้ และการส่งเงินให้ถึงประชาชนเพื่อเอาไปใช้จ่าย คือ มาตรการที่ได้ผลเร็วที่สุด และเมื่อสถานการณ์ทุเลาลงแล้ว ก็ต้องมีมาตรการอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจต่อไป”

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ